การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ในคลินิกโรคเบาหวาน โรงพยาบาลนาดูน
คำสำคัญ:
การพัฒนารูปแบบ, การดูแล, เบาหวานชนิดที่ 2บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 รายใหม่ในคลินิกโรคเบาหวานโรงพยาบาลนาดูน การครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ วางแผน ปฏิบัติการ สังเกตการณ์ และสะท้อนผลการปฏิบัติ ผู้มีส่วนร่วมในการศึกษา ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาลวิชาชีพ เภสัชกร นักโภชนากร นักกายภาพบำบัด จำนวน 10 คน ผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 10 คน โดยเลือกแบบจำเพาะเจาะจง เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน แบบประเมินความรู้ของผู้ป่วยเบาหวาน การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบโดยใช้สถิติที วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลจากการวิจัย พบว่า
1.ปัญหาและอุปสรรค ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกโรคเบาหวาน พบว่า กระบวนการทำงานในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานไม่ชัดเจน ขาดการ ประสานงานของทีมสหวิชาชีพ ตลอดจนถึงขาดการพัฒนาทักษะความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานอย่างต่อเนื่อง และประชาชนยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคเบาหวาน
2. รูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในคลินิกโรคเบาหวาน ประกอบด้วย 1) มีคณะกรรมการดำเนินงาน 2) การพัฒนาแนวทางการดูแลสุขภาพผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 3) อบรมให้ความรู้แก่บุคลากรในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวาน 4) มีระบบการติดตาม
3. การประเมินผล พบว่า ความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนเข้าใจง่าย ( = 4.17, SD = 0.37) ในส่วนพฤติกรรมการบริโภคน้ำตาล ไขมัน โซเดียม มีการบริโภคลดลง และผลเปรียบเทียบความรู้ในการดูแลตนเอง หลังการให้ความรู้สูงกว่าก่อนการให้ความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
References
จิราพร กลิ่นประทุม.(2552). ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคเบาหวาน การสนับสนุนทางสังคมกับการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชลการ ทรงศรี.(2550). การพัฒนารูปแบบการให้ความรู้เพื่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลทุ่งฝน จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต]. อุดรธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ณัฏฐิรา ประสาทแก้ว, แสงทอง ธีระทองคำ, วันทนา มณีศรีวงศ์กูล.(2554). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อความเชื่อด้านสุขภาพ และค่าความดันโลหิตของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้ [อินเทอร์เน็ต]. 2554 [สืบค้นเมื่อ 12 ก.ค. 2562 ]. แหล่งข้อมูล: https://www.tci-thaijo. org/index. php/jph/article/view/7864
เตือนใจ เสือดี, เยาวลักษณ์ จันทร์ดี.(2553). การดูแลผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังด้วยกระบวนการเยี่ยมบ้านและตามทางโทรศัพท์ ในพื้นที่ของศูนย์สุขภาพชุมชนสวรรค์ประชารักษ์ จังหวัดนครสวรรค์. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร, 7(1), 60-73.
เทพ หิมะทองคำ และคณะ.(2557). ความรู้เรื่องเบาหวานฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพฯ : วิทยาพัฒน์.
ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล.(2561) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515-22.
นันทพร บุษราคัมวดี, ยุวมาลย์ ศรีปัญญวุฒิศักดิ์.(2555). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลนครนายก. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 5(2), 114-29.
นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา และคณะ.(2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการดูแลผู้ป่วยเบาหวานควบคุมไม่ได้.วารสารกองการพยาบาล, 44(2), 141-58.
พิรุณี สัพโส.(2553). ความชุกของภาวะซึมเศร้าในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที 2 ในคลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพังโคน. ศรีนครินทร์เวชสาร, 25(2), 272-9.
พิไลวรรณ ยอดประสิทธิ์.(2542). โปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อการดูแลตนเอง ของผู้ป่วยเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัญฑิต, สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัชนี ศรีหิรัญ.(2554). ผลของการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยจิตเภทหลังจำหน่าย. [วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต].เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
รัฐพร โลหะวิศวพานิช.(2549). ผลการให้ความรู้ และคำปรึกษาโดยเภสัชกรคลินิกแก่ผู้ป่วยนอกโรคเบาหวาน. วารสารวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์, 20(1),19-40.
วิศาล เยาวพงศ์ศิริ.(2550). รักษาเบาหวานและลดน้ำหนักแบบไม่ต้องอด. กรุงเทพฯ : รวมทรรศน์.
สิรภัทร พงศ์ปิยะไพบูลย์.(2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน เครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอบางใหญ่ นนทบุรี. วารสารวิชาการโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป เขต 4,19,125-34.
แสงทอง ธีระทองคำ.(2557). ผลของโปรแกรมการเยี่ยมบ้านร่วมกับการติดตามทางโทรศัพท์ต่อพฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพของผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ได้.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 20(3), 356-371.
อนุชา วรหาญ.(2561). การพัฒนารูปแบบการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรงพยาบาลเลาขวัญ.วารสารศูนย์อนามัยที่ 9, 12(27), 5-22.
อุดมพร พรหมดวง.(2558). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลบ้านตาขุน.วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(3), 475-486.
Beckie TA.(1989) Supportive-educative telephone program: impact on knowledge and anxiety after coronary artery bypass graft surgery. Heart Lung ;18:46-55.Gulabani M, John M, Isaac R.(2008). Knowledge of diabetes, itstreatment and complications amongst diabetic patients in a tertiary care hospital. IJCM. ;33(3):204
Kinsella A.(2000). Telehealth and home care nursing. Home Healthcare Nurse. ;15:796-97.
Siripitayakunkit A, Hanucharurnkul, S., Melkus, G. D.E., Vorapongsathorn, T., Rattarasarn, C., & Arpanantikul,M.(2008). Factors contributing to integrating lifestyle in Thaiwomen with type 2 diabetes. Pac Rim Int J Nurs Res Thai.;12(3):166-78.
World Health Organization.(2016) Global report on diabetes [Internet]. 2016 [cited 2018 Jul 1]. Available from: http://apps.who.int/iris/bitstream/10665/204871/ 1/9789241565257_eng.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.