การพยาบาลผู้ป่วยเนื้องอกมดลูกที่ได้รับการผ่าตัดทางหน้าท้องที่มีภาวะโลหิตจาง : กรณีศึกษา 2 ราย

ผู้แต่ง

  • ระจิตร คำโฮงค์ โรงพยาบาลบรบือ

คำสำคัญ:

เนื้องอกมดลูก, การผ่าตัดเนื้องอกมดลูกทางหน้าท้อง

บทคัดย่อ

เนื้องอกมดลูก เป็นภาวะที่พบได้ประมาณร้อยละ 20-25 ของสตรีที่มีอายุมากกว่า 25 ปี การรักษาที่ได้ผลและหายขาดคือการผ่าตัด การให้การพยาบาลผู้ป่วยผ่าตัด ที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพ  จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยและลดภาวะแทรกซ้อน กลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน การสัมภาษณ์ผู้ป่วยและครอบครัว การสังเกต การตรวจร่างกาย วิเคราะห์ข้อมูลพยาธิสภาพ อาการและอาการแสดง การรักษาและการประเมินสภาวะสุขภาพ 11  แบบแผนของกอร์ดอน  กำหนดข้อวินิจฉัย และให้การพยาบาล ประเมินผลลัพธ์การพยาบาล

ผลการศึกษา พบว่ากรณีศึกษารายที่ 1 หญิงไทยคู่ 46 ปี  ประจำเดือนออกมากผิดปกติ วิงเวียน อ่อนเพลีย ได้รับการวินิจฉัย Myoma Uteri with Anemia กรณีศึกษารายที่ 2 หญิงไทยคู่ 49 ปี ปวดท้องน้อย คันช่องคลอด ตกขาวมีกลิ่นเหม็น ได้รับการวินิจฉัย Myoma Uteri with Hyperlipidemia กรณีศึกษาทั้ง 2 ราย ได้รับการผ่าตัด TAH with BSO ให้การพยาบาลระยะก่อนผ่าตัด เพื่อลดความวิตกกังวล ป้องกันการผ่าตัด ผิดคน ผิดตำแหน่ง ผิดหัตถการ ป้องการติดเชื้อแผลผ่าตัด ใช้ Aseptic Technique ทุกขั้นตอน ระยะผ่าตัด ป้องกันการช็อคจากภาวะเสียเลือด กรณีศึกษาที่ 1 เสียเลือด 900 ml ให้เลือด 1 ยูนิต ไม่มีภาวะช็อค ป้องกันอุปกรณ์ตกค้างในแผลผ่าตัดระยะหลังผ่าตัด ผู้ป่วยปลอดภัยจากการเคลื่อนย้าย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ลดอาการปวดแผล ป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัด และแนะนำการดูแผลเมื่อจำหน่ายกลับบ้านได้ สรุปกรณีศึกษา พยาบาลเป็นผู้มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดเนื้องอกมดลูกทางหน้าท้องที่มีภาวะโลหิตจาง ในการให้การพยาบาลที่มีความยุ่งยากซับซ้อน โดยการประเมินสภาวะต่างๆ คาดการณ์ความเสี่ยงที่อาจเกิดความไม่ปลอดภัยกับผู้ป่วย และวางแผนแก้ปัญหาเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลง อย่างรวดเร็วทันเวลา ให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องเหมาะสม ให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วมในการดูแล ตลอดจนมีการติดตามประเมินผลลัพธ์ การดูแลรายกรณีอย่างต่อเนื่อง จนมั่นใจว่าผู้ป่วยกลับสู่ภาวะปกติที่จะใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิม

 

References

ภาควิชาสูติ – นรีเวชวิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. (2553) .หลักสูตวิชาสูติ-นรีเวช. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา ธโนวรรณ.การพยาบาลสตรีที่มีเนื้องอกมดลูก.(2560).กรุงเทพฯ :วีปริ้น 1999.2553.

ธันยารัตน์ วงศ์วรานุรักษ์และสุธี สังขรัตน์.ตำรานรีเวชวิทยา.กรุงเทพ ฯ :พีเอเลิฟวิงจำกัด.2554

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.การรักษาเนื้องอกในมดลูก.23 กันยายน 2565 เข้าถึงได้จาก URL:http://w1med.cmu.ac.th>obgyn สืบค้น 13 กันยายน 2566

เรืองศักดิ์ เลิศขจรสุข.Benign Tumor of Uterus .2556 เข้าถึงได้จาก URL:http://www.cai.md.chula.ac.th/lession4415สืบค้น 13 กันยายน 2566

เวชระเบียนผู้ป่วนในโรงพยาบาลบรบือ

สถาบันบำราชนราดูร.(2563).แนวปฏิบัติเพื่อป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในสถานบริการ.นนทบุรี : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.

สุจินต์ กนกพงษ์ศักดิ์ และจีรศักดิ์ มนัสสกร.(2552).นรีเวชวิทยาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. (ฉบับเรียบเรียงครั้งที่3).กรุงเทพ ฯ : พีเอเลิฟวิ่งจำกัด.

Centers for Disease Control and Prevention.(2023). NHSN Surgical site infection (SSI) Checklist.2023. เข้าถึงได้จาก URL:http://www.cdc.gov>pdf PDF สืบค้น 15 กันยายน 2566

Hoffman,B.L,Schorge,J.O.,Bradshaw,K.D.,Halvorson,L.M.,Schaffer,J.I.,corton,HM.(2016).William Gynecology.

Wise,L.A.,Laughlin-Tomaso,S.K.(2016).Epidemiology of Uterine fibroids:from menarche to menopause.Clin ObstetGynecol,59,2-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย