การพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด: กรณีศึกษา 2 ราย
คำสำคัญ:
ภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด, การพยาบาล, กรณีศึกษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษา 2 คน ในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
วิธีการศึกษา : การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ศึกษาผู้ป่วยภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษา 2 รายที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยใน โรงพยาบาลกันทรวิชัย ดำเนินการศึกษาระหว่าง 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 เมษายน 2566 เครื่องมือที่ใช้คือ การสัมภาษณ์ สังเกต และเวชระเบียนผู้ป่วย การค้นคว้าความรู้ทางวิชาการนำมาวางแผนการดูแลตามกระบวนการพยาบาล ประเมินผู้ป่วยตามแบบแผนสุขภาพของกอร์ดอน และกำหนดข้อวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วย ตามแนวทางของสมาคมวินิจฉัยการพยาบาลแห่งอเมริกา
ผลการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบผู้ป่วย 2 รายที่เกิดภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด กรณีศึกษารายที่ 1 ชายอายุ 63 ปี มีโรคประจำตัว DM, Old TB Pleuritis, Paraplegia, Bedridden แพทย์วินิจฉัย Pneumonia with septic shock กรณีศึกษารายที่ 2 ชายอายุ 86 ปี แพทย์วินิจฉัย Pneumonia with septic shock มีโรคประจำตัว CKD stage 3b, BPH, Gout กรณีศึกษาทั้ง 2 รายมีความคล้ายคลึงของอาการแสดงนำที่ชัดเจนคือ มีไข้สูง ไอมีเสมหะ และมีปัญหาในระยะวิกฤติที่เหมือนกันคือช็อกจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ปัญหาที่ต่างกันคือ กรณีศึกษาที่ 1 ได้รับการรักษาและดูแลพยาบาลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินทำให้ได้รับการรักษาตาม sepsis protocol พักรักษาตัวในหอผู้ป่วย 11 วัน กรณีศึกษาที่ 2 พบมี ภาวะแทรกซ้อน Thrombocytopenia, Acute kidney injury ไม่ได้ได้รับการรักษาและดูแลพยาบาลตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดจากห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน แต่เมื่อเข้ามารักษาในหอผู้ป่วยได้รับการ เฝ้าระวังตาม sepsis protocol อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องทันทีที่เข้ารับการรักษา โดยกรณีที่ 1 ใช้เวลาในการดูแลฟื้นฟูนานกว่าเนื่องจากมีโรคเดิมคือ DM, Paraplegia, Bedridden ทั้ง 2 กรณี ผู้ป่วยปลอดภัยจากภาวะช็อคและภาวะแทรกซ้อนไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต ให้การฟื้นฟูสภาพและจำหน่ายกลับบ้าน
สรุป : การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะช็อคจากการติดเชื้อในกระแสเลือด ต้องมีการวินิจฉัยถูกต้องรวดเร็ว ให้การดูแลรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วนและครบถ้วนตามมาตรฐานประเด็นต่างๆที่สำคัญตาม Safety goal ดังนั้นพยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้ทักษะ ความชำนาญที่เป็นพิเศษเพื่อประเมินผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็ว ถูกต้องและแม่นยำ เฝ้าระวังติดตามอาการแสดงและอาการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
References
กระทรวงสาธารณสุข: อัตรา ตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง ชนิด community-acquired ปี 2564-2566 [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: http://healthkpi.moph.go.th/kpi2/kpi/ index2/?kpi_year=2564,2565,2566
ฑิตยา วาระนัง. (2562). ผลลัพธ์ของการใช้แนว ปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต โรงพยาบาลฝาง จังหวัดเชียงใหม่. เชียงรายเวชสาร, 11(1), 1-8.
ทิฏฐิ ศรีวิลัย และ วิมล อ่อนเส็ง.(2560). ภาวะช็อกจากการติดเชื้อ: ความท้าทายของพยาบาลฉุกเฉิน. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีอุตรดิตถ์, 9(2), 152-162.
ปานจิต นามพลกรัง และสิริลักษณ์ สุทธรัตนกุล.(2564). การพยาบาลผู้ป่วยช็อกจากการติดเชื้อที่มีภาวการณ์หายใจล้มเหลวเฉียบพลันและไตวายเฉียบพลัน. วารสารมหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล, 34(2), 1-15.
โรงพยาบาลกันทรวิชัย.(2566). สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ประจำปี 2564-2566. งานเวชระเบียน และสถิติโรงพยาบาลกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม.
สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม. HDC มหาสารคาม [อินเทอร์เน็ต]. [เข้าถึงเมื่อ 10 มกราคม 2566]. เข้าถึงได้จาก: hdc.moph.go.th/hdc/main/index.php
Mohr, N. M., Wessman, B. T., Bassin, B., Elie-Turenne, M., Ellender, T., Emlet, L. L…, Rudy, S. (2020). Boarding of critically Ill patients in the emergency department. Journal of the American College of Emergency Physicians Open, 1, 423-431. Doi: 10.1002/emp2.12107
Thompson, K., Venkatesh, B., & Finfer, S.(2019). Sepsis and septic shock: Current approaches to management. International Medicine Journal, 49, 160-170.
Seymour, C. W., Gesten, F., Prescott, H. C., Friedrich, M. E., Iwashyna, T. J., Phillips, G. S…., Levy, M. M. (2017). Time To treatment and mortality during Mandated emergency care for sepsis.New England Journal of Medicine, 376(23),2235-2244.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.