ความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ช่วงที่มีการระบาดของโรคโคโรนา 2019 จังหวัดชลบุรี
คำสำคัญ:
ความครอบคลุมวัคซีน, วัคซีนโควิด 19, วัคซีนไข้หวัดใหญ่, วัคซึนรวมคอตีบ-บาดทะยัก, หญิงตั้งครรภ์บทคัดย่อ
ความเป็นมา: ตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของกระทรวงสาธารณสุข ประเทศไทย แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก วัคซีนไข้หวัดใหญ่ เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 2 ของการตั้งครรภ์วัคซีนโควิด 19 หลังการตั้งครรภ์ไตรมาสที่ 2 เป็นต้นไป การสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ช่วงที่มีการระบาคของโรคโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี เพื่อให้ทราบสถานการณ์การได้รับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย และเป็นข้อมูลให้กระทรวงสาธารณสุขใช้ในการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานให้สอดคล้องกับบริบทของกลุ่มเป้าหมายตามนโยบาย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยโรคป้องกันได้ด้วยวัคชีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดต่อไป
วัตถุประสงค์: ศึกษาความครอบคลุมการได้รับวัคซึนวัคซีนโควิด 19 (Covid 19) วัคซีนไข้หวัดใหญ่ (Influenza) และวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก/วัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนไร้เซลล์ (dT/Tdap)ในสตรีตั้งครรภ์ จังหวัดชลบุรี
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวาง (cross-sectional study) เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์หญิงไทยที่พาบุตรอายุไม่เกิน 1 ปี มารับบริการในคลินิกสุขภาพเด็กดี จำนวน 1,003 รายเก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม - 30 พฤศจิกายน 2565
ผลการศึกษา: จากการสำรวจความครอบคลุมการได้รับวัคซึนในหญิงตั้งครรภ์ช่วงที่มีการระบาดของโรคโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี พบว่าความครอบคลุมของการได้รับวัคซึนโควิด 19ในหญิงตั้งครรภ์อย่างน้อย 1 เข็มร้อยละ 52.35 อายุครรภ์ที่ได้รับวักซีนเฉลี่ย 23 สัปดาห์ วัคซีนไข้หวัดใหญ่ จำนวน 1 เข็ม ร้อยละ 62.60 อายุครรภ์ที่ได้รับวัคซีนเฉลี่ย 22.7 สัปดาห์ และวัดซีน dT/Tdap ร้อยละ 68.81 อายุครรภ์ที่ได้รับวัคซีนเฉลี่ย 20.9 สัปดาห์ การรับวัคซีนโควิด 19 ส่วนใหญ่มาจากการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์รองลงมา คือ เพื่อป้องกันตนเอง และเพื่อป้องกันเด็กในครรภ์ (ร้อยละ 63.36, 44.66 และ 29.96 ตามลำคับ) การรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ส่วนใหญ่มาจากการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ รองลงมาคือ เพื่อป้องกันเด็กในครรภ์ และเพื่อป้องกันตนเอง (ร้อยละ 77. 16, 18.85 และ 18.53 ตามลำคับ) และการรับวัคซีน T/Tdap ส่วนใหญ่มาจากการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์รองลงมาคือ เพื่อป้องกันเด็กในครรภ์ และเพื่อป้องกันตนเอง (ร้อยละ 70.47, 19.88 และ 18.27 ตามลำคับ) สำหรับสาเหตุของการไม่ได้รับวัคซีนส่วนใหญ่เกิดจากกลัวผลข้างเคียง การได้รับวัคซีนโควิด 19 ก่อนตั้งครรภ์มาแล้ว เคยได้รับวัคซีนบาดทะยักครบตามเกณฑ์ (มีประวัติการได้รับวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะชัก จำนวน 3 เข็ม ไม่น้อยกว่า 10 ปี) ไม่ทราบว่าต้องฉีด และคิดว่าตนเองไม่มีความเสี่ยง ซึ่งการให้วัดซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก /วัคชีนรวมคอตีบ-บาดทะชัก-ไอกรนไร้เซลล์ในหญิงตั้งครรภ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการเกิดบาดทะยักในเด็กแรกเกิด ป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคคอตีบในมารดา ในกรณีที่ได้รับวัคซีนรวมคอตีบ-บาดทะยัก-ไอกรนไร้เซลล์ จะสามารถป้องกันไรคไอกรนในมารดาและทารกอายุ 6 เดือนแรก การให้วัคซีนไข้หวัดใหญ่และวัคชีนไควิด 19 ในหญิงตั้งครรภ์เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยอย่างรุนแรงจากโรคไข้หวัดใหญ่และโควิด 19 ซึ่งอาจส่งผลร้ายต่อทารกในครรภ์ และการให้วัคซีนในมารดาจะสามารถส่งต่อภูมิคุ้มกันจากแม่ไปสู่ลูกป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคไอกรน ไข้หวัดใหญ่ และโควิด 19 ในระยะ 6 เดือนแรก ซึ่งเป็นช่วงอายุที่ไม่สามารถรับวัคซีน ตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของประเทศไทย
