การพยาบาลผู้ป่วยหัวใจเต้นช้า และได้รับการรักษาโดยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร : กรณีศึกษา

ผู้แต่ง

  • จริญญา หงส์กาญจนกุล โรงพยาบาลขอนแก่น

คำสำคัญ:

หัวใจเต้นช้า, เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร

บทคัดย่อ

บทนำ ภาวะหัวใจเต้นช้า  เป็นภาวะที่คุกคามชีวิต เกิดจากการนำกระแสไฟฟ้าจากหัวใจห้องบน ไม่สามารถผ่านไปหัวใจห้องล่างได้  หากไม่ได้รับการแก้ไขอย่างทันท่วงที อาจเสียชีวิตได้  ซึ่งพยาบาลมีบทบาทที่สำคัญในการดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยให้ผ่านภาวะวิกฤตไปได้ด้วยดี และมีคุณภาพชีวิตที่ดี

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า และได้รับการรักษาโดยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร

วิธีการศึกษา : กรณีศึกษาผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้า และได้รับการรักษาโดยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร 2 ราย ประเมินภาวะสุขภาพ กำหนดปัญหาข้อวินิจฉัยการพยาบาล และศึกษาการพยาบาล

ผลการศึกษา : การพยาบาลของผู้ป่วยทั้ง 2 ราย เพื่อแก้ไขปัญหาและความต้องการมีข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล ดังนี้ ระยะแรกรับ  ได้แก่ 1) ปริมาณเลือดสูบฉีดออกจากหัวใจลดลง  2) มีภาวะพร่องออกซิเจน ระยะนอนรักษา 3) ปวดจากการกระตุกของ External pacemaker 4) เสี่ยงต่อการเกิดภาวะเลือดออก หรือ hematoma จาการผ่าตัดฝังเครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร 5) แมกนีเซี่ยมต่ำ 6) ภาวะโปตัสเซียมต่ำ7) มีภาวะซีด  8) มีติดเชื้อในร่างกาย  9) ผู้ป่วยและญาติมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการทำหัตถการใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดถาวร   ระยะติดตามการรักษา 10) ความทนต่อกิจกรรมลดลง  11) ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเมื่อกลับบ้าน  ผู้ป่วยทั้ง 2 รายได้รับการดูแลผ่านพ้นระยะวิกฤต และจำหน่ายจากโรงพยาบาลได้

ข้อเสนอแนะ: มีการใช้ Early warning sign ณ จุดคัดกรองผู้ป่วยนอก เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและช่วยเหลือได้ทันท่วงที  

References

กระทรวงสาธารณสุข , สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อและอุบัติเหตุทางถนน ต่อประชากรแสนคน จำแนกตามจังหวัดในเขตบริการสาธารณสุข และจำแนกตาม สคร.12 เขต และ ภาพรวมประเทศ (รวมกรุงเทพมหานคร) ปี 2558. สืบค้นจาก แหล่งข้อมูล: http://www.thaincd.com /information-statistic/non-communicable-disease-data.php เข้าถึงเมื่อ 30 กรกฎาคม 2566.

จันทร์จิรา เจียรนัย. (2556). คู่มือการเขียนวินิจฉัยทางการพยาบาลและการวางแผนการพยาบาล. นครราชสีมา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ถนอมศรี แดงศรี และปัณฑิตา เพ็ญพิมล.(2561).คู่มือการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นช้าผิดจังหวะที่ได้รับการรักษาโดยใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจชนิดชั่วคราวทางหลอดเลือดดำแหล่งข้อมูล:https://ww2.mahidol.ac.th/division/nursing/sins/attachments/article/695/Nursing%20manual% pdf.สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2566.

ธาดา ชาครและคณะ(2560). แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยเครื่องอิเลกโทรนิกชนิดฝังในร่างกาย.:http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908.สืบค้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2565.

ผ่องพรรณ อรุณแสง. (2556). การพยาบาลผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด. ขอนแก่น: หจก. โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

โรงพยาบาลขอนแก่น. (2566). สรุปงานประจำปีโรงพยาบาลขอนแก่น. ขอนแก่น: โรงพยาบาลขอนแก่น.

สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับการรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะและภาวะหัวใจล้มเหลวด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ชนิดฝังในร่างกาย. แหล่งข้อมูลจาก :http://www.thaiheart.org/images/column_1291454908/DeviceGuide line.pdf วันที่ 18 ตุลาคม 2566.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-24