การพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลเพื่อดูแลผู้ป่วยมีภาวะติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลัก3E ตึกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลนาดูน จังหวัดมหาสารคาม

ผู้แต่ง

  • เดือนเพ็ญ ปะติกานัง โรงพยาบาลนาดูน
  • ภัฏฏการก์ เถาว์กลาง โรงพยาบาลนาดูน

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติทางการพยาบาล, รูปแบบการดูแล, หลัก 3E

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือดโดยใช้หลัก3E ตึกผู้ป่วยใน  

วิธีการวิจัย : เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด ช่วง 3 ธันวาคม 2565–30 กันยายน 2566 จำนวน 48 คน ขั้นตอนการวิจัยมี3ระยะ1)ระยะศึกษาสถานการณ์และสภาพปัญหา 2)ระยะการพัฒนารูปแบบและ3)ระยะประเมินผลการพัฒนา เครื่องมือคือแบบบันทึกข้อมูลการดูแลผู้ป่วย แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม แบบบันทึกเวชระเบียน  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ สถิติไคสแควร์ การทดสอบแมนวิทนี ยู วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เชิงเนื้อหา ทดสอบผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วย

ผลการวิจัย : ระยะที่ 1.พบการคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงได้รับการวินิจฉัยและการรักษาล่าช้ากว่าเกณฑ์ที่กำหนด ระยะที่ 2.การใช้หลัก 3E ประกอบด้วย 1.การคัดกรองและการดักจับได้เร็ว(Early screening and detection) 2.การช่วยชีวิตได้เร็ว(Early resuscitation) 3.การส่งต่อได้เร็ว(Early referral) พบผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงยังไม่ครอบคลุม 3.หลังการพัฒนารูปแบบพบว่าระยะเวลาตั้งแต่เริ่มคัดกรองถึงวินิจฉัย ระยะเวลาเฉลี่ยลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยพบว่าลดลงจาก 98.73 นาที เป็น 29.71 นาที จำนวนผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและเข้าสู่กระบวนการรักษาก่อนเกิดภาวะช็อกได้ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 จำนวนผู้ป่วยที่เกิดภาวะช็อกมีความถูกต้องมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

สรุปผล : พบว่าการใช้แนวปฏิบัติโดยใช้หลัก 3E สามารถช่วยลดระยะเวลาการคัดกรองถึงวินิจฉัยได้และมีความถูกต้องเพิ่มมากขึ้น

References

กองบริหารการสาธารณสุข. คู่มือสำหรับประชาชนเรื่องเซ็พสิส (Sepsis) (internet). 2562 (เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2565). เข้าถึงได้จาก :

https://phdb.moph.go.th/main/index/downloadlist/53/2

กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ.(2556). หลักการการควบคุมคุณภาพ.กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

คนึงนิจ ศรีษะโคตร และคณะ.(2564).การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลเพื่อป้องกันอาการทรุดลงทางคลินิกในผู้ป่วยที่มีภาวะพิษเหตุติดเชื้อ.วารสารสุขภาพและการศึกษา, 27(2),150-167.

ประไพพรรณ ฉายรัตน์, และสุพัฒศิริ ทศพรพิทักษ์กุล, (2560). ประสิทธิผลของรูปแบบการพยาบาลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิต. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 35(3), 224 -231.

พรทิพย์ แสงสง่า, นงนุช เคี่ยมการ.(2558). ผลลัพธ์การใช้แนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตอย่างรุนแรงทางคลินิกตามเกณฑ์ Sepsis bundles ในงานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลสงขลา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 29(3), 403–410.

พัชนีภรณ์ สุรนาทชยานันท์,วนิดา เคนทองดี,และสุพัตรา กมลรัตน์, (2561).การพัฒนาระบบการพยาบาลผู้ป่วย ภาวะติดเชื้อในโรงพยาบาลเลย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 207 -215.

โรงพยาบาลนาดูน.(2564).รายงานการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยติดเชื้อในกระแสเลือด. มหาสารคาม : โรงพยาบาลนาดูน

สมพร รอดจินดา, สมใจ พุทธาพิทักษผล, และวิมลทิพย พวงเขม. (2563). การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อกระแสเลือด หอผู้ป่วยอายุรกรรมโรงพยาบาลน่าน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 30(1), 120-134.

สำนักตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข.ประเด็นตรวจรายการที่มุ่งเน้น ประเด็นที่ 5 ลดป่วย ลดตายและสร้างความมันคงทางสุขภาพ.2560 (เข้าถึงเมื่อ 3 ธันวาคม 2565). เข้าถึงได้จาก : https:// inspection.moph .go.th/e-inspection/file_docth/2023-01-23-10-11-59.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-29

ฉบับ

บท

รายงานผลการวิจัย