พัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
พัฒนารูปแบบ, ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์, เร่งด่วนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะฉุกเฉิน ที่ต้องรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ จำนวน 30 คน 2) กลุ่มผู้พัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง ระยะเวลาในการศึกษา วันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 30 กันยายน 2566 เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม แบบบันทึกรายงานผลตรวจ แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์เชิงเนื้อหา เชิงปริมาณใช้สถิติ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า
1.ผลการวิเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน พบว่า ขั้นตอนการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการมีหลายขั้นตอน มีความยุ่งยากในการลงบันทึกข้อมูล ไม่มีการทบทวนแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ (LIS) ผู้ป่วยมารับบริการจำนวนมากจึงมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มากขึ้น
2.การพัฒนารูปแบบการรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการกรณีเร่งด่วน ประกอบด้วย 1) ทบทวนแนวทางการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางห้องปฏิบัติการ(LIS) 2) แยกประเภทใบส่งตรวจแต่ละประเภทให้ชัดเจน 3) จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์การให้บริการของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ 4) การรายงานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในผู้ป่วยเร่งด่วน CBC Electrolyte Top-T ภายใน 30 นาที และ BUN/Creatinine ภายใน 45 นาที
3. ผลการประเมิน พบว่า 1) การรายงานผลการตรวจ CBC Electrolyte Top-T ภายใน 30 นาที ร้อยละ 93.3, 93.3 ,100 ตามลำดับ ส่วน BUN/Creatinine ภายใน 45 นาที ร้อยละ 90 2) การประเมินความพึงพอใจของเจ้าหน้าที่ อยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.51, SD=0.32)
References
กองยุทธศาสตร์และแผนงาน.(2562). การดำเนินงานยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดกระทรวงสาธารณสุขปี 2562. สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข.กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงสาธารณสุข.
ธวัช ทองน้อย และ อรวรรยา กระสังข์. (2564). การลดความแออัดและระยะเวลารอคอยผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาล. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(4), 822-835.
บุญชม ศรีสะอาด.(2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บังอร ผามั่น, และเพชรมาศ อาระวิล.(2556). การศึกษาสาเหตุและปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลารอคอยและการรายงานผลล่าช้าของงานเคมีคลินิกห้องปฏิบัติการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชสระแก้ว. สาขาเทคนิคการแพทย์, คณะเทคนิคการแพทย์. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
โรงพยาบาลนาดูน. (2565).รายงานประจำปีกลุ่มงานเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลนาดูน. โรงพยาบาลนาดูน: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
สภาเทคนิคการแพทย์. (2565) มาตรฐานงานเทคนิคการแพทย์ 2565. พิมพ์ครั้งที่1. นนทบุรี: สภาเทคนิคการแพทย์.
สุรศักดิ์ หมื่นพล และคณะ. (2564). การพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทยสูมาตรฐานสากล ISO 15189. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(1), 119-134.
อังคณา คำฟอง, ภวมัย แต่เชื้อสาย, อิทธิฤทธิ์ คำฟอง.(2565). ประสิทธิผลการรายงานผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเคมีคลินิกอัตโนมัติ โรงพยาบาลมะเร็งลพบุรี.วารสารกรมการแพทย์, 47(1), 64-71.
Kemmis S, McTaggart R. The action research planer. 3rd ed. Melbourne : Deakin University Press ; 1988.
Zhao Y, Yang L, Zheng G, Cai Y.(2014). Building and evaluating the autoverification of coagulation items in the laboratory information system. clin lab. 2014; 60:143–50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.