ประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้กระดานยางยืด และเมล็ดมะค่าโมงนวดฝ่าเท้าในผู้สูงอายุ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ชลลดา พลนาคู โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบุ่งเลิศ

คำสำคัญ:

ประสิทธิผลของโปรแกรม, การออกกำลังกาย, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการออกกำลังกายด้วยไม้กระดานยางยืดและเมล็ดมะค่าโมงนวดฝ่าเท้าในผู้สูงอายุ อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60-79 ปี กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 40 คน ใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งหมด 5 สัปดาห์ เก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบวัดสมรรถภาพของร่างกายและการสัมภาษณ์ความพึงพอใจก่อนและหลังการใช้กระดานยางยืดและเมล็ดมะค่าโมงนวดฝ่าเท้า วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ส่วนการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มใช้ t- test for dependent samples ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีความพึงพอใจในการใช้อุปกรณ์อยู่ในระดับพึงพอใจมากทั้งในเรื่องของนวัตกรรมไม่เป็นอันตรายต่อผู้อื่นและขนาดโดยรวมของนวัตกรรม และประสิทธิผลของกระดานยางยืดและเมล็ดมะค่าโมงนวดฝ่าเท้า พบว่า สมรรถภาพร่างกายของกลุ่มตัวอย่างก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <0.001) ข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าควรมีการขยายผลการศึกษาและประยุกต์ใช้กระดานยางยืดและเมล็ดมะค่าโมงนวดฝ่าเท้ากับผู้สูงอายุในพื้นที่อื่นๆ เพื่อประสิทธิผลของนวัตกรรมและควรมีการเพิ่มระยะเวลาในการศึกษาประสิทธิผลของกระดานยางยืดและเมล็ดมะค่าโมงนวดฝ่าเท้า ในการศึกษาครั้งต่อไป

References

ฉัตรกมล สิงห์น้อย, พรชัย จูลเมตต์, อวยพร ตั้งธงชัย. (2558). การพัฒนารูปแบบการออกกำลังกายด้วยยางยืดประยุกต์สำหรับผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรัง. ชลบุรี : มหาวิทยาลัยบูรพา.

ชำนาญ ผึ่งผาย. (2550). ผลของการนวดแผนไทยประยุกต์ต่อการผ่อนคลาย. (ปริญญานิพนธ์, วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทัศนีย์ ตรีรัตนนุกูล. (2556). ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่ออาการชาเท้าของผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2. (วิทยานิพนธ์, การจัดการสุขภาพ). ฉะเชิงเทรา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นัยต์ชนก ถิ่นจะนะ. (2559). ผลของโปรแกรมส่งเสริมสการออกกำลังกายที่บ้านโดยใช้ยางยืดต่อสมรรถภาพทางกายของผู้สูงอายุ.( วิทยานิพนธ์, การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน). สงขลา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

วรวัฒน์ พวงยอด. (2553). ผลของการออกกำลังกายด้วยท่ารำไม้พลองและยางยืดที่มีผลต่อ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาและแขนในผู้สูงอายุ ชมรมผู้สูงอายุของศูนย์สาธารณสุขประชานิเวศ 17 ประชานิเวศ 1 เขตจตุจักร. (ปริญญานิพนธ์, วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

วิไลลักษณ์ ปักษา. (2553). ผลการฝึกด้วยน้ำหนักของร่างกายและด้วยยางยืดที่มีต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ในผู้สูงอายุ. (ปริญญานิพนธ์, วิทยาศาสตร์การกีฬา). กรงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วุฒิชาติ ชาตะรูปะชิวิน. (2555). การศึกษาและพัฒนาแผ่นรองปูพื้นพกพาอเนกประสงค์เพื่อนวดการนวดกดจุดผ่อนคลายด้วยตัวเองสาหรับผู้สูงอายุ. (ปริญญานิพนธ์, นวัตกรรมการออกแบบ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. (2549). การฉายภาพประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2548 – 2568. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม.

อรพินทร์ ชูชม. (2552). การวิจัยกึ่งทดลอง. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 15(1), 1-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย