ความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบในโรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตโรงพยาบาลราชบุรี
คำสำคัญ:
ปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในเด็ก, เชื้อแบคทีเรีย และความไวต่อ ยาปฏิชีวนะบทคัดย่อ
ความเป็นมา: การติดเชื้อที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาลเป็นปัญหาสำคัญทางด้านสาธารณสุข โดยเฉพาะกาวะปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ประกอบกับเชื้อดื้อยาค้านจุลชีพมีความรุนแรงและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น ที่ส่งผลต่ออัตราการเสียชีวิต และการนอนโรงพยาบาลที่ยาวนานมากขึ้น
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความไวต่อยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบในโรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตกุมาร โรงพยาบาลราชบุรี
วิธีการศึกษา: การศึกษาวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากเวชระเบียนผู้ป่วยอายุ 1 เดือน ถึง 15 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะปอดอักเสบติดเชื้อที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ ในโรงพยาบาลราชบุรี ระหว่าง 1 ตุลาคม 2562 ถึง 30 กันยายน 2565
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 37 ราย ค่ามัธยฐานอายุ (IOR) อยู่ที่ 50 เดือน (12,97) เป็นเพศชาย 21 ราย (ร้อยละ 56.8) ตรวจพบเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจ พบทั้งหมด 71 ครั้ง เชื้อที่พบที่สุด ได้แก่ A. baumannii ร้อยละ 40.8, P. aeruginosa ร้อยละ 28.2 และ S. maltophila ร้อยละ 16.9 ตามลำคับ ความไวต่อยาปฏิชีวนะ พบว่าเชื้อ A. baumannii ที่พบส่วนใหญ่เป็น carbapenem-resistant A. baumannii ร้อยละ 93.1 มีความไวต่อยา colistin ร้อยละ 3.4 เชื้อ P, aeruginosa พบมี carbapenem-resistant P. aeruginosa ร้อยละ 45.0 และ multidrug-resistant P. aeruginosa ร้อยละ25.0 ค่ามัธยฐาน (I0R) ระยะเวลาการใส่ท่อช่วยหายใจ 22 วัน (14,35) อัตราการเสียชีวิต ร้อยละ 21.6 แต่เมื่อเปรียบเทียบกลุ่มที่มีการดื้อยาปฏิชีวนะกับกลุ่มที่ไม่มีการดื้อยาปฏิชีวนะพบว่าระยะเวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจ และอัตราการเสียชีวิตไม่พบความแตกต่างกันในทางสถิติ ซึ่งกลุ่ม carbapenem-resistant A. baumannii กับกลุ่มที่ไม่มีการดื้อยากลุ่ม carbapenem A. baumannii ค่าเฉลี่ย (meanSD) ระยะเวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจ เท่ากับ 26.214.7 วัน vs 21.514.8 วัน; P 0.76 อัตราการเสียชีวิตเท่ากับ ร้อยละ22.2 vs ร้อยละ 0; p=0.62 และกลุ่ม carbapenem-rosistant P. aeruginosa กับกลุ่มที่ไม่มีการดื้อยากลุ่ม carbapenem P. aeruginosa พบว่าค่าเฉลี่ย (meanSD) ระยะเวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจ เท่ากับ 32.116.1 วัน vs 20.88.3 วัน; p 0.08 อัตราการเสียชีวิต เท่ากับร้อยละ 0 vs ร้อยละ 9.1; p=0.09
สรุป: มีการดื้อยาปฏิชีวนะที่สูงของเชื้อแบคทีเรียที่ตรวจพบในโรคปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจผู้ป่วยเด็ก รพ.ราชบุรี โดยเฉพาะเชื้อ A. baumannii P. aeruginosa และ S. maltophilia เชื้อแบคที่เรียส่วนใหญ่เป็นเชื้อ carbapenem resistant A. baumannii ร้อยละ 38.0
Downloads
References
Aelami MH, Lotfi M, Zingg W. Ventilator-associated pneumonia in neonates, infant and children. Antimicrobial Resistance and Infection Control 2014;3.
Foglia E, Meier MD, Elward A. Ventilator-Associated Pneumonia in Neonatal and Pediatric Intensive Care Unit Patients. Clinical Microbiology Reviews 2007;20:409-25.
Manjhi M, Das S, Pal M, Saha I, Reddy S. Incidence, risk factors, clinicomicrobiological profile, change in ventilator settings needed and outcome of 135 ventilator associated pneumonia cases in pediatric intensive care unit (PICU) of tertiary care centre in Eastern India. Journal of Pediatric and Neonatal Individualized Medicine 2018;7(1).
Vijay G, Mandal A, Sankar J, Kapil A, Lodha R, Kabra SK. Ventilator Associated Pneumonia in Pediatric Intensive Care Unit: Incidence, Risk Factors and Etiological Agents. The India Journal of Pediatrics 2018;85(10):861-6.
ขวัญผกา ปรางทอง, วรวรรณ เปี่ยมสุวรรณ. การเกิดปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตทางเดินหายใจ โรงพยาบาลศิริราช. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2555.
Asanathong NW, Rongrungreung Y, Assanasen S, et al. Epidemiology and trends of important pediatric healthcare-associated infections at Siriraj hospital, Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2017;48:641-54.
ไกรวรร กาพันธ์, สุภาณี เมืองคำ. อุบัติการณ์และผลกระทบของการเกิดปอดอักเสบของผู้ป่วยเด็กที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม
โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. เชียงใหม่เวชสาร 2558;54(3):129-38.
Rangkakulnuwat S, Thairach P. Prevalence, Risk Factors and Outcomes of Ventilator-Associated Pneumonia in Pediatric Intensive Care Unit in Northern Thailand. Chest 2010;138.
เก่งกาจ อุ่นฤทธิ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะปอดอักเสบจากการใช้เครื่องช่วยหายใจในหอผู้ป่วยวิกฤตเด็ก โรงพยาบาลมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม 2563;17:13-25.
สถานการณ์เชื้อดื้อยาต้านจุลชีพปี 2000-2021 [Internet].2023 [cited2023 Mar 1]. Available from:http//narst.dmsc.moph.go.th
สุภาวีร์ วสุอนันต์กุล, อุราภรณ์ ภูมิศานติพงศ์, ทวีวงศ์ ตันตราชีวธร. ระบาดวิทยาของปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับการใช้เครื่องช่วยหายใจในหออภิบาลผู้ป่วยทารกแรกเกิดระยะวิกฤต. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง 2565;66(1):45-58.
วีระชัย วัฒนวีรเดช, กุลกัญญา โชคไพบูลย์กิจ, วนัทปรียา พงษ์สามารถ, บรรณาธิการ. Update on Pediatric Infectious Disease 2023. พิมพ์ครั้งที่ 1.
กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2566.
Suebsubanant M, Suchartlikitwong P, Kawichai S, Anugulruengkitt S, Chatsuwan T, Puthanakit T. Clinical Outcomes and Associated Factors for Mortality among Pediatric Patients with Carbapenem-Resistant Acinetobacter baumannii. J Med Assoc Thai 2023;106(5):534-43.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.