การใช้ดัชนีเม็ดเลือดแดงเพื่อคัดกรองโรคฮีโมโกลบินเอชในทารกที่มีภาวะตัวเหลืองระยะเริ่มต้น
คำสำคัญ:
โรคฮีโมโกลบินเอช, ดัชนีเม็ดเลือดแดง, ทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงวินิจฉัย ทำการศึกษาค่าดัชนีเม็ดลือดแดงเพื่อคัดกรองโรคฮีโมโกลบินเอช (HbH) ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองระยะเริ่มต้น ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดง ประกอบด้วย (mean corpuscular volume (MCV) ค่าเฉลี่ยน้ำหนักของฮีโมโกลบินต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin (MCH)) ค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของฮีโมโกลบินต่อเซลล์เม็ดเลือดแดง (mean corpuscular hemoglobin concentration (MCHO) กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจงเป็นทารกที่มีภาวะตัวเหลืองที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ศรีราชา ระหว่าง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2562 ถึง เดือนตุลาคม พ.ศ. 2563 ทารกถูก จัดแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ตามการแปลผลการตรวจหาชนิดและปริมาณฮีโมโกลบิน คือ กลุ่มที่ 1 มีผลการตรวจชนิดและปริมาณของฮีโมโกลบินปกติสำหรับทารกแรกเกิด กลุ่มที่ 2 มีผลการตรวจพบฮีโมโกลบิน Barts >25% หรือพบฮีโมโกลบินเอชตั้งแต่แรกเกิด กลุ่มที่ 3 มีผลการตรวจพบฮีโมโกลบิน Barts 1-25% กลุ่มที่ 4 ตรวจพบฮีโมโกลบินผิดปกติชนิดอื่น ได้แก่ ฮีโมโกลบินอี
สถิติแบบบรรยาย ใช้ความถี่และร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเปรียบเทียบร้อยละและค่าเฉลี่ยระหว่าง 4 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ใช้ไคสแควร์และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว สถิติเปรียบเทียบค่าเฉสี่ยระหว่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน ใช้สถิติทีที่เป็นอิสระ การวิเคราะห์หาค่าความเสี่ยงโดยการวิเคราะห์ข้อมูลแบบตัวแปรเดียว แสดงผลเป็นด่าความเสี่ยงและช่วงความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 มีการคำนวณความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำ ค่าทำนายผลบวก และค่าทำนายผลลบของดัชนีเม็ดเลือดแดงที่ค่าต่างๆ ต่อโอกาสการตรวจพบโรค HbH กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
ผลการวิจัยพบทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองระยะเริ่มต้นจำนวน 504 ราย พบโรค HbH ตั้งแต่แรกเกิด จำนวน 6 ราย มีอุบัติการณ์ของฮีโมโกลบินเอช 11.9 ต่อ1000 ราย การเปรียบเทียบข้อมูลทั่วไประหว่าง ได้แก่ เพศ น้ำหนักตัว อายุครรภ์ วิธีการคลอด อายุที่รับไว้รักษา ระหว่าง 4 กลุ่ม พบว่าไม่แตกต่างกัน กลุ่ม HbH จะมีค่า MCV MCH MCHC ที่ต่ำกว่ากล่มอื่นๆ อย่างมีนัยสำคัญ การวิเคราะห์ค่าดัชนีเม็ดเลือดแดงที่ระดับต่างๆ พบความเสี่ยงเป็นโรค HbH เมื่อใช้ค่า MCH<27 pg ร่วมกับMCHC<32 gm/dL จะพบความเสี่ยงเป็นฮีโมโกลบินเอช 355.0 เท่า (95% Confidence interval (CI) =47.4-2658.1) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่มีค่า MCH 27 pg ร่วมกับ MCHC32 mg/dL นจกจากนี้ค่า MCHC<32mg/dL ร่วมกับ MCH<27pg มีความไวและความจำเพาะ ที่ 0.71 และ 1.00ตามลำดับ โดยมีความแม่นยำที่ 0,99และมีค่าทำนายผลบวกและค่าทำนายผลลบเทากับ 0.71 และ 1.00ตามลำดับ ผลวิจัยนี้สนับสนุนให้ส่งตรวจคัดกรองโรคฮีโมโกลบินเอชในทารกแรกเกิดที่มี MCH <27pg ร่วมกับ MCHC<32 gm/dL
Downloads
References
Jardine LA, Woodgate P. Neonatal jaundice. American Family Physicin. 2012;85:824-5.
Ullah S, Rahman K, Hedayati M. Hyperbilirubinemia in neonates: type, causes, clinical examinations, preventive measures and treatments: a narrative review article. Iran J Public Health. 2016;45(5):558-68.
Morioka I, Morikawa S, Yusoff S, Indra Sari Kusuma Harahap, Nishimura N. Genetics disorders with neonatal jaundice. Eastern Journal of Medicine. 2010;15:155-62.
คณะกรรมการจัดทำคู่มือปฏิบัติงานการตรวจและวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติทางห้องปฏิบัติการ.คู่มือทางห้องปฏิบัติการตรวจวินิจ
ฉัยธาลัสซีเมียและฮีโมโกลบินผิดปกติ. กรุงเทพ;ศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข สำนักพิมพ์บริษัท หมัดเด็ดพิมพ์ครั้งที่5:2556.
Fucharoen S, Viprakasit V. Hb H disease: clinical course and disease modifiers. Hematology Am Soc Hematology Education
Program 2009;26-34.
ณรงค์วิทย์ตริสกุล, พงศธร ศิริพูลศักดิ์, วิภาดา เชื้อศุภโลบล.ความชุกของธาลัสซีเมียฮีโมโกลบิน ผิดปกติจำ นวนคู่เสี่ยง.วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2552;19:285-92.
Wanapirak C, Muninthorn W, Sanguansermsri T, Dhananjayanonda P, Tongsong T. Prevalence of Thalassemia in Pregnant Woman at Maharaj NakornChaingMai Hospital. J Med Assoc Thai. 2004;87:1415-18.
. Fucharoen S, Winichagoon P. Haemoglobinopathies inSoutheast Asia. Indian J Med Res. 2011;134:498–506.
Lanxkovsky P, Lipton JM, FishJ D. Lanzkowsky’s manual o f pediatrics hematology and oncology,6th edition;2016:P185.
Xie XM, Zhou JY, LiJ, Li R, Liou C, Li DZ. Implementation of Newborn Screening for Hemoglobin H in Mainland China. Indian J Hematol blood transfuse. 2015;31:242–6.
MuellerB,KalpatthiR. abnormal hemoglobin Screening in newborn, What now? Focus on subspecialties. AAP news 2011; 32(5):12.
Keren DF, Hedstrom D, Gulbranson R. Comparison of Sebia Capillarys Capillary Electrophoresis with the Primus High Pressure Liquid Chromatography in the Evaluation of Hemoglobinopathies. Am J Clin Pathol 2008;130:824-31.
Rugless MJ, Fisher CA, Stephens AD, Amos RJ, Mohammed T, Old JM. Hb Bart’s in Cord Blood: An Accurate Indicator of
α-Thalassemia. Hemoglobin 2006;30:57-62.
Munkongdee T,Pichanun D. Butthep. Quantitative analysis of Hb Bart’s in cord blood by capillary electrophoresis system. Ann Hematol 2011;90:741-6.
Jaruchareonporn S. Newborn Screening for thalassemia and hemoglobinopathies In a community hospital. วารสารกรมการแพทย์
;153-9.
Uaprasert N, Settapiboon R, Amornsiriwat S. Diagnosisutility of isoelectric focusing and high performance liquidchromatography in
neonatal cord blood sampling forthalassemia and non-sickling hemoglobinopathies. ClinChim Acta 2014;427:23-6
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.