การพยาบาลผู้ป่วยเด็กโรคลมชักชนิดดื้อต่อการรักษาด้วยยาที่มีปัญหาพัฒนาการช้า : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ฤดีพร เพียสุพรรณ์ โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

โรคลมชักในเด็ก, บทบาทพยาบาล, พัฒนาการช้า, โรคลมชัก

บทคัดย่อ

โรคลมชักในเด็กเป็นความผิดปกติทางระบบประสาท เมื่อมีสิ่งกระตุ้นอาจชักซ้ำ และหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยและครอบครัว เนื่องจากเมื่อมีอาการชักฉับพลัน  เด็กไม่สามารถควบคุมระดับความรู้สึกตัว และมีการเคลื่อนไหวผิดปกติ การชักจึงส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของเด็ก  โดยเด็กที่ชักประจำ พบว่าการทำหน้าที่ของสมองเสื่อมถอยลง ส่งผลต่อพัฒนาการ และการรักษาโรคลมชักใช้เวลานานมีค่าใช้จ่ายต่อรายสูง การให้การพยาบาลที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพตั้งแต่การประเมินคัดกรองที่เหมาะสมจะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย ลดภาวะแทรกซ้อนและมีโอกาสกลับไปเป็นปกติได้มากขึ้น กรณีศึกษาผู้ป่วยเด็กโรคลมชักชนิดดื้อต่อการรักษาด้วยยาครั้งนี้  ศึกษาเปรียบเทียบ 2 ราย ที่งานผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูล รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียน จากการสังเกต สัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว วิเคราะห์ข้อมูลพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษา การประเมินภาวะสุขภาพ 11 แบบแผนของกอร์ดอน กำหนดข้อวินิจฉัยและให้การพยาบาลรวมถึงประเมินผลลัพธ์การพยาบาลใน 3 ระยะ ได้แก่ ระยะคัดกรอง ระยะรักษา และวางแผนดูแลฟื้นฟูต่อเนื่องที่บ้าน

ผลการศึกษา กรณีศึกษาที่ 1 ชักเฉพาะที่หลายรูปแบบ กรณีศึกษาที่ 2 ชักแบบเกร็งทั้งตัวทุกวัน กล้ามเนื้ออ่อนแรงมีปัญหาสำลักและติดเชื้อที่ปอดบ่อย ผู้ป่วยทั้ง 2 ราย ชักทุกวัน ใช้ยากันชัก 4 ชนิด มีสมองฝ่อ พัฒนาการช้าทั้งสี่ด้าน เรียนช้าต้องพึ่งพิงผู้ดูแลหลัก เศรษฐานะทางครอบครัวไม่ดี และมาติดตามการรักษาทุก 1 เดือนเพื่อปรับขนาดยา จากกรณีศึกษาจะเห็นว่าพยาบาลเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ในการประเมินและค้นหาปัญหาผู้ป่วยตั้งแต่แรกรับ ทำให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม รวมถึงให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเมื่อเข้าสู่ระยะฟื้นฟูรักษาต่อเนื่องที่บ้าน

References

กลุ่มวิจัยโรคลมชักแบบบูรณาการ. (2556).แนวทางการรักษาโรคลมชักสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปและทีมสหสาขาวิชาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กษมา พุทธิสวัสดิ์.(2560). คู่มือแนวทางการดูแลผู้ป่วยโรคลมชักในเด็กเขตบริการสุขภาพที่ 7. ขอนแก่น:ขอนแก่นการพิมพิ์

กาญจนา อั๋นวงศ์. (2559). แนวทางเวชปฏิบัติในการรักษาโรคลมชักสสำหรับแพทย์.กรุงเทพฯ; สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย.

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2565). พัฒนาการเด็ก. สืบค้นจาก https://www.happyhomeclinic.com/sp02-development.htm

สมศักดิ์ เทียมเก่า และสุณี เลิศสินอุดม. (2555). ถาม – ตอบปัญหาโรคลมชักฉบับสำหรับบุคลากรทางการแพทย์. ขอนแก่น: คลังนานาวิทยา.

สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย. (2549). ตำราการตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง. กนกวรรณ บุญญพิสิฏฐ์ (บรรณาธิการ). กรุงเทพฯ: โฮลิสติก พับลิซซิ่ง.

Information Technology Group in Khonkaen Hospital.SMA Patient Statistics in Khonkaen Hospital; 2563-2565.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01