รูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน ที่ผู้ป่วยเบาหวานมีระดับน้ำตาลสะสมสูงเกินเกณฑ์ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกก่อ อำเภอเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • อนงค์ลักษณ์ เคนสุโพธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกก่อ
  • อรอนงค์ ดีแดง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกก่อ

คำสำคัญ:

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, น้ำตาลในเลือด, เบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหา และประเมินผลรูปแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการควบคุมน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสะสมสูงเกินเกณฑ์

วิธีการศึกษา : ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการพัฒนาร่วมกับ พยาบาล อสม.หมอประจำครอบครัว ผู้ป่วยเบาหวาน ระยะเวลาการวิจัย 1 ตุลาคม 2564 - 30 เมษายน 2565 เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับการรับรู้ และการปฏิบัติตัวในโรคเบาหวาน แบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษา ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหา พบว่า ผู้ป่วยเบาหวานควบคุมระกับน้ำตาลสะสม (HbA1C) ได้ตามเกณฑ์ ยังต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย สาเหตุจากการบริโภคอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล ไม่ตระหนักถึงภาวะแทรกซ้อน ความรู้ความเข้าใจต่อการบริโภคอาหารยังไม่ครอบคลุม ขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนในการปรับเปลี่ยนและติดตามผู้ป่วยที่น้ำตาลสูงเกินเกณฑ์ จึงได้นำปัญหามามาร่วมกันออกแบบการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม คือ โรงเรียนอ่อนหวาน 4 ครั้ง โดยใช้กระบวนการกลุ่มแลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วเติมความรู้มอบการบ้านบันทึกพฤติกรรม 3 อ.2 ส. การตั้งเป้าหมายด้วยตนเองและการติดตามเสริมพลังโดยทีมสหวิชาชีพและทีมหมอครอบครัว  ประเมินผล พบว่า ผู้ป่วยที่เข้าร่วมพัฒนามีพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้น มีการออกกำลังเพิ่มขึ้น 3วัน/สัปดาห์ จัดการความเครียดแบบสมาธิบำบัด ร้อยละ 54  หลังปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 3 เดือน ผู้ป่วยมีผลน้ำตาลสะสมในเลือด ((HbA1c) ลดลง ร้อยละ 92.86และลดลงจนผ่านเกณฑ์ (HbA1c<7%) ร้อยละ 33.33

สรุป : การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดจากการเรียนรู้และตั้งเป้าหมายการปรับเปลี่ยนด้วยตนเองและวางแผนในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลของตนเองพร้อมทั้งควบคุมกำกับตนเอง ร่วมกับการติดตามเยี่ยมเสริมพลังและติดตามอย่างต่อเนื่องโดยทีมหมอครอบครัวและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเองอย่างสม่ำเสมอส่งผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลได้ดียิ่งขึ้น

References

กระทรวงสาธารณสุข กรมควบคุมโรค สำนักโรคไม่ติดต่อ. (2559). รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

กุสุมา กังหลี. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่สองโรงพยาบาลพระปกเกล้า.วารสารพยาบาลทหารบก, 15(3), 256-268.

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร. (2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่นโรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง.

บุญชม ศรีสะอาด . (2553). การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

มยุรี เที่ยงสกุล, สมคิด ปานประเสริฐ. (2562). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(4), 696-710.

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกก่อ. (2564). รายงานผลการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2561-2564. มหาสารคาม : โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโคกก่อ.

สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. 2560. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน 2560 Clinical Practice Guideline for Diabetes 2017 (พิมพ์ครั้งที่ 2). ปทุมธานี: บริษัทร่มเย็น จำกัด.

สุวิทย์ ทองกูล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, 3(2), 70-87.

อำภา เพ็ชรรังศรี. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดุแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสระกระโจม อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกริก.

American Diabetes Association. (2017). Comprehensive Medical Evaluation and Assessment v of comorbidities Diabetes. ,

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย