กระบวนการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายสุขภาพอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ปีงบประมาณ 2562 -2565
คำสำคัญ:
กระบวนการพัฒนา, ศักยภาพ, เครือข่ายสุขภาพบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหากระบวนการพัฒนางานวิจัยและประเมินผลกระบวนการพัฒนางานวิจัย เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ระยะเวลาศึกษา ปีงบประมาณ 2562-2565 ดำเนินการโดยคัดเลือกผู้มี ส่วนร่วมในการวิจัยแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ ผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 5 แห่ง ตัวแทนเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอเมยวดี เจ้าหน้าทีโรงพยาบาลเมยวดี เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 10 คน กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาส่งเสริมศักยภาพด้านการวิจัยของบุคลากรสาธารณสุข รวม 47 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แนวคำถาม แบบสังเกต แบบบันทึกภาคสนาม แบบประเมินความพึงพอใจ แบบประเมินทัศนคติ วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดย จำนวน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติ paired t-test ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการ ตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลแบบสามเส้าและใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการพัฒนางาน วิจัยที่เหมาะสมตามบริบทพื้นที่คือ การจัดกระบวนการ knowledge management (KM) ร่วมกับการเสริมพลังเชิงบวก (appreciative inquiry) การจัดเวทีถ่ายทอดประสบการณ์เพื่อสร้างแรงบันดาลใจ สนับสนุนงบประมาณ สนับสนุนแหล่งความรู้วิชาการ ประสานผู้เชี่ยวชาญภายนอก จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อพัฒนางานวิจัยละนวัตกรรม วิจัยเกิดการพัฒนาเป็นทีมอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบว่า ผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ความเข้าใจหลังการเข้าร่วมแผนพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเครือข่ายสุขภาพอำเภอเมยวดี (ปีงบประมาณ 2562 – 2565) มีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าก่อนการเข้าร่วมแผนพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เกิดการพัฒนาคู่มือ แนวทางปฏิบัติ และนวัตกรรมที่พัฒนาต่อเนื่องจากงานวิจัย เกิดการวางแผนในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมร่วมกับทีมและผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัยที่ มีทัศนคติต่อการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เกิดการขยายผลการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในหน่วยงานครอบคลุมทุกหน่วยงานทั้งในโรงพยาบาลเมยวดี สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมยวดีและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทั้ง 5 แห่ง เกิดนักวิจัย มีการวางแผนตั้งเป้าหมายร่วมกันในเรื่องที่พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมในปีต่อไป กระบวนการที่พัฒนาขึ้นเหมาะสมกับบริบทพื้นที่ ส่งผลให้เกิดการดูแลผู้ป่วยที่ดี มีการจัดบริการที่เหมาะสมต่อไป
References
กาญจนา จันทะนุย, ชญาณิศา ปินะถา, ภาคภูมิ อินทร์ม่วง, กำทร ดานา, ผดุงศิษฎิ์ ชำนาญบริรักษ์.(2562).กระบวนการพัฒนางานวิจัยเครือข่ายบริการสุขภาพยางสีสุราช อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม.วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(6), 1116-1129.
นพวรรณ ธีระพันธ์เจริญ.(2559).การพัฒนาศักยภาพการวิจัย R2R ของบุคลากรสาธารณสุขในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา.วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 11(2). 205-214.
ดาราวดี เมธนาวิน. (2552). การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการพยาบาลในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำโรงพยาบาลพะเยา.วารสารกองการพยาบาล, 36(2), 46-55.
วิจารณ์ พานิช.(2551). R2R : routine to research สยบงานจำเจด้วยการทำวิจัย สู่โลกใหม่ของงานประจำ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Cooperider DL, Whitney D, Stavros J. (2003). Appreciative inquiry handbook: the first in a series of AI workbooks for leaders of change. San Francisco : Berrett-Koehle.
Kemmis S, McTaggart R. (1988).The action research planner. Victoria, Australia : Deakin University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.