ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองฮี อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม

ผู้แต่ง

  • อภิชาติ ขันตี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองฮี

คำสำคัญ:

เบาหวาน, พฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในเขตพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองฮี  อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองฮี  อำเภอปลาปาก จังหวัดนครพนม จำนวน 146 คน  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมานทดสอบความสัมพันธ์ใช้ ไคสแควร์ (Chi-square) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’ s Correlation) 

ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการรับประทานอาหาร การรับประทานยาและการตรวจตามนัด และการจัดการความเครียดอยู่ในระดับดี  พฤติกรรมการออกกำลังกายอยู่ในระดับปานกลาง  วิเคราะห์ความสัมพันธ์ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า สถานที่รับบริการคลินิกเบาหวานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  แต่เพศ อายุ  สถานภาพสมรส  ระดับการศึกษา  อาชีพ  ดัชนีมวลกาย และระยะเวลาการเจ็บป่วย ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ปัจจัยแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรค การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติตน  และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติตน  ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2

References

กัลยารัตน์ รอดแก้ว. (2561). ผลของโปรแกรมการกำกับตนเองร่วมกับคู่หูดูแลกันต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคเบาหวาน น้ำหนัก และระดับน้ำตาลในเลือดของกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานที่มีน้ำหนักเกิน. วิทยานิพนธ์ พยาบาลศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน, คณะพยาบาลศาสตร์, มหาวิทยาลัยบูรพา.

เจษฎากร โนอินทร์, ทิพย์วาที มีจันโท, สุกัญญา กัญศรี, และพิสิษฐ์ พูลประเสริฐ. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอร์ทเทิร์น, 2(4),110-123.

เจษฎากร โนอินทร์และคณะ. (2559). พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน ในเขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพลายชุมพล อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

ธาริน สุขอนันต์, ณัฐพร มีสุข, และอาภิสรา วงศ์ละ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสวน อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี, 23(2), 476-479.

ธนวัฒน์ สุวัฒนกุล.(2561).ปัจจัยที่มีความสำพันธ์กับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข, 12(3), 515-522.

นิธิพงศ์ ศรีเบจมาศ และกิ่งแก้ว สำรวยรื่น. (2563). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อพฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย, 4 (3), 149-159.

ประเด็นสารรณรงค์วันเบาหวานโลก. 2561. [อินเทอร์เน็ต]. [วันที่อ้างถึง 15 พฤศจิกายน 2566]. ที่มา : http://www.thaincd.com/2016/news/announcement-detail.php?id=13256&gid=1

พิมพ์ลดา อนันต์สิริเกษม และคณะ. (2560). การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพแบบมีส่วนร่วมสำหรับผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 : กรณีศึกษา ตำบลลาดบัวขาว อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลจักรีชัย. ปีที่10 (ฉบับที่3), หน้า 921-937.

ลัดดาวัลย์ พิมพ์เรือง. (2566). ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพร่วมกับการแกว่งแขนต่อพฤติกรรมการควบคุมโรคเบาหวานและระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้และมีโรคร่วม. วารสารวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ, 4 (2), 91-103.

วรรษมล โศกสี. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน คปสอ.บ้านผือ จังหวัดอุดรธานี. กลุ่มงาน NCD clinic โรงพยาบาลบ้านผือ. โรงพยาบาลบ้านผือ.

ศุภาพร โพธิ์เอี้ยงและอทิตยา เฉิดโฉม. (2562). ประสิทธิพลของโปรแกรมการให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเบาหวานระยะที่ 3-4 โรงพยาบาลแม่เมาะ.วารสารวิจัยสุขภาพและการพยาบาล, 37(2), 50-62.

สุปรียา เสียงดัง. (2560). พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สงขลา , 4(1), 191-204.

Becker, M.H. (1974). The Health Belief Model and Preventive Health Behavior. Health Education Monograohs. 2, 254-385.

Becker, M.H., & Maiman, L.A. (1975) .The health Belief Model: Origins and Correlation in Psychological Theory. Health Education Monography, 2. Winter: 336-385.

Daniel Miteku Yigazu and Tigestu Alemu Desse. (2017) . Glycemic control and associated factor among type 2 diabetic patients at Shanan Gibe Hospital, Southwest Ethiopia. BMC Research Notes.

Khattab, M., Khader, Y.S., AL-Khawaldeh, A. and Ajlouni, K. (2010). Factors associated with poor glycemic control among patients with Type 2 diabetes. Journal of Diabetes and its Complication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย