รูปแบบการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
จัดบริการพยาบาล, เฝ้าระวังภาวะฉุกเฉิน, รอตรวจบทคัดย่อ
ความเป็นมาและความสำคัญ : การเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดลงระหว่างรอตรวจเป็นสิ่งที่สำคัญของบุคลากรทางการพยาบาลในการประเมินสภาพผู้ป่วยและให้ความช่วยเหลือการรักษาพยาบาลเพื่อจัดการความเสี่ยงและสร้างความปลอดภัยแก่ผู้ป่วย/ผู้รับบริการขณะรอตรวจนับเป็นหัวใจสำคัญของงานบริการผู้ป่วยนอก
วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
วิธีการศึกษา : ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการพัฒนาการจัดบริการพยาบาลร่วมกับทีมการพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกและทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาวิจัย เดือน ตุลาคม 2564 -กันยายน 2565 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ แบบรายงานความเสี่ยง RCA FORM แบบรายงานข้อมูลผู้ป่วยทรุดลง แบบประเมินความพึงพอใจผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ Paired t test ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา : รูปแบบการจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก ประกอบด้วย 1) การจัดพื้นที่บริการโดยมีจุดซักประวัติ คัดกรองที่เหมาะสม 2) พัฒนาสมรรถนะและทักษะบุคลากรแบบบัดดี้พี่สอนน้องในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉิน 3) การจำแนกประเภทผู้ป่วยที่ชัดเจนเพื่อเฝ้าระวังติดตามอาการที่ต่อเนื่อง 4) จัดทำแนวปฏิบัติการจัดลำดับความเร่งด่วนในการดูแล 5) การนิเทศติดตามอย่างต่อเนื่อง ประเมินผลพบว่า ภายหลังการพัฒนา ร้อยละการเกิดภาวะวิกฤติ/ฉุกเฉิน ลดลง ไม่พบผู้ป่วยเสียชีวิต ขณะรอตรวจ ผู้ป่วยและทีมการพยาบาลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ไม่พบอุบัติการณ์ข้อร้องเรียน
สรุป : การจัดบริการพยาบาลในการเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉินขณะรอตรวจ ที่พัฒนาขึ้นจากการจากการมีส่วนร่วมและนำ แนวคิดคุณภาพบริการ (Service Quality) มาเป็นแนวทางดำเนินงาน สามารถทำให้เกิดการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการดูแลที่รวดเร็ว ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่เหมาะสมตามเร่งด่วน
References
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เล่ม 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.
บุญชม ศรีสะอาด . (2553). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
พัชนี สุมานิตย์. (2565). การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ. 3(1), 85-98.
พัชรี เนียมศรี, ธัญรดี จิรสินธิปก. (2551) มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (ปรับปรุงครั้งที่ 2). นนทบุรี : องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. (2564). กลุ่มงานการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปี งบประมาณ พ.ศ.2561-2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาล.
อิ๋น วงษ์เคน. (2566). การพัฒนาแนวปฏิบัติการบริการทางการพยาบาลเพื่อการเฝ้าระวังผู้ป่วยอาการทรุดระหว่างรอตรวจแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลน้ำโสม จังหวัดอุดรธานี. วารสารอนามัยสิ่งแวดล้อมและสุขภาพชุมชน, 8(2),195-204.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.