พัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู โดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
พัฒนารูปแบบ, โรคหลอดเลือดสมอง, แพทย์แผนไทยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลหนองคู อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง เลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มที่ร่วมพัฒนารูปแบบการดูแลหลักในการฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย ประกอบด้วย ทีมสหวิชาชีพ ผู้ดูแล จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้ป่วยผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู 15 คน ระยะเวลาในการศึกษา มกราคม–กันยายน 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินคุณภาพชีวิต แบบประเมินการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (ADL) การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่า ได้รูปแบบบริการทางการแพทย์แผนไทยในการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายชุมชนตำบลหนองคู ดังนี้ 1) พัฒนาการส่งต่อข้อมูลระหว่างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล และชุมชน เพื่อให้บริการผู้ป่วยโดยเร็วที่สุด 2) พัฒนาศักยภาพผู้ดูแล เพื่อร่วมดูแลผู้ป่วยในชุมชน เน้นเนื้อหาการดูแลกับหลัก 3 อ. (อ.อิริยาบถ, อ.อารมณ์, อ.อุดมปัญญา) 3) ร่วมกับภาคีเครือข่ายชุมชนการจัดทำแผนดูแลรายบุคคลที่สอดคล้องนาฬิกาชีวิตผู้ป่วย 4) ประสานและจัดหาแหล่งสนับสนุนจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น 5) ติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วย ดังนี้ 5.1) ภาคีเครือข่ายชุมชน 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 5.2) แพทย์แผนไทย และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขตำบล สัปดาห์ละ 1 ครั้ง5.3) ทีมสหวิชาชีพ เดือนละ 1 ครั้ง ภายหลังการพัฒนาทำให้มีการส่งต่อข้อมูลที่รวดเร็วทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยมีคะแนนการทำกิจวัตรประจำวันพื้นฐาน (ADL) เพิ่มขึ้นทุกราย ผลการประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.94, SD=0.77) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติต่อรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟูพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
References
กองบริหารสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2562). คู่มือการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยระยะกลาง Guideline for Intermediate Care สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ (Service Plan) พิมพ์ครั้งที่ 1 สมุทรสาคร : บริษัทบอร์น ทู บี พับลิสซิ่ง จำกัด.
กัญญาณัฏฐ์ สุริยะวงค์.(2561). ศึกษาการบำบัดฟื้นฟูกลุ่มอาการเส้นเลือดในสมองตีบ/อุดตันโดยการนวดแผนไทยของโรงพยาบาลชุมชน ตำบลดอนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา.
จิรายุ ชาติสุวรรณ, พรระวี เพียรผดุงรัชต์ , อรุณพร อิฐรัตน์ และ ณภัทร พานิชการ.(2560). เปรียบเทียบประสิทธิผลการทำกายภาพบำบัดกับการทำกายภาพบำบัดร่วมกับ การนวดไทยต่อความสามารถในการฟื้นฟูร่างกายและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอัมพาตครึ่งซีกจากโรคหลอดเลือดสมองตีบ.ธรรมศาสตร์เวชสาร. 17(3), 356-364.
บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
ปราโมทย์ ถ่างกระโทก, วชิรา โพธิ์ใส, เพลินตา พิพัฒน์สมบัติ, วินัย ไตรนาทถวัลย์, วานิช สุขสถาน. (2562) ความตรงและความเที่ยงของแบบวัดคุณภาพชีวิตเฉพาะผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ฉบับภาษาไทย. สาขาวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สถาบันการพยาบาลศรีสวรินทิราสภากาชาดไทย.
เพ็ญแข แดงสุวรรณ.(2550). Stroke ฆาตกรเงียบ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ใกล้หมอ.
สถาบันการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก.(2564). คู่มือแนวทางเวชปฏิบัติ (Clinical Practice Guideline) การดูแลผู้ป่วยระยะกลาง (Intermediate Care) ด้านการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ : บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด
สถาบันประสาทวิทยา.(2550) แนวทางการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง. กรุงเทพฯ : กรมการแพทย์.
สถาบันประสาทวิทยา.(2559).แนวทางการพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสำหรับพยาบาลทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่1 กรุงเทพฯ:บริษัท ธนาเพรส จำกัด.
สุรเดช ดวงทิพย์ศิริกุล, พรทิพย์ วชิรดิลก และธีระ ศิริสมุด.(2565). รายงานการศึกษาสถานการณ์บริการการแพทย์ฉุกเฉิน และการพัฒนาคุณภาพปฏิบัติการฉุกเฉินผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (อินเทอร์เน็ต). นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (เข้าถึงเมื่อ 19 ก.ย. 2566). เข้าถึงได้จาก: https://www.niems.go.th/pdfviewer/index.html
สำนักการแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข. (2558). แนวทางการดูแลผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ด้วยการแพทย์ผสมผสาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. เอ็นย์ ดีไซน.; 183-184.
GBD 2019 Stroke Collaborators. Global, regional, and national burden of stroke and its risk factors, 1990-2019 : a systematic analysis for the Global Burden of Disease Study 2019. Lancet Neurol. 2021 Oct;20(10):795-820. Doi : 10.1016/S1474-4422(21)00252-0. Epub 2021 Sep 3. PMID: 34487721; PMCID: PMC8443449.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. 3rd ed. Melbourne : Deakin University Press ; 1988
World Stroke Organization. Annual reports 2019 [Internet]. 2019 (cited 2023 Sep 14). Available from : http://www.world-stroke.org/about- wso/annual-reports (in Thai)
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.