การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ : กรณีศึกษา
คำสำคัญ:
กระบวนการพยาบาล, หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์บทคัดย่อ
บทนำ ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อย ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพมารดาและทารกแรกเกิด เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของมารดาและทารกแรก
วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้กระบวนการพยาบาลในการปฏิบัติการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
วิธีการศึกษา เป็นกรณีศึกษาหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ จำนวน 2 ราย วิเคราะห์การใช้กระบวนการพยาบาล
ผลการศึกษา หญิงตั้งครรภ์ทั้ง 2 ราย ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพของผู้คลอด พบว่ามีข้อวินิจฉัยการพยาบาลเหมือนกันทั้งหมด 11 ข้อ ได้แก่ 1) มีโอกาสชักเนื่องจากมีภาวะ Preeclampsia 2) มีโอกาสเกิดภาวะเลือดออกในสมอง เนื่องจากมีภาวะความดันโลหิตสูง 3) มีภาวะ Hypermagnesaemia 4)มีโอกาสตกเลือดหลังคลอดเนื่องจากมดลูกหด รัดตัวไม่ดีจากการได้รับยา MgSO4 5)ทารกมีโอกาสเกิดภาวะ Fetal Distress 6)ทารกมีโอกาสเกิดภาวะ birth asphyxiaไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผล 7) มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูง 8) มีโอกาสเกิดการติดเชื้อแผลผ่าตัดและแผลฝีเย็บ 9) ไม่สุขสบายเนื่องจากปวดแผลผ่าตัดหน้าท้อง 10) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาการครรภ์เป็นพิษและยังคงมีภาวะความดันโลหิตสูงหลังคลอด 11)ผู้ป่วยขาดความรู้ในการดูแลตนเองหลังคลอดผลลัพธ์การพยาบาลพบว่าทุกปัญหาได้รับการแก้ไข หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ทั้ง 2 ราย ได้รับการดูแลรักษาจนกระทั่งอาการดีขึ้น และจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลได้
การนำไปใช้ประโยชน์ ผลการศึกษานำไปพัฒนาต่อเป็นมาตรฐานการพยาบาลแนวปฏิบัติการพยาบาล คู่มือนิเทศทางคลินิก หญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
References
นันทพร แสนศิริพันธ์, และฉวี เบาทรวง.(2560). การพยาบาลและการผดุงครรภ์:สตรีที่มีภาวะแทรกซ้อน. เชียงใหม่:บริษัท สมาร์ทโคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิส จ้ากัด.
ปรียา แก้วพิมล. (2558). การพยาบาลสตรีที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์. ในเยาวเรศ สมทรัพย์ (บรรณาธิการ), การผดุงครรภ์เล่ม 1. สงขลา: หาดใหญ่ เบสท์เซลส์แอนด์ เซอร์วิส.
พัชราภรณ์ เจียรนัยธนะกิจ. (2563). การพยาบาลมารดาหลังคลอดที่มีภาวะความดันโลหิตสูงชนิดรุนแรง : กรณีศึกษา. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 33(2), 12-23.
รุ่งฤดี พันธุ์ประเสริฐ. (2563). การพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงรุนแรง : กรณีศึกษาโรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร, 29(1), 17-27.
โรงพยาบาลน้ำพอง. (2565). ทะเบียนผู้ป่วยงานห้องคลอดปี 2563-2565. น้ำพอง: โรงพยาบาลน้ำพอง.
วิบูลย์ เรืองชัยนิคม.(2556). Expectant management of severe preeclampsia remote from term. ใน เอกชัย โควาวิสารัช, ปัทมา พรหมสนธิ, บุญศรี จันทร์รัชชกูล, บรรณาธิการ. วิกฤตการณ์ทางสูติกรรมที่รุนแรง. กรุงเทพฯ: บริษัท ทรี-ดี สแกน จำกัด; 187-194.
Ross, M. G. (2016). Eclampsia: Overview, Etiologic and Risk Factors for Preeclampsia/Eclampsia, Multiorgan System Effects. Medscape Reference Drugs, Diseases & Procedures. Retrieved April, 25 2022 from http://emedicine.medscape.com/article/253960overview
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.