ผลของชาใบกัญชาต่อคุณภาพการนอนหลับในอาสาสมัครที่มีปัญหาการนอนหลับ

ผู้แต่ง

  • โฉมตรู่ ภูหนองโอง โรงพยาบาลเขาสวนกวาง
  • ฐาประณีย์ หงษ์พิมพ์ โรงพยาบาลเขาสวนกวาง
  • ทวีศักดิ์ มโนมยิทธิกาญจน์ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์
  • เขมกร วงศ์กาฬสินธุ์ โรงพยาบาลเขาสวนกวาง
  • นราธิป นพวิญญูวงศ์ โรงพยาบาลเขาสวนกวาง
  • ศศิธร เอื้ออนันต์ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

กัญชา, ชาใบกัญชา, คุณภาพการนอนหลับ

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบหนึ่งกลุ่ม วัดผลก่อนหลัง เพื่อศึกษาผลของชาใบกัญชาต่อคุณภาพการนอนหลับในอาสาสมัครที่เป็นบุคลากรหน่วยงานทางการแพทย์และสาธารณสุขที่มีปัญหาการนอนหลับ ในอำเภอเขาสวนกวาง จังหวัดขอนแก่น โดยอาสาสมัครที่ผ่านเกณฑ์คัดเลือกจำนวน 44 คน เข้าร่วมการทดลองดื่มชาใบกัญชาก่อนนอนประมาณ 30 นาที สัปดาห์ละ 1 วัน โดยในสัปดาห์ที่หนึ่ง ดื่มชาใบกัญชา 2 ใบ (น้ำหนักใบชาแห้ง 0.72-1.43 กรัม), สัปดาห์ที่  2  ดื่มชาใบกัญชา 4 ใบ (น้ำหนักใบชาแห้ง 1.44-2.15 กรัม) และในสัปดาห์ที่ 3ดื่มชาใบกัญชา 6 ใบ (น้ำหนักใบชาแห้ง 2.16-2.87 กรัม) ใช้แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับพิตตส์เบิร์กฉบับภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการประเมินการนอนหลับ ทำการเปรียบเทียบผลลัพธ์หลักคือ คุณภาพการนอนหลับโดยรวม (Global PSQI score) ก่อนและหลังเข้าร่วมการทดลองด้วย Paired sample T-test ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคุณภาพการนอนหลับโดยรวม 1 เดือนก่อนการทดลอง (8.09±0.38) และหลังการทดลอง (5.59±0.40) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ผลต่างค่าเฉลี่ย = 2.5±0.56, 95%CI: 1.37-3.63, P-value = 0.0001) ผลต่างค่าเฉลี่ยบ่งชี้ว่าชาใบกัญชาเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของอาสาสมัคร

References

กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2564). คู่มือชุดความรู้สุขภาพกัญชาทางการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทบียอนด์พับลิสซิ่งจำกัด.

ชัย สมรภูมิ, เชาวณี ผิวจันทร์, อนุรัตน์ พรหมฤทธิ์. (2566). ปลดล็อคกัญชา: กฎหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 285-302.

ธนพล นิ่มสมบูรณ์. (2563). พิษวิทยาของกัญชา. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 30(2), 125-36.Babson KA, Sottile J, Morabito D. (2017). Cannabis, cannabinoids, and sleep: a review of the literature. Current Psychiatry Reports, 19(4), 1-2.

นิจวรรณ เกิดเจริญ, ชัยพร วิศิษฐ์พงศ์อารีย์, ชัญญวัชร เผดิมพรร่มเย็น, ชิติพัทธ์ เจริญนพคุณศรี, ณัฏฐวุฒิ สิทธิศักดิ์, นทีธร อิ่มเอิบปฐม, สรรเสริญ ศิริพัฒนาภรณ์, สันติ เกียรติสุขเจริญ. (2563). ปัจจัยด้านการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลวิชาชีพประจำหอผู้ป่วยใน คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง, 64(1), 41-58.

สถาบันกัญชาทางการแพทย์. (2565). ใช้กัญชาอย่างเข้าใจรับรู้ปรับใช้เพื่อสุขภาพที่ดีและปลอดภัย. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

สรเพชร มาสุด, ธนวัฒน์ ทองจีน, กรวิชญ์ สมคิด, ภาณุวิชญ์ พูลทรัพย์, ปภาวดี สุฉันทบุตร, กชพร โชติมโนธรรม, ทิพวรรณ ปรักมานนท์, ราตรี พระนคร, วรรณวิภา พินธะ, พิเชฐ บัญญัติ, ศิริวรรณ ชัยสมบูรณ์พันธ์. (2564). ปริมาณสารแคนนาบินอยด์ในระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันของใบกัญชาพันธุ์ไทย. วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, 63(3), 524-40.

สุรศักดิ์ อิ่มเอี่ยม, ศรัณณัฏฐ์ แสนเสนาะ, ประเสริฐ สุขเจริญ, ฉัตรชัย สวัสดิไชย. (2562). กัญชา (Cannabis). วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 36(4), 356-62.

สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, ณัฏฐ์วรัตถ์ อเนกวิทย์. (2562). การใช้สารสกัดกัญชาสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพจิต. วารสารกรมการแพทย์, 44(1), 7-9.

Iseger TA, Bossong MG. (2015). A systematic review of the antipsychotic properties of cannabidiol in humans. Schizophrenia Research, 162(1-3), 153-61.

MacCallum CA, Russo EB. (2018). Practical considerations in medical cannabis administration and dosing. European Journal of Internal Medicine, 49, 12-9.

Miranda A, Peek E, Ancoli-Israel S, Young J, Perry W, Minassian A. (2023). The role of cannabis and the endocannabinoid system in sleep regulation and cognition: a review of human and animal studies. Behav Sleep Med, 1-17.

Thichumpa W, Howteerakul N, Suwannapong N, Tantrakul V. (2018). Sleep quality and associated factors among the elderly living in rural Chiang Rai, Northern Thailand. Epidemiology and Health, 40, e2018018, doi: 10.4178/epih.e2018018.

Walsh JH, Maddison KJ, Rankin T, Murray K, McArdle N, Ree MJ, Hillman DR, Eastwood PR. (2021). Treating insomnia symptoms with medicinal cannabis: a randomized, crossover trial of the efficacy of a cannabinoid medicine compared with placebo. Sleep, 44(11), zsab149.

Winiger EA, Hitchcock LN, Bryan AD, Bidwell LC. (2021). Cannabis use and sleep: expectations, outcomes, and the role of age. Addictive Behaviors, 112, 106642.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01