การพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอน ของประชาชนในชุมชนตำบลหัวดง อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บัวบาน ปักการะโต โรงพยาบาลนาดูน
  • สหัศถญา สุขจำนงค์ โรงพยาบาลนาดูน
  • อนุชิต สิ้วอินท์ โรงพยาบาลนาดูน

คำสำคัญ:

การพัฒนาความรู้, ทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ, การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอนของประชาชนในชุมชนตำบลหัวดง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาคือประชาชนทั่วไปในตำบลหัวดง จำนวน 400 คน ระยะเวลาในการวิจัย เดือนมกราคม – มิถุนายน 2566 เก็บรวบรวบข้อมูลด้วยแบบทดสอบความรู้การช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ แบบประเมินความพึงพอใจการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา  

 ผลการวิจัย พบว่า

 1.ปัญหาที่ประชาชนขาดความรู้ในการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน พบว่า (1) ประชาชนทั่วไปไม่ได้อบรมการช่วยฟื้นคืนชีพ ทำให้ขาดความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพ (2) มีข้อจำกัดด้วยงบประมาณ ในการที่จะทำการอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน

2. การพัฒนาความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอน ของประชาชนในชุมชนตำบลหัวดง ได้ดำเนินการดังนี้ 1) สร้างทีมในการฝึกอบรม 2) จัดอบรมการปฏิบัติช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน แบบ 4 ขั้นตอน มาใช้กับกลุ่มเป้าหมาย ใช้ระยะเวลาอบรม 3 ชั่วโมง/ครั้ง

3. การประเมินผลความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานแบบ 4 ขั้นตอนของประชาชนมีคะแนนเฉลี่ยความรู้และทักษะด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .001 และในส่วนผลประเมินความพึงพอใจ พบว่า รูปแบบการอบรม รูปแบบการสอนแบบฝึกปฏิบัติจริง มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด

 

References

จันทร์เพ็ญ นิลวัชรมณี, วิดาพร ทับทิมศรี, และปัญจศิลป์ สมบูรณ์.(2564). ผลของการให้ความรู้และทักษะการช่วยฟื้นคืนชีพของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์

วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(1), 180-92.

นิษฐกานต์ แก่นจำปา,วีณา อิศรางกูร ณ อยุธยา, สนใจ ไชยบุญเรือง(2563). การพัฒนาโปรแกรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับอาสาสมัรสาธารณสุขประจำหมู่บ้านตำบลโสกนกเต็น อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 414-420.

บัวบาน ปักการะโต, สหัศถญา สุขจำนงค์, อนุชิต สิ้วอินท์.(2564). การพัฒนารูปแบบการช่วยฟื้นคืนชีพแบบสัญจร โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารการ แพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, 1(2), 134-145.

เพ็ญพักตร์ ไชยสงเมือง และชัจคเณค์ แพรขาว.(2561).ผลของโปรแกรมการสอนการช่วยเหลือขั้นพื้นฐานภาวะหัวใจหยุดเต้นในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 28(2), 118-132.

มาลี คุณคงคาพันธ์ และฐิติพันธ์ จันทร์พัน. (2558). ลักษณะผู้ป่วยภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จของปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพในงานอุบัติเหตุฉุกเฉินโรงพยาบาลแม่สาย จังหวัดเชียงราย.วารสารการพยาบาล การสาธารณสุข และการศึกษา, 16(1), 53 -66.

วสันต์ ลิ่มสุริยกานต. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการฟื้นคืนชีพของผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นนอกโรงพยาบาลที่ได้รับการช่วยฟื้นคืนชีพในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วาสารสมาคมเวชศาสตร์ ป้องกันแห่งประเทศไทย, 8(1), 16-23.

โรชินี อุปรา, ชยธิดา นนท์เมธาวัฒน์, ทิพย์ ลือชัย และคณะ(2564) ผลของการพัฒนาศักยภาพของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อความรู้และทักษะในการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชนนีอุตรดิตถ์, 13(2), 73-86.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.(2562).แผนหลักการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ฉบับที่ 3.1 พ.ศ. (2562-2565).นนทบุรี : บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำกัด.

แสงเดือน อภิรัตนวงศ์, ดวงพร ปิยะคง, ภัทรมนัส พงศ์รังสรรค์, นภัสนันท์ ปิยะศิริภัณฑ์, ธิตารัตน์ คำบุญ, นิศากร โพธิมาศ และคณะ. (2561). ผลของโปรแกรมการสอนช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานต่อความรู้และทัศนคติการช่วยชีวิตพื้นฐานของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ, 12(3); 146-157.

อิสรีย์ ปัดภัย, ฉันทนา กวีนัฏธยานนท์, และณิชกานต์ มีลุน. ผลของการใช้รูปแบบการพัฒนาความรู้และทักษะด้านการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐานสำหรับประชาชนบ้านโนนทัน ตำบลในเมือง จังหวัดขอนแก่น. งานวิจัยและงานสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนการประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏสุราษฎร์ธานี วิจัยที่ 10 ประจำปี 2557 (รายงาน), 2557.

Bentley J.Bobrow.(2017).Telephone cardiopulmonary resuscitation is independently associated with improved survival and improved functional outcome after out of hospital cardiac arrest. Resuscitation, 122 , 135-140.

Bloom, S. J. (1975). Taxonomy of education objective. In hand book1: cognitive domain. New York: David Mckay.

Changchana, W. (2020) . Music Therapy: Calmness of Meditation Towards Unlimited Imagination. Bansomdej Music Journal, 2(1), 119-134

Cohen, J. (1988). Statistical Power Analysis for the Behavior

Chandra, A., & Gruber, J. (2011). The Importance of the Individual Mandate-Evidence from Massachusetts. New England Journal Medicine, 364, 293-295.

Chung, S. P., Sakamoto, T., Lim, S. H., Ma, M. H-M., Wang, T. L., Lavapie, F. et al. (2016). The 2015 Resuscitation Council of Asia (RCA) Guideline on Adult Basic Life Support for Lay Rescuers. Resuscitation, 105, 145-148.

Daya MR, Schmicker, RH, Zive, DM, Rea TD, Nichol G, Buick JE, et al. (2015). Out-of-hospital cardiac arrest survival improving over time: Results from the Resuscitation Outcomes Consortium (ROC). Resuscitation, 91, 108-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25