ผลการพัฒนาระบบติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ยามอร์ฟีน, ผู้ป่วยระยะสุดท้าย, ระบบติดตามยาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้ายโรงพยาบาลนาดูน กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มทีมสหวิชาชีพ 20 คน กลุ่มผู้ป่วยระยะสุดท้าย 30 คน โดยใช้วิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย ตุลาคม 2565 – กรกฎาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึก IN HOME SSS แบบประเมินผลความพึงพอใจ แบบบันทึกการทบทวนเวชระเบียน การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละและวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1.ผลการวิเคราะห์ปัญหาการติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย พบว่า มีปัญหาด้านการบริหารจัดการยาเหลือใช้หลังจากผู้ป่วยเสียชีวิต ปัญหาด้านการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ปัญหาด้านระยะเวลาที่เหมาะสมของการให้ยา ปัญหาด้านการเกิดพิษจากยามอร์ฟีน
2.การพัฒนาระบบติดตามยามอร์ฟีนเหลือใช้ในผู้ป่วยระยะสุดท้าย โรงพยาบาลนาดูน ประกอบด้วย 1) ด้านการควบคุมการจัดเก็บยามอร์ฟีนเหลือใช้ 2) ด้านการเบิกจ่ายยามอร์ฟีนที่ได้มาตรฐาน 3) ด้านการใช้ยามอร์ฟีนในผู้ป่วยระยะสุดท้ายอย่างมีประสิทธิภาพ 4)ด้านระบบการติดตามผลการใช้ยา 5) การจัดการข้อมูลผู้ป่วยระยะสุดท้ายในการใช้ยามอร์ฟีน 6) พัฒนาแอปพลิเคชันไลน์ Nadundrug line official
3. ผลการประเมิน พบว่า มีการพัฒนารูปแบบ 2 วงรอบ ทำให้มีการติดตามและเก็บยามอร์ฟีนกลับคืนเข้าโรงพยาบาล มีมูลค่ายามอร์ฟีนทั้งสิ้น 12,861.69 บาท อีกทั้งมีการนำยามอร์ฟีนที่เหลือ นำยาไปจ่ายให้กับผู้ป่วยคนอื่นได้ และสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อการพัฒนารูปแบบ ในระดับมากที่สุด (= 4.70, SD = 0.14)
References
กองควบคุมวัตถุเสพติด.(2563).การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารจัดการ การใช้ยาใน
กลุ่มโอปิออยด์.นนทบุรี:สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข.
กองบริหารการสาธารณสุข.(2561).แนวทางการบริหารจัดการระบบยาในการดูแลผู้ป่วยแบบ
ประคับประคอง (Palliative Care).นนทบุรี:สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
กระทรวงสาธารณสุข.
โรงพยาบาลนาดูน.(2566). รายงานผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ศูนย์ดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง
พ.ศ.2564 – 2565. โรงพยาบาลนาดูน, สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม.
จงลักษ์ รสสุขุมาลชาติ และพนารัตน์ เจนจบ. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดสำหรับ พยาบาล ในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. เชียงรายเวชสาร, 13 (1), 182-199.
ชุติวัต ประดิษฐพัสตรา.(2565).ปัญหาในการเข้าถึงมอร์ฟีนของผู้ป่วยระยะสุดท้าย.กรุงเทพฯ:ภาควิชา
นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไทยพีบีเอส.(2566). 4 กุมภาพันธ์ “วันมะเร็งโลก” รวมเรื่องน่ารู้และการป้องกันภัยร้าย “โรคมะเร็ง".
กรุงเทพมหานคร :องค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. พิมพ์ครั้งที่10. กรุงเทพฯ :
บริษัทสุวีริยาสาส์น จำกัด.
ปัทมาภรณ์ นาบุตรบุญ, รัชนี พจนา และจันจิรา วิทยาบำรุง.(2566). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวด
ผู้ป่วยมะเร็งระยะท้ายโรงพยาบาลชนบท.วารสารวิชาการทางการพยาบาลและวิทยาศาสตร์สุขภาพ,
(2), 6-17.
มลิวัลย์ แจ่มแจ้ง.(2566). การพัฒนาบทบาทของเภสัชกรในการดูแลผู้ป่วยมะเร็งแบบประคับประคอง
ร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพของโรงพยาบาลสระบุรี.เภสัชกรรมคลินิก, 29(2), 103-115.
ศศิกานต์ นิมมานรัชต์.(2550). Pain & Pain management in Special Population.
ใน:ศศิกานต์ นิมมานรัชต์, ชัชชัย ปรีชาไว, บรรณาธิการ. ความปวดและการ จัดการความปวดในกลุ่ม
ผู้ป่วยที่มีปัญหาพิเศษ. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์. .
สถาบันมะเร็งแห่งชาติ.(2566).ประชุมวิชาการโรคมะเร็งแห่งชาติครั้งที่ 15.นนทบุรี:กรมการแพทย์.
Kemmis S, & McTaggart R. (1988). The actionresearch planner. Deakini University.
World Health Organization. Cancer [Internet]. 2018. Available from:
https://www. who.int/news-room/fact-sheets/detail/cancer
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.