ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ (New GFMIS Thai) ของบุคลากรในหน่วยบริการ สังกะดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, การส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่, หน่วยบริการบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ของบุคลากรในหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
วิธีวิจัย : เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method Research) ระยะที่ 1 วิธีวิจัยเชิงคุณภาพประยุกต์ใช้วงจรคุณภาพ (Deming Cycle – PDCA) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานฯ ในกลุ่มเป้าหมายบุคลากรหัวหน้างานการเงินและบัญชีหรือผู้แทนของหน่วยบริการ สังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคามเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Information)และมีส่วนร่วมในการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop และระยะที่ 2 วิธีวิจัยเชิงปริมาณศึกษาในประชากรของบุคลากรผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองและที่เกี่ยวข้องของหน่วยบริการ จำนวน 57 คน ในพื้นที่ 13 อำเภอ รยะเวลาศึกษา ระหว่าง มกราคม 2567 ถึง กันยายน 2567
ผลการศึกษา : 1) จากการใช้กระบวนการวงจรคุณภาพ (Deming Cycle – PDCA) ในการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ พบว่า การดำเนินงานส่งงบทดลองให้กองเศรษฐกิจและประกันสุขภาพการพัฒนาคุณภาพบัญชีเกณฑ์คงค้างของหน่วยบริการ ผ่านเกณฑ์ตามเป้าหมายที่กำหนด ร้อยละ 100 2) ปัจจัยลักษณะส่วนบุคคลด้านอายุ ปัจจัยด้านสมรรถนะของบุคลากร ปัจจัยระยะเวลาที่ปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชีในหน่วยบริการ ปัจจัยระยะเวลาประสบการณ์ที่เคยเข้าใช้งานในระบบ New GFMIS Thai ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจแนวทางการบันทึกบัญชีตามนโยบายบัญชีภาครัฐ ปัจจัยด้านกระบวนการทำงาน ปัจจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ปัจจัยด้านนโยบายของผู้บริหารหน่วยบริการ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐแบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ โดยตัวแปรพยากรณ์ ทั้ง 8 ตัว สามารถอธิบายความแปรปรวน ของคะแนนผลการส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ ได้ร้อยละ 71.70 (R2 = 0.717, P < 0.05) และนำไปกำหนดเป็นแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานด้านการส่งงบทดลองในระบบอิเล็กทรอนิกส์รูปแบบใหม่ (New GFMIS Thai) ของบุคลากรในหน่วยบริการ สังกัดสำนกงานสาธารณสุขจังหวัดมหาสารคาม
References
กรมบัญชีกลาง, New GFMIS Thai. (2565). แนวปฏิบัติในการเรียกรายงานงบทดลองประจำปีของหน่วยเบิกจ่าย
สืบค้นเมื่อ 7 มีนาคม 2568 จาก https://newgfmisthai.gfmis.go.th/wp-content/uploads
/2022/10/NGL_TB_PMT_YEAR.pdf.
ธีรวัฒน์ สุวรรณกุล. (2562). ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของตำรวจ กรณีศึกษา สถานีตำรวจภูธรเมืองชลบุรี.
นิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปิยนุช พันธุรังษ์. (2565). การพัฒนาร้านขายยาแผนปัจจุบันจังหวัดนครราชสีมา สู่มาตรฐานหลักวิธีปฏิบัติ
ทางเภสัชกรรมชุมชน. ค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 จาก http://202.28.34.124/dspace/bitstream/
/1866/1/63010783002.pdf.
พรรณิดา คำนา. (2562).ปัจจัยเอื้อต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยศิลปากร.
วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สันติ ไชยสทา. (2564). การศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของส่วนงานด้านบำรุงรักษา การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เขต 2 (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) จังหวัดอุบลราชธานี. คณะบริหารศาสตร์, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
สุพัชชา แก้วแจ่ม. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการใช้งานระบบ New GFMIS Thai
กรณีศึกษา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เสาวลักษณ์ กิ่มสร้าง. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชีในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อรญา เหง่าศิลา. (2562). การควบคุมภายในกับประสิทธิภาพการทำงาน. สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อุมาพร สุวรรณบุบผา. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระบบบริหารการเงินการคลังภาครัฐ
แบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (New GFMIS Thai) กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร.จากhttps://mmm.ru.ac.th/
MMM/IS/twin11/6514154128.pdf
อุสาห์ จันทรวิจิตร. (2563). รูปแบบการพัฒนายกระดับมาตรฐานวิธีปฏิบัติทางเภสัชกรรมชุมชน (GPP)
ในร้านขายยาแผนปัจจุบัน จังหวัดสิงห์บุรี. โรงพยาบาลสิงห์บุรีเวชสาร .ปีที่ 29 ฉบับที่ 1 (Suppl1) ม.ค. – มิ.ย. 2563.
สืบค้นเมื่อ 12 พฤษภาคม 2566 https://he01.tci-thaijo.org/index.php/shj/article/view/249636.หน้า 119-128.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample sizes for research activities.
Educational and Psychological Measurement. 30, 607-610.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.