การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลแกดำ จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ทารกแรกเกิด, พัฒนาแนวปฏิบัติ, ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด และเพื่อศึกษาผลการใช้แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด โรงพยาบาลแกดำ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2) พัฒนารูปแบบการดูแล 3) ทดลองการใช้รูปแบบ 4) ประเมินผล กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพที่มาปฏิบัติงานที่ตึกคลอด จำนวน 6 ทารกแรกเกิดและมารดาหลังคลอด ที่มาคลอดในโรงพยาบาลแกดำ จำนวน 40 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลมารดาและทารก, แบบประเมินการปฏิบัติตามแนวทางการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แนวปฏิบัติ แบบวัดความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของมารดา การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย 1) ระยะวิเคราะห์สถานการณ์การประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลแกดำ พบว่าการปฏิบัติการพยาบาลไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน ไม่ต่อเนื่องยั่งยืน ขาดการส่งเสริมให้มารดามีส่วนร่วม 2) ระยะพัฒนารูปแบบ ได้ดำเนินการจัดทีมพัฒนารูปแบบการแนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลแกดำ ปรับปรุงแนวทางปฏิบัติ อบรมพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการพยาบาล 3)ระยะทดลองใช้รูปแบบ นำรูปแบบไปใช้ในตึกผู้ป่วยทารกแรกเกิด 4)ระยะประเมินผล พบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด มีทารกตัวเหลืองลดลงในมารดาตั้งครรภ์แรก มีการดำเนินการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติได้ ร้อยละ 95.0 ดังนั้นแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้ประเมินภาวะตัวเหลืองได้ถูกต้องและรวดเร็ว เหมาะสำหรับนำแนวปฏิบัติไปใช้ในหน่วยงานที่ดูแลทารกแรกเกิด
References
กินรี ชัยสวรรค์ และธนพร แย้มสุดา. (2561). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, วารสารแพทย์นาวี ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา
www.northbkk.ac.th/research_/?news=research&id=000571 สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564.
จันทมาศ เสาวรส. (2562). ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด:ปัญหาที่ไม่ควรมองข้ามราชาวดีสารวิทยาลัยบรมราชนนีสุรินทร์ ระบบออนไลน์. แหล่งที่มา
https://he01.tci-thaijo.org/index.php/bansurin/article/view/195104 สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564.
ณัฎฐิยา ประวันเนา, ผกาพรรณ เกียรติชูสกุล, จรรยา จิระประดิษฐา, และชาญยุทธ์ ศุภคุณภิญโญ.(2555).พัฒนาการทางระบบประสาทและการได้ยินของทารกที่มีภาวะตัวเหลืองรุนแรงเมื่อแรกเกิดที่ระดับบิริรูบินมากว่า 20 mg/dl ที่เกิดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์. วารสารกุมารเวชศาสตร์ ,51, 120-126.
นัยรัตน์ ดุลยวิจักษณ์, พนิดา อยู่ชัชวาล และชมสรรค กองอรรถ. (2563). ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนและ การมีส่วนร่วมของมารดาต่อการปฏิบัติบทบาทมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดครบกำหนดได้รับการส่องไฟโรงพยาบาลบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร,
(3),92-103.
จันทรมาศ เสาวรส.(2562). ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด:ปัญหาที่ไม่ควรมองข้าม. ราชาวดีสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีสุรินทร์, 9(1), 99-109.
ผกาพรรณ เกียรติชูสกุล. (2552). ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด. ใน: สุขชาติ เกิดผล, อวยพร ปะนะมณฑา,
จามรี ธีรตกุลพิศาล, ชาญชัย พานทองวิริยะกุล, ณรงค์ เอื้อวิชญาแพทย์, จรรยา จิระประดิษฐา.ขอนแก่น: แอนนาออฟเซตการพิมพ์.
มณฑาทิพย์ ยังมี, วัชราวรรณ จันทร์แก้ว, จิราภรณ์ เหมลา, ศิราณี อิ่มน้ำขาว. (2565). การพัฒนาและประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโรงพยาบาลยโสธร. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 5(3), 58-68.
รำไพ ศรีเนตร. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วย Acute gastroenteritis ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลยโสธร. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 5(4),189-194.
ศรีศุภลักษณ์ สิงคาลวณิช (บก.). (2551). ปัญหาโรคเด็กที่พบบ่อย 2. กรุงเทพฯ: สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี.
สุชีรา แก้วประไพ, สุทธิพรรณ กิจเจริญ และจิราพร สิทธิถาวร.(2559). การประเมินแนวปฏิบัติในการประเมินภาวะตัวเหลืองในทารก แรกเกิดที่โรงพยาบาลคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 24(1),139-149.
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข.(2552). ยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดและแนวทางการจัดเก็บข้อมูลกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2552. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.
สรายุทธ สุภาพรรณชาติ. (2540). อาการเหลืองในทารกแรกเกิด.ในวันดี วราวิทย์, ประพุทธ ศิริปุณย์,
สุรางค์ เจียมจรรยา.(บก.). ตำรากุมารศาสตร์ฉบับเรียบเรียงใหม่ เล่ม2. กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติกพับลิสซิ่ง.
Boskabadi H, Rakhshanizadeh F, Zakerihamidi M.(2020). Evaluation of Maternal Risk Factors in Neonatal Hyperbilirubinemia. 1;23(2):128-140. PMID: 32061076.
Donabedian. (2003). A. An Introduction to Quality Assurance in Health Care. Oxford University Press, Oxford.
Edmunds J, Miles SC, Fulbrook P. (2011). Tongue-tie and breastfeeding: a review of the literature. Breastfeed Rev 2011;19(1):19-26.
Ketsuwan S, Baiya N, Maethacharoenpom K, Puapornpong P. (2017). The Association of Breastfeeding Practices with Neonatal Jaundice. J Med Assoc Thai. 2017 Mar;100(3):255-61. PMID: 29911780.
Liebert, M. A. (2010). Guidelines for Management of Jaundice in the Breastfeeding Infant Equal to or Greater Than 35 Weeks’ Gestation. Breastfeeding Medicine, 5 (2), 87-93.
Lowa Model Collaborative.(2017). lowa model of evidence-based practice: Revisions and validation. Worldviews on Evidence-Based Nursing,2017; 14(3), 175-182. doi:10.1111/wwn.12223
The National Institute for Health and Care. (2012). NICE guide line jaundice Internet]. 2012.[2018 Nov 20] Available from: www.evidence.nhs.uk/topic/jaundice
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.