ผลของการพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการความปวดในหญิงหลังคลอด ที่ได้รับการผ่าตัดทำหมันทางหน้าท้อง โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ พูลศิริ โรงพยาบาลเชียงยืน
  • อัจฉรา วรรณชารี โรงพยาบาลเชียงยืน
  • นุสรา ธนเหมะธุลิน โรงพยาบาลเชียงยืน

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติ, การจัดการความปวด, การผ่าตัดทำหมันทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

การจัดการความปวดหลังผ่าตัดทำหมันหลังคลอดอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้หญิงหลังคลอดสามารถฟื้นฟูสภาพ ลุกขึ้นจากเตียงโดยเร็ว (Early Ambulation) สามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เป็นปกติ ลดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลแนวปฏิบัติการจัดการความปวดในหญิงหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดทำหมันทางหน้าท้อง โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนาแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือหญิงหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดทำหมัน 43 ราย ระยะที่ 2 การศึกษาผลของแนวปฏิบัติ กลุ่มตัวอย่างคือ หญิงหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดทำหมัน จำนวน 36 ราย และพยาบาลวิชาชีพผู้ใช้แนวปฏิบัติ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการผ่าตัด และข้อมูลส่วนบุคคล วัดระดับความปวดโดยใช้มาตรวัดแบบตัวเลข (Numeric rating scale), แบบประเมินความพึงพอใจ , แบบบันทึกการปฏิบัติตามขั้นตอนการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ดำเนินการวิจัยตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564-30 กันยายน 2566  วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (T-test)

ผลการศึกษาพบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความปวดหลังผ่าตัด ระหว่างกลุ่มก่อนและหลังที่ใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวด แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) ระดับความพึงพอใจของหญิงหลังคลอด และพยาบาลผู้ใช้แนวปฏิบัติ มากกว่าก่อนใช้แนวปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001) และพยาบาลสามารถปฏิบัติได้ตามแนวทางร้อยละ 93.25

ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป สามารถนำแนวปฏิบัตินี้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการความปวด หลังผ่าตัดอื่นๆ เช่น การผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง ทั้งนี้การจัดการความปวด ทั้งนี้ผู้วิจัยต้องคำนึงถึงชนิดของการผ่าตัด และวิธีการระงับความรู้สึกด้วย

References

งานเวชระเบียนโรงพยาบาลเชียงยืน. (2565). สถิติการผ่าตัดทำหมันทางหน้าท้องหญิงหลังคลอด. โรงพยาบาลเชียงยืน.

จุฑารัตน์ สว่างชัย และคณะ. (2562 ). การจัดการความปวดแบบผสมผสาน: การตั้งเป้าหมายระดับความปวดหลังผ่าตัด. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์, 11(2), 161-171.

จงลักษ์ รสสุขุมาลชาติ และพนารัตน์ เจน. (2564). การพัฒนาแนวทางการจัดการความปวดสำหรับพยาบาลในโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช. เชียงรายเวชสาร, 13(1), 182-199.

ณภัทร ไวปุรินทะ. (2562). การจัดการความปวดหลังผ่าตัดในสถาบันบำราศนราดูร. วารสารสถาบันบำราศนราดูร, 12 (1), 1-10.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

รังสรรค์ เดชนันทพิพัฒน์. (2563). การทำหมันหญิง (Tubal sterilization). สูติศาสตร์ล้านนา. Available from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/topic-review/6272/

ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด. กรุงเทพฯ : ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย

ลำดวน มีภาพ และคณะ. (2560). แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดแยบพลันในผู้ป่วยวิกฤต หอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(6), 561-570.

วัชรี มุกด์ธนะอนันต์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด.

วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(2), 163-171.

สายสมร ศักดาศรี. (2565). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หอผู้ป่วยนรีเวช โรงพยาบาลน่าน. น่าน: โรงพยาบาลน่าน.

สุพรรษา จิตรสม และคณะ. (2565). การจัดการความปวดหลังผ่าตัดคลอดบุตร. วารสารศูนย์อนามัยที่ 6, 16(3), 868-881.

Admassu WS, Hailekiros AG, Abdissa ZD. (2016). Severity and risk factors of post-operative Pain in University of Gondar Hospital, Northeast Ethiopia. J Anesth Clin Res, 7(10), 1–7.

Mwaka G, Thikra S, Mung’ayi V. (2013). The prevalence of postoperative pain in the first 48 hours following day surgery at a tertiary hospital in Nairobi. Afr Health Sci, 13(3), 768–776.

Soukup, M. (2000). The center for advance nursing practice evidence base practice model. Nursing Clinics of North American,35(2), 301-309.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01