การพยาบาลผู้ป่วยโรคจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัด : กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
การพยาบาล, การผ่าตัดโรคจอประสาทตาหลุดลอกบทคัดย่อ
โรคจอประสาทตาหลุดลอกเป็นโรคทางจักษุวิทยาที่พบบ่อย ทำให้เกิดความบกพร่องในการมองเห็นมากขึ้นจนถึงภาวะตาบอด เกิดข้อจำกัดในการดำเนินชีวิต ก่อให้เกิดผลกระทบต่อครอบครัว สังคมและเศรษฐกิจได้</p วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาเปรียบเทียบการพยาบาลผู้ป่วยโรคจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัด Pars Plana Vitrectomy with Membrane peeling with Fluid Gas Exchange with Endo laser with Silicone Oil
วิธีการศึกษา : การศึกษาเพื่อเปรียบเทียบผู้ป่วยโรคจอประสาทตาหลุดลอกได้รับการผ่าตัด ที่มารับการรักษาที่ห้องตรวจตาและหอผู้ป่วยตา โรงพยาบาลมหาสารคาม จำนวน 2 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วย การสัมภาษณ์ญาติและการสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์เปรียบเทียบ พยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา ปัญหาและข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ตลอดจนการวางแผนจำหน่าย
ผลการศึกษา : กรณีศึกษา : เปรียบเทียบ รายที่ 1 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 38 ปี อาการสำคัญ ตาซ้ายพร่ามัวมากขึ้น 4 เดือนก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัย Tractional Retinal Detachment Left eye รายที่ 2 ผู้ป่วยหญิงไทย อายุ 55 ปี อาการสำคัญ ตาขวาพร่ามัว 1 ปี ก่อนมาโรงพยาบาล ได้รับการวินิจฉัย Tractional Retinal Detachment with Rhegmatogenous Retinal Detachment Right eye จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า หลังจากให้การพยาบาลผู้ป่วยโรคจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัดขณะรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล โดยให้การพยาบาลตามกระบวนการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวม และการวางแผนจำหน่ายแบบ D-METHOD ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน
สรุป : พยาบาลควรพัฒนาแนวทางการในการดูแลผู้ป่วยโรคจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัด เน้นในการให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตัวในระยะก่อน ขณะ หลังการผ่าตัดและเมื่อจำหน่ายกลับบ้าน เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยปลอดภัย มีความสามารถในการมองเห็นที่ดีขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป
References
จุฑารัตน์ เหงี่ยมไพศาล. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้ที่เป็นเบาหวานขึ้นจอประสาทตาภายหลังการผ่าตัดจอประสาทตาหลุดลอก โรงพยาบาลสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาล, 29(2), 224-235.
ญาณภา อินทรจักร. (2561). ผลของการผ่าตัดรักษาโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรูในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ปี พ.ศ. 2561. วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(2), 49-59.
ทรงศรี รำพึงสุข. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกที่ได้รับการผ่าตัด: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารวิชาการโรงพยาบาลระยอง, 20(37), 13-33.
ปาณิสรา ส่งวัฒนายุทธ. (2563). บทบาทพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยจอประสาทตาลอก. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 12(2), 189-201.
พิมพ์ลดา ชลสวัสดิ์. (2563). การดูแลผู้ป่วยจอตาลอกหลังได้รับการผ่าตัดชนิดฉีดแก๊สในลูกตาโดยการใช้ Control chart หรือการวิเคราะห์และปรับปรุงการดูแลโดยใช้ข้อมูลหน่วยงาน. วารสารโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ, 5(3), 56-60.
วสินี ทองอินคำและบรรพศิริ ชัยลีย์. (2563). คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยโรคจอตาลอกที่ได้รับการผ่าตัดจอตาร่วมกับการฉีดแก๊สหรือน้ำมันซิลิโคนเข้าลูกตา. กรุงเทพฯ: ฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช.
สมใจ แสงสร้อย. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา: กรณีศึกษา 2 ราย. วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 1(2), 197-207.
สถิติโรงพยาบาลมหาสารคาม. (2566). งานเวชระเบียน โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม: แผนกตา โรงพยาบาลมหาสารคาม.
สุภาวดี ดวงลูกแก้ว. (2563). การพยาบาลผู้ป่วยจอประสาทตาหลุดลอกชนิดที่มีรูฉีกขาดโดยวิธีการผ่าตัดน้ำวุ้นตา ผ่าตัดหนุนจอประสาทตา ฉีดน้ำมันซิลิโคนเหลวและการใช้แสงเลเซอร์: กรณีศึกษา. ชัยภูมิเวชสาร, 40(2), 100-114.
อัจฉรา แก้วน้ำเชื้อ. (2564). การพยาบาลผู้ป่วยโรคเบาหวานขึ้นจอประสาทตา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 6(4), 177-180.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.