การพัฒนารูปแบบการบริการดูแลผู้ป่วยนอก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น โรงพยาบาลเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • ยุพิน หิรัญพต โรงพยาบาลเชียงยืน
  • สิริวิภา โรจนรัตนางกูร โรงพยาบาลเชียงยืน

คำสำคัญ:

รูปแบบบริการ, ไวรัสโคโรนา 2019, โรคประจำถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริการดูแลผู้ป่วยนอก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น โรงพยาบาลเชียงยืน  จังหวัดมหาสารคาม ศึกษาความพึงพอใจและการปฏิบัติตัว ของผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่รับการดูแลรักษา หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น และเพื่อศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหาการการคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 ที่จุด ARI คลินิก หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น ในโรงพยาบาลเชียงยืน เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research)  แบ่งเป็น 4 ระยะ คือ1) ขั้นเตรียมการ 2)การวางแผนและการพัฒนา 3) นำกระบวนการแก้ไขปัญหาสู่การปฏิบัติ 4) ระยะประเมินผล โดยประเมินผลการพัฒนารูปแบบ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ออกเป็น 2 กลุ่ม 1) กลุ่มตัวอย่างวางแผนพัฒนารูปแบบ จำนวน 30 คน  2) กลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ขนาดตัวอย่าง 400 ราย เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการทบทวนเวชระเบียน แบบสนทนากลุ่ม แบบสัมภาษณ์ แบบเจาะลึก แบบบันทึกการคัดแยกผู้ป่วย โควิด-19 แบบสังเกต แบบสอบถามความพึงพอใจผู้รับบริการ COVID-19 และแบบสอบถามการปฏิบัติตัว ผู้รับบริการ COVID-19 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าจากการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วยโควิด-19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่นในช่วงวันที่ 1 กรกฎาคม 2565 - วันที่ 30 เมษายน 2566 ในเขตอำเภอ เชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม พบว่า ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1,808 ราย เสียชีวิต 2 คน โดยพื้นที่มีการระบาด มากที่สุด คือ ตำบลเชียงยืน จำนวน  465 คน ร้อยละ 25.7 รองลงตำบลกู่ทอง จำนวน 232 คน ร้อยละ12.8 ซึ่งช่วงอายุที่ป่วยมากที่สุด คือ 30-59  ปี จำนวน 797 คน ร้อยละ 40.08 รองลงมา ช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 466 คน ร้อยละ 25.77 พบปัญหาในการคัดกรอง คือ ปริมาณผู้ป่วยที่มารับที่บริการที่ ARI คลินิก เพิ่มมากขึ้นโดยส่วนใหญ่จะติดเป็นกลุ่ม และสถานที่ไม่เพียงพอ จำนวนเจ้าหน้าที่ ที่ให้การคัดกรองมีไม่เพียงพอ ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์และขาดความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ไม่เพียงพอ ได้พัฒนารูปแบบการบริการดูแลผู้ป่วยนอก โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019  หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น ระดับความพึงพอใจของผู้ป่วยโควิด-19 ต่อการให้บริการของโรงพยาบาลเชียงยืน ในช่วงหลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่น ภาพรวมกลุ่มตัวอย่างมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.48  ระดับการปฏิบัติตัว ผู้รับบริการโควิด-19 ช่วงเปลี่ยนผ่านสู่โรคประจำถิ่น โรงพยาบาลเชียงยืน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). แผนและมาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 สู่โรคประจำถิ่น. นนทบุรี: กองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.

จิราพร พิลัยกุล. (2566). การพัฒนารูปแบบการคัดกรองจุดแรกรับผู้ป่วย COVID-19 ของโรงพยาบาลจังหวัด เพื่อจัดการความรุนแรงของโรคภายในจังหวัดมหาสารคามและเครือข่าย. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 16(1), 193-206.

ณปภัช นฤคนธ์. (2565). การพัฒนาระบบบริการเพื่อรองรับการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โรงพยาบาลสนามบุษราคัม กระทรวงสาธารณสุข. วารสารวิชาการกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ, 18(3), 37-46.

ปฐมาภรณ์ อุดานนท์, พเยาวดี แอบไธสง, & บารเมษฐ์ ภิราล้ำ. (2566). การรับรู้ข่าวสารและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด 19 หลังการเปลี่ยนผ่านเป็นโรคประจำถิ่นของประชาชนในจังหวัดนครพนม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางสุขภาพ, 4(127-138).

รัชนี หลงสวาสดิ์. (2562). ความพึงพอใจของผู้รับบริการต่อการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารหัวหินสุขใจไกลกังวล, 4(3), e0070.

สิทธิพร เขาอุ่น, รวงทอง ถาพันธ์, & นันทิกา บุญอาจ. (2022). พฤติกรรมการรับรู้ข้อมูลข่าวสารการมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อสังคมในการป้องกันโรคโควิด-19 ของประชาชนในอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(4), 147-158.

สุธารัตน์ แลพวง. (2563). การบริหารจัดการภายใต้มาตรการคัดกรองเพื่อรับมือสถานการณ์โรคโควิด COVID-19 ของโรงพยาบาลปทุมธานี. Retrieved 1 มิถุนายน 2566 http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1597913817_6114832065.pdf

Dong, E., Ratcliff, J., Goyea, T. D., Katz, A., Lau, R., Ng, T. K., . . . Zhang, D. (2022). The Johns Hopkins University Center for Systems Science and Engineering COVID-19 Dashboard: data collection process, challenges faced, and lessons learned. The lancet infectious diseases, 22(12), e370-e376.

Limsringam, P., Sasithanakornkaew, S., & Apisupachoke, W. (2021). การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โค วิด-19) ผ่านสื่อสังคมออนไลน์กับทัศนคติและพฤติกรรมการป้องกันโรคในกรุงเทพมหานคร. Journal of MCU Nakhondhat, 8(9), 18-33.

Organization, W. H. (2022). Tracking SARS-CoV-2 variants [Internet]. 2022. World Health Organization. Available: https://www. who.int/en/activities/tracking-SARS-CoV-2-variants.

Phosri, D., Aiempradit, A., & Semachai, A. (2023). การเฝ้าระวังและควบคุมโรคโควิด-19: การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสาธารณสุข จังหวัดนครปฐม. Journal of Health Science-วารสารวิชาการสาธารณสุข, 32(Supplement 1), S49-S60.

Putharaksa, S., & Jarutach, T. (2022). แนวทางการบริหารจัดการสถานที่กักกันทางเลือก (Alternative State Quarantine: ASQ) ในช่วงสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 (COVID-19). Sarasatr, 5(4), 638-650.

Taro Yamane. (1973). Statistics: an introductory analysis. New York: New York : Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-23