ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อค่าสมรรถภาพปอดของ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังโรงพยาบาลขอนแก่น
คำสำคัญ:
โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, โปรแกรมการจัดการตนเอง, สมรรถภาพปอดบทคัดย่อ
บทนำ : โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญและมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยจำเป็นที่จะต้องมีการจัดการตนเองที่ดี เพื่อลดอาการกำเริบและส่งเสริมการมีคุณภาพชีวิตที่ดี
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อค่าสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
วิธีการศึกษา : เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quai-experimental research) แบบมีกลุ่มควบคุมและทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่มารับบริการในคลินิกโรคปอดอุดกั้นในช่วงระยะเวลาระหว่างเดือนพฤษภาคม 2566-กรกฎาคม 2566 คัดเลือกตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 70 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 1) กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง 35 ราย 2) กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ จำนวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ เครื่องวัดสมรรถภาพปอด แบบบันทึกสมรรถภาพปอด และแบบวัดพฤติกรรมการจัดการตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการศึกษา : กลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรม มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการจัดการตนเอง ความรุนแรงของอาการเหนื่อย ระยะทางของการเดินทดสอบความทนต่อการออกกำลังกายภายในเวลา 6 นาที สูงกว่าก่อนเข้าโปรแกรมและกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่อัตราการไหลของอากาศหายใจออกที่สูงที่สุดของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน
สรุปและข้อเสนอแนะ : โปรแกรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังสามารถส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีการจัดการตนเองที่ดี ควรนำไปใช้และติดตามผลในระยะยาว
References
จุฬาลักษณ์ โรจนวิภาต. (2559). ผลของโปรแกรมการรักษาผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังซับซ้อนโรงพยาบาลท่าวังผา จังหวัดน่าน. ลำปางเวชสาร, 32(2), 33-45.
ธาดา วินทะไชย, นรลักขณ์ เอื้อกิจ. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองต่อสมรรถภาพปอดของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 30(2), 124-135.
ประเสริฐ ศรีนวล, จริยาวัตร คมพยัคฆ์, หทัยชนก บัวเจริญ. (2562). ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน. วารสารพยาบาลทหารบก, 20(2), 351-359.
อำไพ หลังปุเต๊ะ, ฟารีดา สูเด็น, & ปราโมทย์ ถ่างกระโทก. (2561). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองสำหรับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในหอผู้ป่วยอายุรกรรม โรงพยาบาลควนโดน จังหวัดสตูล. ศรีนครินทร์เวชสาร, 33(4), 346-350.
Brandsma, C. A., Van den Berge, M., Hackett, T. L., Brusselle, G., & Timens, W. (2020). Recent advances in chronic obstructive pulmonary disease pathogenesis: from disease mechanisms to precision medicine. The Journal of pathology, 250(5), 624-635.
Cornelison, S. D., & Pascual, R. M. (2019). Pulmonary rehabilitation in the management of chronic lung disease. Medical Clinics, 103(3), 577-584.
Creer, T. L. (2000). Self-management of chronic illness. In Handbook of self-regulation (pp. 601-629). Elsevier.
Gupta, N., Malhotra, N., & Ish, P. (2021). GOLD 2021 guidelines for COPD—what’s new and why. Advances in respiratory medicine, 89(3), 344-346.
Hikichi, M., Mizumura, K., Maruoka, S., & Gon, Y. (2019). Pathogenesis of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) induced by cigarette smoke. Journal of thoracic disease, 11(Suppl 17), S2129.
Lortet-Tieulent, J., Soerjomataram, I., López-Campos, J. L., Ancochea, J., Coebergh, J. W., & Soriano, J. B. (2019). International trends in COPD mortality, 1995–2017. European Respiratory Journal, 54(6).
Munari, A. B., Gulart, A. A., Dos Santos, K., Venâncio, R. S., Karloh, M., & Mayer, A. F. (2018). Modified medical research council dyspnea scale in GOLD classification better reflects physical activities of daily living. Respiratory care, 63(1), 77-85.
Polit, D. F., Beck, C. T., & Owen, S. V. (2007). Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Research in nursing & health, 30(4), 459-467.
Wang, L., Yu, M., Ma, Y., Tian, R., & Wang, X. (2022). Effect of pulmonary rehabilitation on postoperative clinical status in patients with lung cancer and chronic obstructive pulmonary disease: a systematic review and meta-analysis. Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2022.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.