รูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง ในโรงพยาบาลแม่ข่าย จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ดวงดาว ราตรีสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
  • วัชรินทร์ ทองสีเหลือง ศูนย์แพทย์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
  • กาญจนา จันทะนุย โรงพยาบาลยางสีสุราช

คำสำคัญ:

การจัดการ, โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง, วิจัยเชิงปฏิบัติการ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพบริบทของการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง พัฒนากระบวนการจัดการระบบบริการสุขภาพ และศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการพัฒนาการจัดการระบบบริการสุขภาพโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง จังหวัดมหาสารคาม แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ตั้งแต่กันยายน 2565 ถึง กันยายน 2566 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มที่ 1 คือ คณะกรรมการพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) สาขาโรคมะเร็ง จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 26 คน และกลุ่มที่ 2 คือ ผู้รับผิดชอบงานมะเร็ง ในหน่วยงานสาธารณสุข จังหวัดมหาสารคาม รวมทั้งสิ้น 193 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามในการวิจัย ค่าความชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ Paired t-test

ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการจัดการระบบบริการสุขภาพโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง มหาสารคาม พบว่า มีขึ้นตอนการดำเนินงาน 7 ขั้นตอน บทบาทการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจในรูปแบบ ก่อนอยู่ในระดับปานกลางและหลังอยู่ในระดับมาก ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ 3P การจัดการระบบบริการสุขภาพโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง หน่วยงานสาธารณสุขต้องมีการส่งเสริมให้ดำเนินงานคัดกรองเชิงรุกในกลุ่มเสี่ยง มีการตรวจคัดกรอง วินิจฉัยซ้ำโดยใช้แบบประเมินความเสี่ยงของการเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง

References

คณยศ ชัยอาจ และคณะ. (2561).ความรู้เรื่องโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงของประชากรกลุ่มเสี่ยง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 11(3),37-44.

ภัทร์ธิตา โภคาพันธ์ และคณะ. (2555).การพัฒนาคุณภาพระบบการจัดการความเสี่ยงด้านคลินิกตามมาตรฐานงานบริการผู้ป่วยในของพยาบาลโรงพยาบาลค่ายสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารพยาบาลทหารบก, 13(2), 38-48.

ภัสพร จุมพลักษณ์ และคณะ.(2564). การพัฒนารูปแบบการจัดการโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงในชุมชน อำเภอโพธิ์ตาก จังหวัดหนองคาย.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(3), 64-75.

รุ่งพร ภู่สุวรรณ์, นฤมล จันทร์สุข, และศรัณญา ดั่นคุ้ม. (2563). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักที่ได้รับเคมีบำบัด. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 10(1), 133-145.

ศิริโสภา ภูสีน้ำ และคณะ.(2567). การพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพและการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อม และสุขภาพชุมชน, 9(2), 872-881.

สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. (2564). แผนยุทธศาสตร์สถาบันมะเร็งแห่งชาติ พ.ศ. 2562 – 2565. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข, 26-74.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม .(2566). สถิติผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง. มหาสารคาม: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The action research reader. Geelong. Victoria: Deakin University Pres.

Word Health organization. (2020). Global cancer observatory world health organization Retrieved from https://www.who.int/ health-

topics/cancer

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-25