การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวด ในมารดาหลังผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย

ผู้แต่ง

  • นทภัค ถิตย์รัตน์ โรงพยาบาลกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

การจัดการความปวด, แนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิก, มารดาหลังผ่าตัดคลอด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)   เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดในมารดาผ่าตัดคลอด โรงพยาบาลกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์ ระหว่างเดือน มกราคม 2567  - พฤษภาคม 2567  โดยใช้แนวทางขั้นตอนการพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกของสภาการวิจัยการแพทย์และสุขภาพแห่งชาติประเทศออสเตรเลีย  โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น  3 ระยะ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นพยาบาลวิชาชีพจำนวน 10 ราย ทำการทดลองโดยนำแนวปฏิบัติพยาบาล ไปใช้ในมารดาผ่าตัดคลอด จำนวน 30 ราย  เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 1) แนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดในมารดาผ่าตัดคลอด 2) แบบสอบถามความเป็นไปได้ของพยาบาลในการใช้แนวปฏิบัติ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติและ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของมารดาผ่าตัดคลอดต่อการจัดการความปวด วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า 1) แนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการความปวดจากการผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอด มี 5 เรื่อง คือ  การเตรียมความพร้อมก่อนผ่าตัด  การประเมินความปวดหลังผ่าตัด  การจัดการความปวดโดยการใช้ยา  การจัดการความปวดโดยการไม่ใช้ยา และการติดตามและบันทึกการจัดการความปวด  2) ความเป็นไปได้ของการนำแนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกการจัดการความปวดจากการผ่าตัดในมารดาหลังผ่าตัดคลอดไปใช้ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( = 4.15 SD = 0.41)   3) ความพึงพอใจของพยาบาลภายหลังการใช้แนวปฏิบัติพยาบาล อยู่ในระดับสูง (  = 4.27, SD = 0.45)  4) ความพึงพอใจของมารดาหลังผ่าตัดคลอดภายหลังการใช้แนวปฏิบัติพยาบาล อยู่ในระดับสูง ( = 4.22,SD = 0.34) และ 5) จำนวนมารดาหลังผ่าตัดคลอดที่มีคะแนนความปวดน้อยกว่าจุดตัดความปวดหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมง ภายหลังได้รับการจัดการความปวดตามแนวปฏิบัติพยาบาล จำนวน 25 คน คิดเป็นร้อยละ 83.33

 

References

ชูศรี วงศ์รัตนะ.(2564). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ:ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดวงกมล ปิ่นเฉลียว, พรพรรณ ภูสาหัส.(2558) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความทุกข์ทรมานของสตรีหลัง

ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง. วารสารพยาบาลทหารบก.316(1),10-18.

ทิพวรรณ เอี่ยมเจริญ.(2560) บทบาทพยาบาลในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอด. วารสารการ

พยาบาลและการดูแลสุขภาพ. 34(1), 6-14.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ: บริษัท

สุวีริยาสาส์น จำกัด.

มณท์ธภัชรด์ สุนทรกุลวงศ์.(2561) คุณภาพการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในสตรีหลังผ่าตัดคลอดบุตร

ทางหน้าท้องที่ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วร่างกาย. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต

สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย.

(2562). สืบค้นจาก https://www.tasp.or.th/news_files/แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลัน

หลังผ่าตัด.pdf

ลิกิจ โหราฤทธิ์, ยุภาพร จิตรจัก.(2566) การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อการจัดการความปวดใน

ผู้ป่วยหลังผ่าตัดช่องท้อง.วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน,8(2),228-238

สุพรรษา จิตสม,บานเย็น แสนเรียนและพรผกาย์ ต้นทอง. (2565). การจัดการความปวดหลังผ่าตัด

คลอดบุตร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6, 16(3), 868–881.

สายสมร ศักดาศรี. (2565). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัด

คลอดทางหน้าท้อง หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลน่าน.น่าน : โรงพยาบาลน่าน

สุทธิดา ไชยสงคราม.(2558) การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติพยาบาลทางคลินิกสำหรับการจัดการ

ความปวดจากการผ่าตัดในเด็กอายุ 1 เดือน ถึง5ปี.(วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต

สาขาการพยาบาลเด็ก, มหาวิทยาลับสงขลานครินทร์

เสาวนิตย์ กมลวิทย์;ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์ (2557)., การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการ

ความปวดในหอผู้ป่วยหลังการผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง

อัญชลี จักร์สาน,สุภารัตน์ หมื่นโฮ้งและแสงอรุณ ใจวงศ์ผาบ. (2563).การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิก

การจัดการความปวดผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลแพร่.วารสารโรงพยาบาลแพร่, 28(1),

-134.

Abdalrahim, M.S., Majali, S. A., Stromberg, M. W., & Bergbom, I. (2010). The effect of

postoperative pain management program on improving nurses knowledge and

attitudes toward pain. Nurse Education in Practice, 11,250-255

Mwaka G,Thikra S, Mung’ayi V.(2013). The prevalence of postoperative pain in the first

hours following day surgery at a tertiary hospital in Nairobi. African Health

Sciences, 13(3),768-776

National Health and Medical Research Council. [NMRC]. (1998). A guide to the developmental,

implementation and evaluation of clinical practice guidelines.

https://www.health.qld.gov.au/__data/assets/pdf_file/0029/143696/nhmrc_clinprgde.pdf

Institute of Medical Research and Technology Assessment. Appraisal of guideline for research

& evaluation II; AGREE II. [document on the Internet] 2013. Available from

https://www.agreetrust.org/wp-content/uploads/2017/12/AGREE-II-Users-Manual-and-23-item-

Instrument-2009-Update-2017.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-08