การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ตึกผู้ป่วยในโรงพยาบาลแกดำ อำเภอแกดำ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ประครองศรี ชินภักดี โรงพยาบาลแกดำ
  • นิภา ไชยดำรงค์ โรงพยาบาลแกดำ
  • พันธิพา จันทร์ศรี โรงพยาบาลแกดำ

คำสำคัญ:

รูปแบบการดูแล, ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด, ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลแกดำ การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ระยะศึกษาสถานการณ์ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 17 ราย และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 16 คน 2) ระยะพัฒนารูปแบบ ทดลองใช้และนำสู่การปฏิบัติในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด จำนวน 36 ราย และทีมสหวิชาชีพ จำนวน 19 คน  และ3) ระยะประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและผลลัพธ์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เชิงคุณภาพเชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดประกอบด้วย มีระบบการประเมินและคัดกรองได้ตั้งแต่เริ่มต้น มีกำหนดเกณฑ์การประเมินคัดกรองให้ชัดเจน เกณฑ์การติดตามประเมินอาการผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง มีแนวทางปฏิบัติ เกณฑ์รับรักษา เกณฑ์ส่งต่อผู้ป่วย ระบบตรวจทางห้องปฏิบัติการแบบเร่งด่วนและรอผลตรวจก่อนส่งรับรักษา กำหนดให้ผู้ป่วยได้สารน้ำครบก่อนส่งรับรักษา การรักษาการติดเชื้อและฟื้นฟูระบบไหลเวียนอย่างรวดเร็วตาม Sepsis Bundles กำหนดเวลาการรายงานผลตรวจห้องปฏิบัติการค่าวิกฤต การรายงานแพทย์โดยใช้ SBAR มีคู่มือปฏิบัติการพยาบาล การทำงานเป็นทีมสหวิชาชีพ การตรวจสอบเวชระเบียน การนิเทศข้างเตียง ขณะรับส่งเวร กำหนดเกณฑ์ทบทวนการดูแลผู้ป่วยในรายที่มีอาการทรุดลงส่งต่อหรือเสียชีวิต  การประเมินสมรรถนะของพยาบาล อบรมฟื้นฟูวิชาการ

หลังการใช้รูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดพบว่า 1)อัตราการเจาะเลือดส่งเพาะเชื้อ (Hemoculture) ก่อนให้ยาปฏิชีวนะ ร้อยละ 97.22 2)อัตราการได้รับยาปฏิชีวนะภายใน 1 ชั่วโมงหลังการวินิจฉัย ร้อยละ 100 3) อัตราการได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำอย่างน้อย 30 ml/Kg ใน 1 ชั่วโมงแรก( กรณีไม่มีข้อห้ามในการให้สารน้ำ) ร้อยละ 94.44 4) อัตราการส่งไปรับการรักษาต่อ ร้อยละ 25 5) อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงที่ลดลง เป็นร้อยละ 13.88  6) อัตราการเสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดลดลงโดยไม่มีผู้เสียชีวิต

References

กนก พิพัฒนเวช. (2551)ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่มี sepsisในโรงพยาบาลอุตรดิตถ์.วารสารวัณโรค โรคทรวงอกและบาบัดวิกฤต 2551; 29, 135-144

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง .(2565) https://hdcservicemoph.go.th/hdc/main/index.php

กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2564).KPI อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง แผนการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. .https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/08/PDF-File_3.pdf

จิราพร ศรีพิบูลย์บัติ, ธิติพร เที่ยงแป้นวันดีและ แย้มจันทร์ฉาย(2563). ผลลัพธ์ของการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดในแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน.วารสารแพทย์เขต 4-5, 39(4),638-646.

นวลขนิษฐ์ ลิขิตลือชา และคณะ.(2561). บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพ. ปทุมธานี:บริษัทสำนักพิมพ์สื่อตะวัน จำกัด.

ประกาศิต เทนสิทธิ์ และคณะ. (2563).ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิตเร็วและช้าในผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 35(1), 101-109.

ประไพพรรณ ฉายรัตน์ และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล.(2560). ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 224-231.

พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์ ,วนิดา เคนทองดี และสุพัตรา กมลรัตน์.(2561).การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย.วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ ,30(1), 207-215.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย.(2558). การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และSeptic Shock(ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพ http://www.ayhosp.go.th/ayh/images/HA/miniconf/5.pdf

Bone, R. C., Balk, R. A., Cerra, F. B.,Dellinger, R. P., Fein, A. M., Knaus, W.A., Sibbald, W. J.(1992). Definitions for sepsisand organ failure and guidelines for the use of innovative therapies in sepsis. Chest, 101(6), 1644-55.

Castellanos-Ortega et al. (2010).Impact of the Survival sepsis campaign protocols on Hospital length of stay and mortality in septic shock patients:result of a three-year follow–up quasiexperimental study. Crit Care Med, 38(4), 1036-1043.

Dellinger, R. P.,Levy, M. M., Rhodes,A., Annane, D., Gerlach, H., Opal, S. M.,Moreno,R.(2012)Surviving Sepsis Campaign international guidelines for management of severe Sepsis and septic shock 2012. Intensive Care Med, 41(2), 165-228.

Glickman, S. W., Cairns, C. B., Otero,R. M., Woods, C. W., Tsalik, E. L.,Langley, R. J.(2021)

Disease progression in hemodynamicallystable patients presenting to the emergency department with sepsis. Acad Emerg Med, 17(4),383-90.

Kemmis S, Mc Taggart R .(1998). The action research planner. Victoria, Australia: Deakin University Press.

Makic, M. B. F. & Bridges, E.(2018) Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines And Definitions. AJN, 118(2), 34-39

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01