การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานพยาบาลผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • บุญมี จันทริมา โรงพยาบาลบรบือ

คำสำคัญ:

ผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด, ผู้ป่วยใน, การพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินผลรูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานพยาบาลผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม  ดำเนินการพัฒนาระบบบริการร่วมกันโดยทีมสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง โดยใช้แนวคิด 6 เสาหลักของระบบสุขภาพ ตามแนวทางขององค์การอนามัยโลก ระยะเวลาวิจัย เดือน ตุลาคม 2563-กันยายน 2565 วิเคราะห์ข้อมูลข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษา รูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานพยาบาลผู้ป่วยในหญิง โรงพยาบาลบรบือ จังหวัดมหาสารคาม  ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย ด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมโดยมีกลไกการขับเคลื่อนด้านนโยบายและการนำองค์กรของหน่วยงาน มีระบบการติดตามตัวชี้วัดและการประชุมอย่างต่อเนื่อง การจัดการด้านทรัพยากรบุคคลการพยาบาลและทีมสหวิชาชีพให้มีสมรรถนะมีการพัฒนาความรู้และทักษะทีมสหวิชาชีพ รวมทั้งการสนับสนุนยาเวชภัณฑ์มิใช่ยาและการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่เพียงพอ พร้อมใช้ ด้านกระบวนการ ได้แก่ การสร้างกลไกในการค้นพบผู้ป่วยตั้งแต่ในระยะเริ่มต้น การรักษาการติดเชื้อและการฟื้นฟูระบบไหลเวียนอย่างรวดเร็ว พัฒนาระบบข้อมูล  ระบบแพทย์พี่เลี้ยงให้คำปรึกษา จัดทำ CPG ต่างๆที่ใช้ร่วมกัน พัฒนาแนวปฏิบัติการรายงานแพทย์และสื่อสารในทีมสหวิชาชีพ รวมทั้งคู่มือแนวทางการนิเทศการจัดบริการพยาบาลและการพยาบาลระยะต่อเนื่องจนถึงการวางแผนจำหน่าย ด้านผลผลิตและผลลัพธ์ ได้แก่  พัฒนาแนวทางกำกับติดตามการดำเนินงานสะท้อนผลลัพธ์เป็นระยะเพื่อหาโอกาสพัฒนา จากการพัฒนาส่งผลให้เพิ่มขึ้น ทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจต่อระบบริการในระดับมาก  ผลลัพธ์ด้านการดูแล พบว่า ไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต  เมื่อเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่กำหนด จำนวน 6 ตัวชี้วัด พบว่า บรรลุตามเป้าหมายทุกตัวชี้วัด คิดเป็นร้อยละ 100 และไม่พบอุบัติการณ์ร้องเรียนของผู้ป่วย

การพัฒนาระบบที่เกิดจากการจากการมีส่วนร่วมและนำ Six Building Blocks of A Health System สามารถทำให้เกิดการจัดบริการที่มีประสิทธิภาพตอบสนองต่อการดูแล รวมถึงการจัดสรรงบประมาณและทรัพยากรได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยได้รับเข้าถึงบริการ ได้รับการประเมินที่รวดเร็ว การดูแลที่เหมาะสม ปลอดภัยมาตรฐาน

References

กระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วย ติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรงชนิด. [อินเทอร์เน็ต]. 2561. [เข้าถึงเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2561]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice. moph.go.th/hdc/main/index.php

เกษราวัลณ์ นิลวรางกูร.(2558). การวิจัยเชิงปฏิบัติการสำหรับวิชาชีพการพยาบาล. ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.

ขะธิณยา ศรีแก้ว. (2564). ผลลัพธ์ของการพัฒนาการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการพยาบาลสุขภาพและการศึกษา, 4(1),29-40.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเล่ม 2. นครราชสีมา: โรงพิมพ์โชคเจริญมาร์เก็ตติ้ง;

บุญชม ศรีสะอาด .(2553).การวิจัยเบื้องต้น.กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.

โรงพยาบาลบรบือ .(2563). ระบบสารสนเทศรายงานผลการดำเนินการผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ปี 2561-2563. มหาสารคาม: โรงพยาบาลบรบือ.

วิทยา บุตรสาระ,ยุพนา ลิงลม,สำเนียง คำมุข. (2560). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีนครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม, ฉบับการประชุมวิชาการครบรอบ 25 ปี, 17-25.

สมพร รอดจินดา.(2563). การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 31(1), 212-230.

สมาคมเวชบำบัดวิกฤตแห่งประเทศไทย. การดูแลรักษาผู้ป่วย Severe Sepsis และ Septic Shock (ฉบับร่าง) แนวทางเวชปฏิบัติ. กรุงเทพฯ. [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [เข้าถึงเมื่อ 30 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : https://pubhtml5. com/ homepage/ ftaw

สำนักงานเขตสุขภาพที่ 7. แผนยุทธศาสตร์ เขตสุขภาพที่ 7 ปีงบประมาณ 2560. [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [เข้าถึงเมื่อ 28 มิถุนายน 2562]. เข้าถึงได้จาก : http://bps.moph.go.th/ new_bps/.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข. อัตราตายผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดแบบรุนแรง แผนกการตรวจราชการ กระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. [อินเทอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก http://healthkpi.moph.go.th/kpi/kpi-list/view/?id=964

อังคณา เกียรติมานะโรจน์. (2564). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด โรงพยาบาลวาปีปทุม. วารสารวิชาการสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม, 5(9), 27-43.

Dellinger, R. P., Levy, M. M., Makic, M. B. F. & Bridges, E. Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines and Definitions. AJN [Internet] 2018. [cited 2019 June 29]; 118(2): 34-39. Available from : https://nursing. ceconnection. com/ovidfiles

Glickman, S. W., Cairns, C. B., Otero, R. M., Woods, C. W., Tsalik, E. L., Langley, R. J. Disease progression in hemodynamicallystable patients presenting to the emergency department with sepsis. Acad Emerg Med [Internet]. 2010. [cited 2019 June 26] ; 17(4) : 383-390. Available from : https://onlinelibrary. wiley.com/doi/

Makic, M. B. F. & Bridges, E. Managing Sepsis and Septic Shock: Current Guidelines and Definitions. [Internet]. 2018 [cited 2019 June 26]. Available from : https://nursing. ceconnection. com/ovidfiles

World Health Organization. (2010).Monitoring the Building Blocks of Health Systems: A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Production

Servicves.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย