การพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ
คำสำคัญ:
เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ, ภาวะแทรกซ้อน, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินการการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ (The assessment form of intra-aortic balloon pump weaning ; IABP weaning) ดำเนินการศึกษาระหว่างเดือน 1 ตุลาคม 2665 – 30 กรกฎาคม 2567 การศึกษาแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์สถานการณ์และสำรวจสภาพปัญหาการดูแลผู้ป่วยที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ IABP ระยะที่ 2 วางแผนการพัฒนาการดูแลและการหย่าผู้ป่วยที่ใส่เครื่อง IABP โดย 1) จัดประชุมทีมสหสาขาวิชาชีพเพื่อออกแบบแนวทางการดูแล 2) พัฒนาสมรรถนะบุคลากร 3) สร้างแบบประเมินการหย่าเครื่อง IABP โดยการมีส่วนร่วม ระยะที่ 3 นำใช้แบบประเมินการหย่าเครื่อง IABP กับกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 30 ราย ระยะที่ 4 ประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ความถี่ ร้อยละและค่าเฉลี่ย
ผลการศึกษา: พบว่า 1) สถานการณ์การดูแลผู้ป่วยขณะอย่าเครื่อง IABP ยังไม่ครอบคลุมตามมาตรฐานการดูแล บุคลากรให้การดูแลตามประสบการณ์และมีความหลากหลาย 2) การพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ ได้สืบค้นงานวิจัยจำนวน 15 เรื่อง นำมาสังเคราะห์สกัดข้อมูลและประเมินความเป็นไปได้ในการนำหลักฐานเชิงประจักษ์ไปใช้ในการพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ โดยได้กิจกรรมการพยาบาล 12 ข้อ 3) ผลจากการใช้แบบประเมิน พบว่า อัตราการอย่าเครื่องได้สำเร็จ 29 ราย (ร้อยละ 96.67) พบอุบัติการณ์ที่เป็นภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ อัตราการเกิดภาวะ Bleeding 5 ราย (ร้อยละ 16.67) อัตราการเกิด Hematoma 4 ราย (ร้อยละ13.33 ) ไม่พบการเกิด Acute Limb ischemia ซึ่งการพัฒนาแบบประเมินการหย่าเครื่อง IABP สามารถปฏิบัติตามได้จริงและทำให้ประเมินภาวะแทรกซ้อนได้อย่างรวดเร็ว
References
กรมการแพทย์. (2564). จำนวนผู้ป่วยตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. กรมการแพทย์, นนทบุรี. เรียกใช้เมื่อ
พฤศจิกายน 2564 จาก https://hdcservice.moph.go.th
จิราพร น้อมกุศล, และสุกัญญา สมานชัย. (2563). การพัฒนาแบบประเมินการเฝ้าระวังและป้องกัน
ภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยที่ใส่เครื่องพยุงการทำงานของหัวใจ. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 33(2), 1-11.
จันทร์ทิรา เจียรณัย, สุดารัตน์ พวงเงิน, สุรางคนา พรหมมาศและนุชพร ดุมใหม่. (2565). การพยาบาลผู้ป่วย
ที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องพยุงการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูนในหลอดเลือดแดงเอออร์ตา :
กรณีศึกษา. วารสารวิทยาศาสตร์สุขภาพ วิทยาลัยพยาบาลราชชนชนนี สรรพสิทธิประสงค์, 6(1), 1-15.
วิธียุทธ์ คำตรี. (2563). ปัจจัยทำนายการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันที่มีภาวะช็อกจาก
หัวใจแล้วได้รักษาด้วยหัตถการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจโคโรนารีผ่านทางสายสวนและใช้เครื่องพยุง
การทำงานของหัวใจ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 28(2), 159-168.
ธีรพงศ์ โตเจริญโชคและพิเชษฐ์ เลิศปันณะพงษ์. (2564). การใช้เครื่องช่วยการทำงานของหัวใจชนิดบอลลูนใน
หลอดเลือดแดงเอออร์ตา. เวชบันทึกศิริราช, 14, 19-29
วาสนา ฬาวิน. (2563). การประยุกต์ใช้คะแนนประเมินภาวะเลือดออกชนิดครูเซดกับการเกิดภาวะเลือดออก
ชั้นใต้ผิวหนังชนิดมีก้อน. วารสาร Mahidol R2R e-Journal, 7(2), 44-53.
ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลขอนแก่น. (2564). สถิติการเสียชีวิตผู้ป่วย STEMI ปีงบประมาณ 2562-2564.
AlyMahgoubl A, Hafezl IM. (2017) Effect of implement Intra-Aortic Balloon Pump Teaching
Program on Critical Care Nurse’s knowledge and Practice. IOSR Journal of Nursing and
Health Science (IOSR-JNHS), 6(1), 54-62.
Behnes M, Mashayekhi K, Akin I, Kuche P, Ali M, Ahmad YA, et al. (2019) Myocardial
infarction. London: Intechopen, 128.
Christopher A, J. Webb, Paul D, Weyker, Brigid C. Flynn. (2015) Management of Intra-Aortic
Balloon Pumps. Seminars in Cardiothoracic and Vascular Anesthesia, 19(2), 106–121.
Parissis H, Graham V, Lampridis S, Lau M, Hooks G, Mhandu PC. (2016). IABP : History-
evolution-pathophysiology-indication: what we need to know. Journal of
Cardiothoracic Surgery, 11(122), 1-13. Doi 10.1186/s13019-016-0513-0
Soukup SM. The Center for Advanced Nursing Practice evidence-based practice model:
promoting the scholarship of practice. (2000). Nurs Clin North Am, 35(2), 301-9.
Thiele H, Zeymer U, Neumann FJ, Ferenc M, Olbrich HG, Hausleiter J, et al. (2013).
Intra-aortic balloon pump counterpulsation in acute myocardial infarction complicated by cardiogenic shock (IABP-SHOCK II): final 12 month results at a randomized, open-label trial. Lancet, 382(9905), 1638-45
Urden L, Stancy K, Lough M. (2010). Critical care nursing,diagnosis and managememt. by
mosby, an imprint of Elsevier Inc, 534-536.
Van NL, Noc M, Kapur NK, Patel MR, Perera D, Pijls NH. (2016). Usefulness of intra-aortic
balloon pump counter pulsation. Am J Cardiol, 117, 469-76.
Zhang Y, Chen H, Li L, Zheng Z, Peng J, Zhou J, Qiu X, et al. (2021). Evidence-Based Analysis
on Observation for Nursing care of Patients with Intra-Aortic Balloon Pumping.
Hindawi, 1-5. doi:10.1155/2021/5954343
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.