การพัฒนา Smart Heart Care Application ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้แต่ง

  • ศิราณี คำอู โรงพยาบาลขอนแก่น
  • พินรัฐ จอมเพชร โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ผนึกแก้ว คลังคา โรงพยาบาลขอนแก่น
  • จิราพร น้อมกุศล โรงพยาบาลขอนแก่น
  • รัชดาภรณ์ กาญจนเสถียร โรงพยาบาลขอนแก่น
  • รัตนา ทองแจ่ม โรงพยาบาลขอนแก่น
  • อุทุมพร ศรีสถาพร โรงพยาบาลขอนแก่น
  • ปนิตา มีระเกตุ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

Smart Heart Care Application, การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด  2) พัฒนา Application ในการดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด 3) ศึกษาประสิทธิผลการใช้ Application แบ่งการศึกษาเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ปัญหา ความต้องการของผู้ป่วยและทีมสุขภาพ ประเมินความเป็นไปได้ในการจัดทำ Application ระยะที่ 2 พัฒนา Application  ระยะที่ 3 ทดลองใช้และปรับปรุง ระยะที่ 4 ประเมินผลโดยทดลองใช้กับผู้ป่วย 30 คน เครื่องมือประกอบด้วย แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบความพึงพอใจในการใช้ Application แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วย ตรวจสอบความตรงของเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้ค่าตรงตามเนื้อหา 0.84 ทดสอบความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค เท่ากับ 0.89  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา เปรียบเทียบผลการพัฒนาระหว่างกลุ่มที่ใช้และไม่ใช้ Application โดยใช้สถิติ Independent T test  ผลการพัฒนา พบว่า 1) ได้ Mobile Application สำหรับให้ผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดใช้ในการดูแลตนเองต่อเนื่อง  2) ผลลัพธ์การพัฒนาพบว่า กลุ่มที่ทดลองใช้ Application มีความรู้ในการดูแลตนเองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)  ในด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่วิเคราะห์พฤติกรรมรายด้านพบว่ากลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการรับประทานยา อาหาร และการออกกำลังกายสูงกว่ากลุ่มคุมคุม 

References

กองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2564 . [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. จากเว็ปไซต์: http://www.thaincd.com/2016/media detail.php?id=14287&tid=&gid=1-015-005

กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. ข่าวจากหนังสือพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับกรมสุขภาพจิต.[อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2564. จากเว็ปไซต์: https://www.dmh.go.th/news-dmh/

view.asp?id=29507

ประกายเพชร วินัยประเสริฐ, จิณพิชญ์ชา มะมม. (2562).การพัฒนาแอปพลิเคชันช่วยคำนวณอาหารที่จำเป็นต่อวัน (NuTu-App) เพื่อส่งเสริมภาวะโภชนาการในผู้ป่วยที่มีแผลกดทับ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 27(3), 485 - 498.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2562). สถิติและตัวชี้วัด. สรุปงานประจำปีศูนย์หัวใจ : โรงพยาบาลขอนแก่น.

วนิสา หะยีเซะ และคณะ. (2564). การพัฒนาแอปพลิเคชันบนแอนดรอยด์ : ผลของการให้ความรู้ผ่านแอปพลิเคชันในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลตามวิถีมุสลิม. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 13(1), 39-55.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2558 [อินเตอร์เน็ต].สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2564. จากเว็ปไซต์: http://thaincd.com/document/file/ download/paper-manual/Annual-report-2015.pdf

อติพร สำราญบัว, เบญจมาศ ทำเจริญตระกูล. (2564). ผลของการใช้แอปพลิเคชันอาหารลดความดันต่อความเชื่อด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงผลของการใช้แอปพลิเคชันอาหารลดความดันต่อความเชื่อด้านสุขภาพผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง.วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(1), 228-242.

DiDonatoLK, et al. (2015). Community pharmacy patient perceptions of a pharmacy initiated mobile technology app to improve adherence. Int J Pharm Pract, 23, 309-19.

Worapitbenja P., Klinhoo J., Srisom N. (2015). The development learning managements system application of virtual classrooms on mobile device. Industrial Technology. Lampang Rajabhat University Journal, 8(2), 58-67.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-08-21

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย