รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
วางแผนจำหน่าย, หญิงตั้งครรภ์, คลอดก่อนกำหนดบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม ดำเนินการพัฒนารูปแบบร่วมกับทีมพยาบาลและทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวคิดการวางแผนจำหน่าย D-M-E-T-H-O-D ระยะเวลาวิจัย เดือน 1 ตุลาคม 2564 - 30 กันยายน 2565 ประเมินผลการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายจากพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ และผลลัพธ์การดูแลจากการกลับมารักษาซ้ำของหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดและการคลอด วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ประกอบด้วย 1 องค์ประกอบที่ 1 การจัดระบบบริการให้มีความพร้อมและสนับสนุนการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด องค์ประกอบที่ 2 แนวทางวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นประเมิน 2) ขั้นการพยาบาลในห้องคลอด 3) ขั้นวางแผนจำหน่ายโดย ใช้ D-M-E-T-H-O-D 4) ขั้นติดตามต่อเนื่องที่บ้าน ซึ่งนับได้ว่าเป็นรูปแบบที่เหมาะสมในการดูแลหญิง ตั้งครรภ์คลอดที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดให้ได้รับการดูแลที่เหมาะสม สามารถดำเนินการตั้งครรภ์ต่อไปได้ ภายหลังนำรูปแบบไปใช้ประเมินผลพบว่า ทำให้หญิงตั้งครรภ์มีภาวะคลอดก่อนกำหนด จากร้อยละ 44.19 เป็น 22.22 มีการให้ยายับยั้งคลอด ลดลงจาก 29.07 เป็น 13.33 ซึ่งมีแนวโน้มลดลง อัตราการกลับมารักษาซ้ำลดลง จาก 53.48 เป็น 24.44
รูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดที่พัฒนาขึ้นจากการมีส่วนร่วมและนำแนวคิด การวางแผนจำหน่าย D-M-E-T-H-O-D มาเป็นแนวทางในการดำเนินงานทำให้หญิงตั้งครรภ์สามารถดูแลตนเองเพิ่มขึ้น ช่วยลดการคลอดก่อนกำหนด ลดการเข้ารับการรักษาซ้ำ ส่งผลให้มารดาและทารกปลอดภัย
References
เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
จรินทร์ทิพย์ สมประสิทธิ์. (2554).การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. ใน คมสันติ์ สุวรรณฤกษ์ และเด่นศักดิ์ พงศ์โรจน์เผ่า (บรรณาธิการ), ภาวะแทรกซ้อนทางสูติศาสตร์. กรุงเทพฯ:
พิมพ์ดีสมุทรสาคร.
ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. พิมพ์ครั้งที่ 2. นครราชสีมา :โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.
นวรัตน์ ไวชมพู และอาภรณ์ คงช่วย. (2558). การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายหญิงตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 2 (3), 114-128.
บุญชม ศรีสะอาด . (2553). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาสน์.
บุศรินทร์ เขียนแม้น, เยาวเรศ ก้านมะลิ,และวรรณวิมล ทุมมี. (2565) การพัฒนารูปแบบการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่มีภาวะเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 15(3), 286-300.
พัชนี สุมานิตย์. (2565). การพัฒนาระบบบริการงานพยาบาลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลกุมภวาปีจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 3(1), 85-98.
ประพนธ์ จารุยาวงศ์. (2555). มาตรการทางสูติศาสตร์กับปัญหาการคลอดก่อนกำหนด. ใน: วิทยา ถิฐาพันธ์, นิศารัตน์ พิทักษ์วัชระ, พจนีย์ผดุงเกียรตวัฒนา, บรรณาธิการ. วิกฤติในเวชปฏิบัติปริกำเนิด. กรุงเทพฯ: พีเอ ลิฟวิ่ง.
โรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย. (2564). กลุ่มงานการพยาบาล. รายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2563-2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาล.
วันเพ็ญ พิชิตพรชัย, และอุษาวดี อัศดรวิเศษ. (2546). การวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยแนวคิดและการประยุกต์ใช้ (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุภาพ ไทยแท้. (2555). การพยาบาลสูติศาสตร์ ภาวะผิดปกติในระยะคลอด. กรุงเทพฯ : วี.พริ้น.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.