ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก ของสตรี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา

ผู้แต่ง

  • เพ็ญนิภา ชำนาญบริรักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา
  • เพ็ชรศักดิ์ อุทัยนิล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา

คำสำคัญ:

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์, พฤติกรรม, มะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรี ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาคือ สตรีอายุ 30-60 ปี ทั้งที่เคยตรวจและไมเคยตรวจมะเร็งปากมดลูกในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา จำนวน 300 คน เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบความรูเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก แบบประเมินทัศนคติของการมารับบริการการตรวจมะเร็งปากมดลูก แบบประเมินพฤติกรรมการมารับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.78,0.82, 0.84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าทดสอบ Chi-square และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่าง มีอายุระหว่าง 50 – 60 ปี ร้อยละ 49 สถานภาพสมรส ร้อยละ 80.70 ระดับการศึกษา เป็นชั้นประถมศึกษา ร้อยละ 46.40 ส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 66.30 และมีรายได้น้อยกว่า 5,000 บาท/เดือน ร้อยละ 55.30 ส่วนใหญ่เคยตรวจมะเร็งมากมดลูก จำนวน 2 ครั้ง ร้อยละ 58.30 2) ระดับความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก มีความรู้ระดับปานกลาง ร้อยละ 52.30 3) ทัศนคติของการมารับบริการการตรวจมะเร็งปากมดลูก มีระดับทัศคติที่ดี ( gif.latex?\bar{x}=4.20, S.D=0.50) 4) พฤติกรรมการรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อยู่ในระดับดี ร้อยละ 64.70 5) ความสัมพันธ์ระหว่างการตรวจมะเร็งปากมดลูก ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก และทัศนคติของการมารับบริการการตรวจมะเร็งปากมดลูก มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการรับบริการตรวจมะเร็งปากมดลูก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้ หน่วยงานด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์ในพื้นที่ได้

References

ชัชวาล นฤพันธ์จิรกุล รัตนา ธรรมวิชิตและธานินทร์ สุธีประเสริฐ. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจมะเร็งปากมดลูกของสตรีเทศบาลเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 23(6), 1022-1031.

ณัฐธยาน์ ภิรมย์สิทธิ. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจเข้ารับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ของสตรีจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 35(2), 95-108.

บุษบา ไชยรินทร์. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการรับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีกลุ่มไทลื้อในตำบลศรีดอนชัย อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย. [หลักสูตรปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา].

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา.(2564). รายงานการดำเนินงานประจำปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา. มหาสารคาม: โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเขวา.

รัฐพล สาแก้ว จงกลนี ธนาไสย์และบัณฑิต วรรณประพันธ์. (2560). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในสตรีอายุ 30-60 ปี ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเหล็ก อำเภอเสขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 23(1), 17-30.

ศิริรัตน์ เพียขันทา ดวงกมล ปิ่นเฉลียวและทิพย์ฆัมพร เกษโกมล. (2565). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมแรงจูงใจโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านต่อการรับรู้ป้องกันโรคและการมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก. วารสารสุขภาพและศึกษาพยาบาล, 28(2): 1-16.

สุขุมาล โพธิ์ทอง. (2561). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีในพื้นที่อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 32(2): 966-970.

สุดาฟ้า วงศ์หาริมาตย์. (2556). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ การไม่มาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในชุมชนที่คัดสรร: จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการกรมสนับสนุน บริการสุขภาพ, 9(1), 12-20.

สุมัทนา กลางคาร และวรพจน์ พรหมสัตยพรต. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. สารคามการพิมพ์สารคามเปเปอร์.

สุวิมล สอนศรี วาริณี เอี่ยมสวัสดิกุลและชื่นจิตร โพธิศัพท์สุข. (2564). ผลของโปรแกรมการส่งเสริมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกสตรีกลุ่มเสี่ยง อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด. วารสารพยาบาล,70(3), 11-19.

อรทัย วิเชียรปูน และวุฒิชัย จิรา. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีอายุ 30-60 ปี อำเภอเสาเหล็ก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 13(2), 250-258.

Bloom BS. (1971). Hand book on formative and summative evaluation of student learning.Graw-Hill Book Company.International Agency for Research on Cancer. Cervix Cancer. http://globocan.iarc.fr/pages/

Kahn JA. (2009). HPV vaccination for the prevention of cervical intraepithelial neoplasia. N Engl J Med, 361(3), 271-8.

World Health Organization.WHO guidance note: comprehensive cervical cancer preventionand control: ahealthier future for girls and women; 2013. http://who.int/ reproductivehealth/publications/ cancers/9789241505147/en.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย