การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง

ผู้แต่ง

  • ปุญณิศา ศรีวาจา โรงพยาบาลกมลาไสย
  • ภิตรดา ไสยบุญฌ์ โรงพยาบาลกมลาไสย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ภาวะติดเชื้ออย่างรุนแรง, การพยาบาล

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ 1)เพื่อพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยที่แพทย์วินิจฉัยมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงจำนวน 60 คน และพยาบาลวิชาชีพจำนวน 46 คน ระหว่างเดือน ตุลาคม 2565 ถึง  เดือน  มีนาคม พ.ศ .2566 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง ระยะที่ 2 พัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงระยะที่ 3 ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการจัดกลุ่มเนื้อหาข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า 1) แนวทางการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรงที่มีอยู่เดิม ยังไม่สามารถใช้ได้อย่างถูกต้อง เนื่องจากพยาบาลขาดความเข้าใจและไม่ตระหนักถึงความรุนแรงของภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง 2)นำสู่การพัฒนา คือ การสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง  เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจ และทักษะการดูแลผู้ป่วย 3) การประเมินผล พบว่า กลุ่มผู้ป่วยหลังทดลองใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล ได้รับการดูแลมากขึ้น และพยาบาลมีการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลได้อย่างถูกต้อง

References

จิรศักดิ์ คามจังหาร. (2566). Sepsis protocol Kalasin Hospital เอกสารการประชุม service plan อายุรกรรม ครั้งที่1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

ดารณี การจุนสี. (2566). แนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสโลหิต เอกสารการประชุม service plan อายุรกรรม ครั้งที่1. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์

บดินทร์ ขวัญนิมิต. (2563). ความก้าวหน้าในการรักษาช็อกจากพิษเหตุติดเชื้อ.ในบดินทร์ ขวัญนิมิต (บรรณาธิการ). การปรึกษาปัญหาผู้ป่วยอายุรกรรมที่พบบ่อย. สงขลา:ชาญเมืองการพิมพ์.

เพ็ญศรี อุ่นสวัสดิพงษ์, และคณะ.(2556). ผลของกิจกรรมพยาบาลมุ่งเป้าในระยะ 6 ชั่วโมงแรกต่อความรุนแรงของอวัยวะล้มเหลวในผู้ป่วยที่มีกลุ่มอาการSepsis. Journal of Nursing Science, 29(2), 102-110.

ฟองคำ ติลกสกุล.(2561).การปฏิบัติการพยาบาลตามหลักฐานเชิงประจักษ์หลักการและวิธีปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: พรี-วันการพิมพ์.

วิไลวรรณ เนื่อง ณ สุวรรณ .(2557).การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง.วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Davies, A., Green, C., & Hutton, J. (2001). Septic shock: a European Estimate of the Burden of Disease in ICU. Intensive Care Medicine, 27(2), 284.

Dellinger, R.P., Levy, M.M., Rhodes, A., Annane, D., Gerlach, H., Opal, S.M., & et al (2013). Surviving Sepsis Campaign: International Guidelines for Management of Septic shock and Septic Shock. Critical Care Medicine, 4(2), 580-637.

Moss, R.L., Musemeche, C.A., & Kosloske, A.M. (1996). Necrotizing Fasciitis in Children. Prompt Recognition and Aggressive Therapy Improve Survival. Pediatric Surgery, 31, 1142-1146.

Rivers, E.P., & Ahrens, T. (2008). Improving Outcomes for Septic shock and Septic Shock: Tools for Early Identification of at-Risk Patients and Treatment Protocol Implementation. Critical Care Clinic, 24(3), 1–47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-01