การพัฒนารูปแบบการบริการ ARI Clinic แบบ 3P Safety ในโรงพยาบาลนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • จันทร์เพ็ญ คุณโน โรงพยาบาลนาดูน
  • ฐญา ธนบดีวิวัฒ โรงพยาบาลนาดูน

คำสำคัญ:

พัฒนารูปแบบ, ARI Clinic, 3P Safety

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการ ARI Clinic แบบ 3P safety เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง ประกอบด้วย แพทย์ เภสัชกร พยาบาลวิชาชีพ นักเทคนิคการแพทย์ จำนวน 20 คน ผู้ดูแลหรือผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 100 คน ระยะเวลาในการศึกษา มีนาคม -ตุลาคม 2565 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบ แบบทดสอบความรู้ แบบประเมิน Checklist ARI และประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

 ผลการวิจัย พบว่า

 1) สภาพปัญหาการจัดบริการพยาบาล ARI Clinic พบว่า สถานที่จุดบริการและห้องน้ำยังไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ไม่มีป้ายประชาสัมพันธ์บอกเส้นทางไปที่ ARI Clinic ทำให้ผู้มารับริการได้รับบริการที่ล่าช้า อีกทั้งยังไม่มีแนวทางการบริการ ARI Clinic ที่ชัดเจน จากการประเมินผลความพึงพอใจของผู้รับบริการ มีระดับคะแนนน้อย ในด้านการเข้าถึงการบริการที่สะดวก รวดเร็ว ทันเวลา

 2) ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาตามที่ค้นพบ โดยใช้แบบ 3P safety ดังนี้ (1) การจัดการด้านอาคารสถานที่(P1=Place) ได้ดำเนินการสร้างอาคารบริการ ARI และห้องน้ำให้แยกออกจากอาคารทั่วไป (2)การประชาสัมพันธ์หรือสื่อสาร(P2=Promote) ติดป้ายจุดบริการให้เห็นชัดเจน รวมถึงการแบ่งโซนการบริการของแต่ละกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ (3)การให้บริการ(P3=Product) จัดแนวทางบริการแบบ One Stop Service

 3) ผลการประเมิน พบว่า(1)การจัดการด้านอาคารสถานที่ ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 100 (2)การประชาสัมพันธ์หรือสื่อสารติดป้ายจุดบริการให้เห็นชัดเจน รวมถึงการแบ่งโซนการบริการของแต่ละกิจกรรมเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ ไม่พบรายงานความเสี่ยงการหาจุดบริการและไม่พบผู้ติดเชื้อจากจุดบริการ ARI (3) การประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อที่ ARI Clinic มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด (equation= 4.69, SD = 0.43) (4) ผลการประเมินความรู้ของบุคลากรในการให้บริการ ARI Clinic พบว่า คะแนนหลังการให้ความรู้ในการให้บริการ ARI Clinic สูงกว่าก่อนการให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

References

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. (2563). แนวทางการจัดระบบบริการของโรงพยาบาลกรณีมีการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในวงกว้าง ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563. [Internet]. 2563 [cited 2020 March 25]. Available from:https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/guidelines/G33.pdf.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2563). สถานการณ์โรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส-19.สรุปสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย [Internet]. 2563 [cited 2021 January 21]. Available from: https://udch.go.th/uploads/doc/covid-19/บทความ%20

ประภา ราชา และคณะ. (2563). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19. วารสารแพทย์ เขต 4- 5. ; 39 (3) :414 – 26.

ราชกิจจานุเบกษา. (2563). ประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง รายการเชื้อโรคที่ประสงค์ควบคุมตามมาตรา 18 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 เล่ม 137ตอนพิเศษ 48ง. ลงวันที่ 25กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563.

Available from; http://www.dent.chula.ac.th/upload/images2/List%20of%20diseases% 0that%20wish%20to%20be%20controlled%20section%2018%20[2561].PDF.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). (2562). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ : หนังสือดีวัน.

สัจจาภรณ์ ขันธุปัฏน์ และคณะ. (2563). ศึกษาการพัฒนาความปกติใหม่ของคลินิกโรคระบบทางเดินหายใจในระยะ Active Phase ต่อความปลอดภัย.วารสารการแพทย์และสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.2563;3(3): 199-209.

สุธารัตน์ แลพวง. (2564). ศึกษาการบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคไวรัส COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี .วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.2564;11(3):486-495.

Lim RHF , Htun HL, Li AL, Guo H, Kyaw WM, Hein AA, Ang B, Chow A. (2022). มาตรการของโรงพยาบาลเพื่อลดการแพร่กระจายของ COVID-19 ในโรงพยาบาล.โรคติดเชื้อ Int J 2022 เม.ย.; 117: 139-145. ดอย:10.1016/j.ijid.2022.01.069. Epub 2022 4 ก.พ.

Lowa Model Collaborative.(2017). lowa model of evidence-based practice: Revisions and validation. Worldviews on Evidence-Based Nursing,2017; 14(3), 175-182.

doi:10.1111/wwn.12223

World Health Organization Thailand (2020). การทบทวนร่วมการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทย 20-24 กรกฎาคม 2563. https://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/iar-covid19-th.pdf

World Health Organization. (2020). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) Situation Report–67https://www.who.int/docs/default-source/coronaviruse/situation reports/20200327-sitrep-67-covid-19.pdf?sfvrsn=b65f68eb_4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-11