ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้

ผู้แต่ง

  • ปัทมาพร ชนะมาร โรงพยาบาลวาปีปทุม

คำสำคัญ:

ความดันโลหิตสูง, การจัดการตนเอง, พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง, การพยาบาลทางไกล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัย : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้

การออกแบบวิจัย : การวิจัยเชิงทดลองแบบสองกลุ่ม วัดผลก่อนและหลังทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมความดันโลหิตไม่ได้ ที่มารับการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลวาปีปทุม 60 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยการสุ่มอย่างง่ายเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองผ่านการพยาบาลทางไกล และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และติดตามเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา t-test และ paired-test

ผลการวิจัย : พบว่า หลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองสูงกว่ากลุ่มควบคุม (t=4.01, P<.05) และสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=6.74,      P <.05)

ข้อเสนอแนะ : ทีมสุขภาพควรนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยกลุ่มนี้เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองที่เหมาะสม  

References

กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศทางการแพทย์ กองทุนหลักประกันสุขภาพ. (2566). รายงานการประชุมทีมกำกับและพัฒนากระบวนการดูแลผู้ป่วยโรง

พยาบาลวาปีปทุม: โรงพยาบาลวาปีปทุม.

คอรีเย๊าะ เลาะปนสา, ณัฎฐณิชา เจ๊ะเลาะ และ กฤษณะ สุวรรณภูมิ. (2565). ผลของโปรแกรมส่งเสริมการจัดการตนเองร่วมกับการสนับสนุนจากครอบครัวต่อ

พฤติกรรมป้องกันการกลับเป็นซ้ำและความดันโลหิตในผู้ป่วยสูงอายุชาวมุสลิมที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ.

วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 42(2), 48-61.

ชื่นกมล สิทธิยอดยิ่ง. (2565). รูปแบบความเชื่อด้านสุขภาพที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยที่ไม่

สามารถควบคุมความดันโลหิตได้ โรงพยาบาลนภาลัย จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสุขศึกษาแห่งประเทศไทย, 2(2), 46-60.

ณฐกร นิลเนตร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จังหวัดบึงกาฬ. วารสารสุขศึกษาแห่ง

ประเทศไทย, 4(1), 62-75.

พอใจ พลพิมพ์. (2564). ผลของโปรแกรมการให้ความรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองต่อความรู้และการรับรู้ของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงใน

โรงพยาบาลเชียงขวัญ. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 2(3), 167-175.

ยุทธนา ชนพันธ์ และ ดาราวรรณ เศรษฐีธรรม. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารโรงพยาบาลศรีนครินทร์, 21(2), 109-119.

ศุภณัฐกรณ์ มูลฟู. (2565). ผลของโปรแกรมป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเชื่อด้านสุขภาพ ในอำเภอ

เมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารสุขภาพภาคใต้, 31(1), 68-78.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2566). อุบัติการณ์ของโรคหลอดเลือดสมองในประเทศไทย. วารสารประสาทวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทย, 39(2), 39-46.

เสงี่ยม จิ๋วประดิษฐ์กุล. (2563). พฤติกรรมการดูแลตนเองและความสามารถในการควบคุมความดันโลหิตของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มารับบริการใน

หน่วยบริการปฐมภูมิเพื่อสุขภาพเมืองโพธาวาส. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 15-29.

Campbell, N. R. C., Burnens, M. P., Whelton, P. K., Angell, S. Y., Jaffe, M. G., Cohn, J., et al. (2021). World Health Organization guideline

on pharmacological treatment of hypertension: Policy implications for the region of the Americas.Health Policy, 9, 1-10.

Elbialy, A. A., Bahgat, Z. F., El-ahwal, L., & El-Gamal, S. M. A. (2022). Effect of implementing tele-nursing versus traditional nursing

program on knowledge, lifestyle modification, and blood pressure control for hypertensive patients. International Egyptian

Journal of Nursing Science and Research, 3(1), 484-515.

Kanfer, F. H., & Gaelick-Buys, L. (1991). Self-management methods. In F. H. Kanfer & A. P. Goldstein (Eds.), Helping people change: A

textbook of methods (4th ed.). New York: Pergamon Press.

Li, Z., Yan, L. L., Enying, G., Gu, W., Turner, E. L., Gallis, J. A., et al. (2021). Effectiveness of a primary care-based integrated mobile

health intervention for stroke management in rural China (SINEMA): A cluster-randomized controlled trial. Stroke & Vascular

Neurology, 159-176.

McManus, R. J., Mant, J., Bray, E. P., Holder, R., Jones, M. I., Greenfield, S., et al. (2010). Telemonitoring and self-management in the

control of hypertension (TASMINH2): A randomised controlled trial. The Lancet, 376(9736), 163-172.

McManus, R. J., Mant, J., Haque, M. S., Bray, E. P., Bryan, S., Greenfield, S. M., et al. (2014). Effect of self-monitoring and medication

self-titration on systolic blood pressure in hypertensive patients at high risk of cardiovascular disease. JAMA, 312(8), 799-808.

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2019). Nursing Research: Generating and assessing evidence for nursing practice (10th ed.). Philadelphia:

Lippincott Williams & Wilkins.

World Health Organization. (2023). Hypertension [Internet]. [cited 2022 March 24]. Available from https://www.who.int/news-

room/fact- sheets/detail/hypertension

Xu, M., Zhuang, J., Tian, Y., Ma, Y., He, Y., Chen, J., et al. (2021). The impact of a self-management program on blood pressure control

in patients with hypertension: A randomized controlled trial. BMC Cardiovascular Disorders, 21(1), 34.

Yun, E., Lee, Y., & Chung, I. (2020). Effect of self-management education on blood pressure control in patients with hypertension: A

randomized controlled trial. Hypertension Research, 43(8), 786-794.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25