การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อภิญญา อินทรวิเศษ โรงพยาบาลนาดูน
  • สายสกุล สิงหาญ โรงพยาบาลนาดูน

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมอง, การพัฒนารูปแบบ, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลนาดูน ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม 2566 - เดือนมีนาคม 2567 แบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่1 การวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาและความต้องการ ระยะที่2 การพัฒนารูปแบบ ระยะที่3 การทดลองใช้รูปแบบ และระยะที่4 การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย 1) ผู้ให้บริการ ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 12 คน 2) กลุ่มผู้รับบริการ คือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 25 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1)แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2)แบบทดสอบความรู้ 3)แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบความแตกต่างโดยใช้สถิติ pair t-test

ผลการศึกษาพบว่า 1) รูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในครั้งนี้ ที่มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่เข้ารับการรักษาในแผนกอุบัติเหตุฉุกเฉิน โรงพยาบาลนาดูน ให้ได้รับการดูแลอย่างครบถ้วนและการดำเนินการที่ได้มีการทบทวนแนวปฏิบัติ ที่มีการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ส่งผลให้งานวิจัยนี้มีแนวปฏิบัติ ประกอบด้วย การประเมินและคัดกรอง, การประเมินซ้ำ, การปฏิบัติการพยาบาล, การพยาบาลขณะส่งต่อผู้ป่วย และการประเมินผลลัพธ์ 2) ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ประกอบด้วย ความรู้พยาบาลวิชาชีพ พบว่าการพัฒนามีคะแนนความรู้ สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และระดับความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ ความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

สรุปผลการพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดผลลัพธ์ที่ดี ทำให้การลดการเกิดอุบัติการณ์การคัดแยกผู้ป่วยล่าช้า หรือการส่งตัวผู้ป่วยล่าช้าได้ และผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสองได้รับการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น

References

ธารารัตน์ ส่งสิทธิกุล, อรวรรณ อนามัย. (2559). การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันที่รักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือด โรงพยาบาลราชบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข,26(2), 142-53.

นฤมล วัลลภวรกิจ. (2565). ผลการพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดระยะเฉียบพลัน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 30(1), 64-76.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.เรืองลักษณ์ จันทรุทิน. (2566). การพัฒนารูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันโรงพยาบาลป่าติ้ว. ยโสธรเวชสาร, 25(1), 15-26.

โรงพยาบาลนาดูน. (2566). งานผู้ป่วยนอก. รายงานการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วย Stroke. โรงพยาบาลนาดูน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.

โรงพยาบาลนาดูน. (2566). ผลการประเมินการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์เครือข่ายสุขภาพโรงพยาบาลนาดูน. โรงพยาบาลนาดูน, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.

สงบ บุญทองโท, นิสากร วิบูลชัย, องุ่น บุตรบ้านเขวา. (2560). การพัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลวาปีปทุมและเครือข่ายบริการ.วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม,14(3), 100-113.

สมศักดิ์ เทียมเก่า. (2566). อุบัติการณ์โรคหลอดเลือดสมองประเทศไทย.วารสารประสาทวิทยาแห่งประเทศไทย, 39(2), 39-46.

อัจฉรา คำมะทิตย์. (2564). หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาล: ค้นหา วิเคราะห์ และนำไปใช้อย่างไร The Evidence-Based Approach in Health Care Management, Applied to Nursing. วารสารเคือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 8(2), 315-328.

Soukup M. (2000). The center of advanced nursing practice evidence-based practice model. Nursing Clinic of North Amesica, 35(2), 301-309.

World Health Organization. (2015). World Stroke Campaign. Retrieved August 2016, from http://www. worldstroke.org/advocacy/world-stroke-campaigm

World Health Organization. (2010). Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva : WHO Document Production Servicves.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25