สรุป: หญิงตั้งครรภ์มีการรับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และวัคซีน dT/Tdap มากกว่าวัคซีนโควิด 19 จึงจำเป็นต้องเร่งรัดการให้วัคซีนตามนโยบายของประเทศ และเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนตามแผนงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคให้เป็นไปตามเกณฑ์เป้าหมาย โดยบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการรับวัคซีนของกลุ่มเป้าหมาย การให้ความรู้ความเข้าใจในการเข้ารับวัคซีนที่ถูกต้องแก่กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในด้านนโยบาย การรับรู้ถึงความสำคัญของโรค โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคการป้องกันโรคและประสิทธิผลการตอบสนองการป้องกันโรคและอาการหลังได้รับวัคซีนที่อาจเกิดขึ้นแก่หญิงตั้งครรภ์และเด็กในครรภ์ รวมทั้งควรมีการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการสื่อสารความเสี่ยง และพัฒนากลไกการสื่อสารความเสี่ยงที่มีมาตรฐาน ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้กลุ่มเป้าหมายมีทัศนคติเชิงบวกที่สามารถตัดสินใจเข้ารับวัคซีนมากยิ่งขึ้น เพื่อผลประโยชน์สูงสุดในการป้องกันไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยโรคป้องกันได้ด้วยวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์และเด็กแรกเกิดต่อไป
Downloads
References
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค. แนวทางการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในผู้ใหญ่ ฉบับปรับปรุง 2565. นนทบุรี: กองโรคติดต่อทั่วไป, 2565:
กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการให้วัคซีนโควิด 19 ในสถานการณ์การระบาด ปี 2564. นนทบุรี: กองโรคติดต่อทั่วไป, 2564: 22-26
ณัฐหทัย นิรัติศัย, ณัฐชยา กำแพงแก้ว. ระบบสาธารณสุขไทย : ความท้าทายในสถานการณ์วิกฤต. มจร การพัฒนาสังคม. 2564; 6(3): 174-188
Kahn KE, Razzaghi H, Jatlaoui TC, Skoff TH, Ellington SR, Carla L. Black CL.Flu, Tdap, and COVID-19 Vaccination Coverage Among Pregnant Women – United States, April 2022. 2565. [Cited 9 April 2023]. Available from: https://www.cdc.gov/flu/fluvaxview/pregnant-women-apr2022.html
Government of Cananda.Results of the Survey on Vaccination during Pregnancy 2021. 2565. [ Cited 9 April 2023]. Available from:http://canada.ca/en/publichealth/services/publications/vaccinesimmunization/survey-vaccination-duringpregnancy-2021.html
ระบบคลังข้อมูลด้านการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคกลุ่มหญิงตั้งครรภ์. 2565. [ วันที่เข้าถึง 9 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จาก https://hdcservice.moph.go.th.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.ประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุข พ.ศ. 2565. 2565. [ วันที่เข้าถึง 9 เมษายน 2566]. เข้าถึงได้จากhttps://www.nhso.go.th › storage › downloads
ดลนภา สุขประดิษฐ์, เลิศชัย เจริญธัญรักษ์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2564; (14):9-17.
Bianchi FP, Stefanizzi P, Lattanzio S, Diella G, Germinario CA, Tafuri S. Attitude for vaccination prophylaxis among pregnant women: a cross-sectional study. Hum Vaccin Immunother. 2022;18:2031698
Albattat HS, Alahmed AA, Alkadi FA, Aldrees OS. Knowledge, attitude, and barriers of seasonal influenza vaccination among pregnant women visiting primary healthcare centers in Al-Ahsa, Saudi Arabia.2019/2020. J Family Med Prim Care. 2021 Feb;10):783-790.
Colciago E, Capitoli G, Vergani P, Ornaghi S. Women's attitude towards COVID-19 vaccination in pregnancy: A survey study in northern Italy. Int J Gynaecol Obstet. 2023;162:139-146.
Battarbee AN, Stockwell MS, Varner M, Newes-Adeyi G, Daugherty M, Gyamfi-Bannerman C, et al. Attitudes Toward COVID-19 Illness and COVID-19 Vaccination among Pregnant Women: A Cross-Sectional Multicenter Study during August-December 2020. Am J Perinatol.2022 Jan;39(1):75-83.
Daskalakis G, Pergialiotis V, Antsaklis P, Theodora M, Papageorgiou D, Rodolakis A. Healthcare workers' attitudes about vaccination of pregnant women and those wishing to become pregnant. J Perinat Med. 2021. Dec 7;50(3):363-366.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.