การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • วรลักษณ์ ยศพล โรงพยาบาลนาเชือก
  • กอบกุล อาปะมะกา โรงพยาบาลนาเชือก
  • สุมาลี เจริญบุญ โรงพยาบาลนาเชือก

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม, เด็กก่อนวัยเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน โดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองกุง อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ แบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1)วิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา 2)พัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน 3)ทดลองการใช้รูปแบบ 4)ประเมินผล กลุ่มเป้าหมายหลักในการศึกษา คือ กลุ่มผู้ปกครองของเด็กก่อนวัยเรียนที่ จำนวน 60 คน  และกลุ่มผู้พัฒนาจำนวน 30 คน เครื่องมือรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป, แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน, แบบประเมินเจตคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียน, แบบประเมินการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน และแบบตรวจสภาวะสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 83 อยู่ในกลุ่มอายุ 51-60 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับประถมศึกษา มีอาชีพเกษตรกรรม ด้านความสัมพันธ์กับเด็กส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับเด็กเป็นปู่ ย่า ตา ยาย ด้านการดื่มนมในขวดส่วนใหญ่ยังให้เด็กดื่มนมในขวด และส่วนใหญ่ให้เด็กแปรงฟันเอง  ผลการประเมินความรู้เกี่ยวกับทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ก่อนการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 6.83 คะแนน และหลังการให้ความรู้มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 9.27 คะแนน ผลการประเมินเจตคติเกี่ยวกับทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง พบว่า หลังการพัฒนามีคะแนนเพิ่มสูงขึ้น อยู่ในระดับดีมาก ( = 2.48 , SD = 0.77)  ผลการประเมินการปฏิบัติในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ปกครอง พบว่า หลังการพัฒนามีคะแนนระดับดีมาก คือการให้เด็กแปรงฟันในตอนเช้าก่อนมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

References

ทรงวุฒิ ดวงรัตนพันธ์ และคณะ.(2549).การแปรงฟันกับการป้องกันฟันผุ. วิทยาสารทันตสาธารณสุข.

พิเชฐ จันปุ่ม และคณะ.(2556). คราบจุลินทรีย์สะสมปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคฟันผุในกลุ่มเด็กที่เลี้ยงด้วยนมแม่. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วิไลวรรณ เวียงดินดา.(2564).การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กก่อนวัยเรียนโดยการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตาบลขามป้อม อำเภอพระยืน จังหวัดขอนแก่น.วารสารสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น, 3(1), 117– 130.

สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2561). รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากแห่งชาติ ครั้งที่8 ประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี : บริษัท สามเจริญพานิชย์ (กรุงเทพฯ) จำกัด.

หยาดฤทัย โก้สกุล.(2562). คู่มือดูแลสุขภาพฟันและช่องปากเจ้าตัวเล็ก ประกอบหนังสือนิทานภาพ ชุด ฟ ฟัน สนุกจัง. กรุงเทพ ฯ : บริษัทแปลน พริ้นติ้ง จำกัด.

อรรถวิทย์ ก้อนคำ.(2564). การพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังและส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองเชียงทูน อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีษะเกษ. วิทยานิพนธ์. ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อุฬาริกา โยสิทธิ์. (2558). พฤติกรรมและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลสุขภาพช่องปาก เด็กก่อนวัยเรียนโดยผู้ปกครองของเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01