การพัฒนาระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค (Telemedicine) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์
คำสำคัญ:
ระบบการแพทย์ทางไกล, โทรเวชกรรม, คลินิกเฉพาะโรคบทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) นี้ เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาผู้ป่วยเฉพาะโรคและความต้องการการรับบริการแพทย์ทางไกล (Telemedicine) รวมถึงการพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของการพัฒนาระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค (Telemedicine) โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะการเก็บรวบรวมและการวิเคราะห์ข้อมูล 2) ระยะพัฒนาระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค 3) ระยะการนำระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรคไปใช้ 4) ระยะการติดตามประเมินผล ทำการศึกษาตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2564 - ธันวาคม พ.ศ.2565 เลือกประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เป็นกลุ่มผู้ป่วยเก่าโรคหอบหืด/ถุงลมโป่งพอง และผู้ป่วยกลุ่มโรคอายุรกรรมประสาทและสมอง ที่มารับการตรวจรักษาต่อเนื่องที่คลินิกเฉพาะโรค แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย ส่วนที่ 1) เครื่องมือที่ใช้ดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรคและคู่มือการใช้ระบบ ส่วนที่ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและผู้ดูแล แบบประเมินการรับรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการรับรู้ประโยชน์ในการใช้ระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค แบบประเมินทักษะการใช้ระบบ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างก่อนและหลังการ รวมถึงความพึงพอใจต่อระบบบริการของกลุ่มผู้รับบริการ ผลการวิจัยพบว่ามีประชากรกลุ่มตัวอย่างจำนวน 186 คน จำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 36.56 เพศหญิง ร้อยละ 63.44 อาศัยอยู่นอกเขตอำเภอเมืองร้อยละ 55.91 อาศัยในเขตอำเภอเมือง ร้อยละ 44.09 ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหลอดเลือดสมองชนิดตีบตัน ร้อยละ 33.33 รองลงมาคือโรคหอบหืด/ถุงลมโป่งพอง ร้อยละ 29.57 ส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นผู้ใช้ระบบเอง พบร้อยละ 57.53 ที่เหลือบางส่วนเป็นญาติ และอสม.เป็นผู้ใช้ระบบ ผลการศึกษาด้านการรับรู้ พบว่าคะแนนการรับรู้ทางด้านเทคโนโลยีและการรับรู้ประโยชน์ในการใช้งานระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค ภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง( = 16.67, SD = 1.29) ส่วนผลการประเมินด้านทักษะการใช้โปรแกรม พบว่า คะแนนทักษะการใช้โปรแกรมบริการแพทย์ทางไกลทั้งสองโปรแกรมภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง ( = 9.28, SD = 0.86) และผู้รับบริการมีคะแนนความพึงพอใจต่อระบบบริการแพทย์ทางไกลคลินิกเฉพาะโรค โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ในระดับมากที่สุด ( = 4.67, SD = 0.57)
References
ชานนทร์ ศิริกุลสถิต. (2557). การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยฝึกอบรม บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยวิธีสาธิตแบบฝึกหัดทักษะปฏิบัติเรื่อง การสร้างเว็บไซต์ด้วยกูเกิ้ลไซต์ (Google Site). ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ณัฐิกานต์ ปังศรีวงศ์ (2563). การพัฒนาทักษะด้านการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการจัดการเรียนรู้ ในศตวรรษที่ 21 ของครูโรงเรียนตลาดหนองหวาย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษาคณะครุศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
ธนพร ทองจูด (2564). การศึกษาปัจจัยของการตรวจรักษาด้วยโทรเวชกรรมที่มีผลต่อทัศนคติและความตั้งใจเลือกใช้บริการโทรเวชกรรมของผู้รับบริการของโรงพยาบาลรามาธิบดี. ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปาริชาติ โรจน์พลากร-กู๊ซและยุวดี ฤๅชา. (2553). สถิติสำหรับงานวิจัยทางการพยาบาลและการใช้โปรแกรม SPSS for Windows. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล. บริษัท เอสพีเอสเอส (ไทยแลนด์) จำกัด.
พวงชมพู ประเสริฐ. (2561). ระบบบริการสาธารณสุข คนไทยเข้าถึงแต่ยังเหลื่อมล้ำ. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565, จาก http://www.komchadluek.net/news/edu- health/338987.
ลัดดาวรรณ ศรีนวลจันทร์ (2561). แนวทางการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในโรงเรียนวัดลานนาบุญ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วรพจน์ พรหมสัตยพรตและสุมัทนา กลางคาร. (2553). หลักการวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. มหาสารคาม : สารคามการพิมพ์สาคามเปเปอร์.
สกลนันท์ หุ่นเจริญ (2557). การประยุกต์ใช้ระบบการแพทย์ทางไกลเพื่อสนับสนุนการดูแลสุขภาพ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 5(2), 191-198.
อัคคะนนท์ พงศ์ลักษมาณา. (2557). การพัฒนาต้นแบบระบบช่วยติดต่อสื่อสารทางการแพทย์ บนระบบปฏิบัติการ Android. ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และ
สารสนเทศ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Davis Jr, F. D. (1989). Perceived Usefulness, Perceived Ease of Use, and User Acceptance of Information Technology. MIS Quarterly, 319-339. สืบค้นเมื่อ 27 มกราคม 2565, จาก https://doi.org/10.2307/249008.
World Health Organization (1998). A health telematics policy : Report of the WHO Group consultation on health telematics Geneva, 11-16 December 1997. Retrieved January 27, 2022,
World Health Organization. (2009). Telemedicine: opportunities and developments in Member States: Report on the second global survey on eHealth 2009. Geneva : WHO. Retrieved January 27, 2022, from:https://apps.who.int/iris/handle/10665/44497.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.