การพยาบาลผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่มีภาวะช็อค และมีโรคร่วม : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • นันทพร กวางแก้ว โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

การพยาบาล, เลือดออกในระบบทางเดินอาหารส่วนต้น, โรคร่วม

บทคัดย่อ

กรณีศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินของโรค ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล การวางแผนปฏิบัติการพยาบาล และผลลัพธ์การพยาบาลของผู้ป่วยภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนต้นที่มีภาวะช็อคและมีโรคร่วม เข้ารับการรักษาเริ่มแรกที่งานคัดกรองผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น ระหว่างเดือนมีนาคม - ธันวาคม 2565 จำนวน 2 ราย โดยการศึกษาข้อมูลผู้ป่วย เอกสารวิชาการที่เกี่ยวข้อง ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญในทีมสุขภาพ ใช้แบบประเมินภาวะสุขภาพของกอร์ดอนในการประเมินภาวะสุขภาพของผู้ป่วย กำหนดข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลตามระยะเวลาการรักษาพยาบาล ผลการศึกษาพบว่า มีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลดังนี้ ระยะแรกรับ 1) มีภาวะช็อคจากการเสียเลือดในทางเดินอาหารส่วนต้น ระยะนอนรักษา 2) เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนจากภาวะช็อค  3) เสี่ยงต่อภาวะเนื้อเยื่อพร่องออกซิเจนจากประสิทธิภาพการทำงานของปอดลดลง 4) มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับสภาพของโรค และแนวทางการรักษา 5) มีภาวะไม่สมดุลของเกลือแร่ในร่างกายเนื่องจากการสูญเสียเลือด  6) ติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ 7) ความสามารถในการดูแลตนเองลดลงเนื่องจากระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลงและอ่อนเพลีย  ระยะติดตามการรักษา 8) เสี่ยงต่อภาวะ Re-Bleeding เนื่องจากพยาธิสภาพของโรคและพฤติกรรมการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสม 9) ความคงทนในการทำกิจกรรมลดลงจากภาวะโลหิตจาง และ 10) เสี่ยงต่อการแพร่กระจายเชื้อโควิด19 สู่บุคคลในครอบครัว

ดังนั้นพยาบาลจึงมีบทบาทสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ป่วย ต้องมีความรู้ความสามารถในการประเมินระดับความรุนแรง มีความถูกต้องแม่นยำในการจำแนกประเภทผู้ป่วย มีความไวต่อสัญญาณอันตราย  สามารถวินิจฉัยปัญหา วางแผนให้การพยาบาลที่เหมาะสม และมีการติดตามการรักษา จนกระทั่งผู้ป่วยปลอดภัย มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม ไม่มีภาวะเลือดออกซ้ำ

References

จันทราภา ศรีสวัสดิ์, และคณะ. (2551). อายุรศาสตร์ฉุกเฉิน.กรุงเทพ.นำอักษรการพิมพ์

พรศิริ พันธสี. (2561). กระบวนการพยาบาล&แบบแผนสุขภาพ: การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. (พิมพ์ครั้งที่21). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด พิมพ์อักษร.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). รายงานแบบประเมินตนเอง ตอนที่ IV ผลการดําเนินงานขององค์กร (ตัวชี้วัดคุณภาพองค์กร). โรงพยาบาลขอนแก่น.

อมฤต ตาลเศวต, และคณะ.(2556). ศัลยศาสตร์วชิรพยาบาล. กรุงเทพฯ: โฆษิตการพิมพ์.

อภิชาต พิริยการนนท์ (2554). ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารส่วนบนUpper Gastrointestinal Bleeding. ใน : จักรพันธ์ ปรีดานนท์, บรรณาธิการ. Common surgical problems in general practice. ขอนแก่น : ขอนแก่นการพิมพ์.

Barkun AN, Bardou M, Kuipers EJ, et al (2010). International concensus recommendations of the management of patients with nonvariceal upper gastrointestinal bleeding. Ann Intern Med.

Van Leerdam ME, Vreeburg EM, Rauws EA, et al (2003). Acute upper GI bleeding: did anything change? Time trend analysis of incidence and outcome of acute upper GI bleeding between 1993/1994 and 2000. Am J Gastroenterol.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01