ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อชะลอไตเสื่อม ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
คำสำคัญ:
การจัดการตนเอง, การสนทนาสร้างแรงจูงใจ, ชะลอไตเสื่อมบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental research) แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง (The One Group Pretest - Posttest Design) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสนทนาสร้างแรงจูงใจเพื่อชะลอไตเสื่อมในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีไตเสื่อมระยะที่ 3 ที่มารับบริการที่โรงพยาบาลกมลาไสย เดือนกุมภาพันธ์ 2566 ถึง เดือนสิงหาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จำนวน 30 คน ได้รับโปรแกรมการจัดการตนเอง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยแบบทดสอบความรู้โรคไตวายเรื้อรัง แบบประเมินการจัดการพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อชะลอไตเสื่อม และแบบประเมินผลลัพธ์ทางคลินิก อัตราการกรองของไต (eGFR) ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) ความดันโลหิตSystolic ความดันโลหิตDiastolic วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมานในการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลลัพธ์ที่สนใจก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมด้วยสถิติ Paired t-test กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 60.00 อายุเฉลี่ย 58.30 ปี เป็นโรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิต ร้อยละ 86.67 หลังดำเนินการกลุ่มตัวอย่างมีความ รู้โรคไตเรื้อรังและพฤติกรรมการจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยอัตราการกรองของไต (eGFR) ค่าน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร (FBS) ค่าน้ำตาลเฉลี่ยสะสม (HbA1C) ความดันโลหิต Systolic และความดันโลหิต Diastolic หลังดำเนินการลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
References
จันจิรา หินขาว, ขนิตฐา หาญประสิทธิ์คำ และสุนทรี เจียรวิทยกิจ. ( 2562). ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองร่วมกับการสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ เพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มีความเสื่อมของไตระยะที่ 3.วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้าจันทบุรี, 30(2), 185-210.
จุฑามาศ เทียนสะอาด และนิโรบล กนกสุนทรรัตน์. (2559). การสัมภาษณ์เพื่อสร้างแรงจูงใจ แนวคิด และการประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง. รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(3), 223-232.
รัตนาภรณ์ จีระวัฒนะ,และอภิญญา ศิริพิทยาคุณกิจ.(2559). การพัฒนาความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานที่กลัวภาวะน้ำตาลต่ำในเลือด จากการฉีดอินซูลิน: กรณีศึกษา.รามาธิบดีพยาบาลสาร, 22(3), 233-246.
วรวรรณ ชัยลิมปมนตรี และสุรศักดิ์ กันตชูเวสศิริ. (2559). ตำราโรคไตเรื้อรัง. กรุงเทพฯ: เท็กซ์แอนด์ เจอร์นัลพับลิเคชั่น.
วรางคณา พิชัยวงศ์. (2558). โรคไตจากเบาหวาน. วารสารกรมการแพทย์, 40(5), 19-24.
ศรีเพ็ญ สวัสดิมงคล. (2564). รายงานประจำปี2565 ของสำนักโรคไม่ติดต่อ. กรุงเทพฯ:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์.
ศิริลักษณ์ ถุงทอง. (2557). ผลของโปรแกรมสนับสนุน การจัดการตนเองเพื่อชะลอไตเสื่อมจากเบาหวานต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองและผลลัพธ์ทางคลินิก ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่2 ที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้(วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี. (2566). แนวเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน. กรุงเทพฯ: ร่มเย็น มีเดีย.
สมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย. (2558). คำแนะนำสำหรับการดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังก่อนการบำบัดทดแทนไต พ.ศ. 2558. สืบค้นจาก http://www.nephro thai.org/images/10-11-2016/Final_%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%AD_CKD_2015.pdf.
Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nded.). Hillsdale, NJ: Lawrence Erlbaum Associates.
Creer, L. T. (2000). Self- managementof chronic illness. In M. Boekaerts, P. R. Pintrich, & M. Zeidner (Eds.). Handbook of self-regulation (pp. 601-629). San Diego, CA: Academic Press.
Miller, W. R., & Rollnick, S. (1991). Motivational interviewing : Preparing people to change addictive behavior. New York: Guilford Press.
Song, D., Xu, T. Z., & Sun, Q. H. (2014). Effect of motivational interviewing on self-management in patients with type 2 diabetes mellitus: A meta-analysis. International Journal of Nursing Sciences, 1(3), 291-297.
Zoppini, G., Targher, G., Chonchol, M., Ortalda, V., Negri, C.,Stoico, V., & Bonora, E. (2012). Predictors of estimated GFR decline in patients with type2diabetesandpreserved kidney function. Clinical Journal of the American Society of Nephrology, 7(3), 401-408
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วิทยาลัยพยาบาลศรีมหาสารคาม คณะพยาบาลศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.