แรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

ผู้แต่ง

  • พารินทร์ แก้วสวัสดิ์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอลาดหลุมแก้ว

คำสำคัญ:

แรงจูงใจ, สมรรถนะการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเรื่องแรงจูงใจที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ครั้งนี้โดยใช้รูปแบบการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive research study) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล แรงจูงใจ และสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุข  ประจำหมู่บ้าน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี ปีงบประมาณ 2565 จำนวน 278 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ รายงานผลการวิเคราะห์  ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาประกอบด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ โดยใช้การทดสอบของไคสแควร์ (Chi-square) และกำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05 กรณีที่ไม่ผ่านเงื่อนไข (assumption) ของการใช้สถิติไคสแควร์ จะใช้สถิติฟิสเชอร์ (Fisher’s Exact test) ซึ่งกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ผลการวิเคราะห์ และการสนทนากลุ่ม

          ผลการศึกษา พบว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี  มีสมรรถนะการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย 4.03(S.D.= 0.506) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ รายได้ต่อเดือน ความสำเร็จในการทำงาน การยอมรับนับถือ ความรับผิดชอบ ค่าป่วยการหรือสวัสดิการ สภาพการทำงาน และความมั่นคงในการปฏิบัติงาน  ซึ่งนำมาบูรณาการโดยการสนทนากลุ่มได้แนวทางการพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี

          ข้อเสนอแนะ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน และให้การสนับสนุนกิจกรรมการดำเนินงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านอย่างเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อเป็นการพัฒนาการปฏิบัติงานตามสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป

References

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2553). หลักสูตรการอบรมฟื้นฟูความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ปีพุทธศักราช 2553. นนทบุรี.

กรแก้ว จันทภาษา.(2564). การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). https://home.kku.ac.th/korcha/dis1.html ความหมายของแรงจูงใจและการจูงใจ. (2564). https://www.novabizz.com/NovaAce/Motives.htm.

จิราพร รุจิวัฒนากร.(2556). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อประเภทต่าง ๆของนักศึกษาปริญญาตรี. [วิทยานิพนธ์, สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ].

เตือนใจ ปาประโคน. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงสนับสนุนทางสังคมกับบทบาทของอาสาสมัคร สาธารณสุข ประจำหมู่บ้านในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ อำเภอบ้านกรวด จังหวัดบุรีรัมย์. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น].

นภเรณู สัญจจรักษ์. (2557). ทฤษฎีเกี่ยวกับการสนทนาในรูปแบบกลุ่ม (Focus Group). Available : http//www.li.mahidol.ac.th/seminar/pdf/VOC-2.pdf .html.

พรเทพ สิงหกุล. (2562). การรับรู้และความคาดหวัง เพื่อสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนา รายการฝนฟ้าอากาศช่อง 7HD. [วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม].

มนัสนันท์ เกิดเอี่ยม. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษากับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. [วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี].

ยุทธนา แยบคาย. (2560) ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานสมรรถนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จังหวัดสุโขทัย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. ระบบสารสนเทศสาธารณสุข HDC.ระบบออนไลน์. https://pte.hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php

ระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน พ.ศ. 2554. (20 มีนาคม 2554). ราชกิจจานุเบกษา ตอนพิเศษ, 128(33ง), หน้า 1-10.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2551). ภาวะผู้นำ Leadership (พิมพ์ครั้งที่ 2).

ธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ แรงจูงใจ Motives การจูงใจ Motivation. (2564). https://www.novabizz.com/NovaAce/Motives.htm.

ลัคนา วัฒนะชีวะกุล. (2557). ประชากรศาสตร์.สาขาวิชาสถิติ. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. สหัทยา ถึงรัตน์. (2556). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองอ่างศิลา อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา].

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2549). การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion). https://home.kku.ac.th/korcha/dis1.html.

สุดารัตน์ หล่อเพชร. (2554). ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตามบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในงานสุขภาพภาคประชาชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา, 6(2), 140-149.

อนิรุธ จันทพาส. (2563). แรงจูงใจและการได้รับสนับสนุนที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถนะการปฏิบัติงานของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

อานุรี วังคะฮาต. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ กับการปฏิบัติงานตามบทบาท ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการคัดกรอง และลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จังหวัด มุกดาหาร.[วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-07-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย