การใช้ Khon Kaen Pediatric Early Warning Score ในการทำนายการเสียชีวิตและการย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผน

ผู้แต่ง

  • พรทิพย์ จึงวัฒนาวาณิชย์ Department of pediatrics, Khon Kaen Hospital, Khon Kean

คำสำคัญ:

nplanned ICU, Pediatric Early Warning Score, PICU, Mortality, death

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การใช้ Pediatric Early Warning Score ทำนายผู้ป่วยที่มีโอกาสทรุดลงยังมีใช้ค่อนข้างน้อยในประเทศไทย โรงพยาบาลขอนแก่นได้จัดทำ Khon Kaen Pediatric Early Warning Score (K-PEWS)เพื่ออาจเป็นเครื่องมือในการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยเด็กก่อนที่จะมีอาการทรุดลง

วัตถุประสงค์: ศึกษาคะแนนเฉลี่ย K-PEWS ผู้ป่วยเด็กก่อนย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตและความสัมพันธ์ของคะแนน K-PEWS กับการเสียชีวิต รวมถึงปัจจัยอื่นที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตผู้ป่วยที่ย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ retrspective cohort เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนในผู้ป่วยเด็กอายุตั้งแต่ 1เดือนถึง 15 ปี ที่ได้รับการรักษาที่หอผู้ป่วยเด็กสามัญและได้ย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผน ในช่วงวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ถึง 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิตโดยใช้สถิติใช้ multivariable exponential risk regression analysis และหาจุดตัดคะแนน K-PEWS ที่เหมาะสมในการทำนายการเสียชีวิตโดยคำนวณค่า sensitivity, specificityและพื้นที่ใต้โค้ง ROC (AUROC)

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเด็กที่ต้องย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผนเข้าเกณฑ์เก็บข้อมูล 68 ราย โดยเป็นผู้ป่วย ที่มีโรคประจำตัวร้อยละ 56 มีผู้ป่วยเสียชีวิตหลังย้ายเข้ารับการรักษาหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผนร้อยละ 14.7 สาเหตุหลัก 3 อันดับแรก ที่ต้องได้ย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ใด้วางแผนได้แก่ 1. ทางเดินหายใจล้มเหลว 2. มีภาวะดิดเชื้อรุนแรง 3. มีภาวะชักต่อเนื่องหรือระดับความรู้สึกตัวลดลง ค่ามัธยฐานคะแนน K-PEWS ผู้ป่วยก่อนข้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผน gif.latex?\geq&space;{}5 เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่าคะแนน K-PEWS ก่อนย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤต (adjust RR 1.43, 95% CI 1.10- 1.85, P= 0.006) และการให้เลือดส่วนประกอบของเลือด(adjust RR 4.06, 95% CI 1.46-11.25, P= 0.007) เท่านั้น ที่เป็นปัจจัยสัมพันธ์กับการเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อ K-PEWS gif.latex?\geq&space;{}6 มีความสามารถทำนายการเสียชีวิตได้ดี ค่า sensitivityเท่ากับ 80% ค่า specificity เท่ากับ 67.24% พื้นที่ใต้กราฟ ROC เท่ากับ 0.78

สรุป: คะแนน K-PEWS ก่อนย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตและการให้เลือดส่วนประกอบของเลือดเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต ของผู้ป่วยที่ย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยวิกฤตแบบไม่ได้วางแผนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าคะแนนมัธยฐาน K-PEWS ของผู้ป่วย ที่ย้ายการรักษาไปยังหอผู้ป่วยเด็กวิกฤตแบบไม่ได้วางแผนคือ gif.latex?\geq&space;{}5 และเมื่อคะแนน K-PEWS gif.latex?\geq&space;{}6 มีความสามารถในการทำนาย ความเสี่ยงการเสียชีวิตได้ดี (sensitivity 80%, specificity 67.24%)

Downloads

Download data is not yet available.

References

Monaghan A. Detecting and managingdeterioration in children. Pediatric Nurse 2005; 17:32-5.

McLellan MC, Connor JA. The Cardiac Children’s Hospital Early Warning Score (C-CHEWS).JPediatrNurs.2013Apr;28(2):171–8.

Christopher S. Parshuram, MBChB, DPhil; Karen Dryden-Palmer, MScN; CatherineFarrell, MD. Effect of a Pediatric Early Warning System on All-Cause Mortality in Hospitalized Pediatric Patients the EPOCH Randomized Clinical Trial.JAMA. 2018; 319:1002-1012.

doi:10.1001/jama. 018.0948

สุธิดา ชีวะอิสระกุล.การเปรียบเทียบอัตราการย้ายเข้าหอผู้ป่วยวิกฤตอัตราการช่วยฟื้นคืนชีพและอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจ ระหว่างการใช้แนวทางการประเมินภาวะวิกฤตในหอผู้ป่วยเด็กเทียบกับการประเมินแบบเดิมในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราชม, วารสารกุมารเวชศาสตร์2563;59:178-184.

ธนูตั้งศรีเจริญ, สุภารัชต์กาญจนะวณิฃย์. ความสามารถของ Pediatric Early Warning Score(PEWS) ในการทำ นายการเสียชีวิตเร็วภายใน 24

ชั่วโมงและสาเหตุการเสียชีวิตในหอผู้ป่วยหนักุมารเวชกรรม. วารสารโรงพยาบาลนครพิงค์ 2561;9:28-40.

สลิล ตั้งชวาล,จินตนาวงศ์สุริยะ,หฤทัยกมลาภรณ์. เครื่องมือสัญญาณเตือนสําหรับผู้ป่วยเด็กชนะภัย. วารสารกุมารเวชศาสตร์2563;59:139-146.

จารุพรรณ ตันอารีย์. ได้มีการศึกษาประสิทธิภาพของการใช้Pediatric Early Warning Score(PEWS) ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรมโรงพยาบาลกำแพงเพชร, วารสารกุมารเวชศาสตร์2559; 55:196-201

Kowalski RL, Lee L, Spaeder MC, Moorman JR, Keim-Malpass J. Accuracy and Monitoring of pediatric Early Warning Score (PEWS) Scores Prior to Emergent Pediatric Intensive Care Unit (ICU)Transfer: Retrospective analysis. JMIR Pediatr Parent. 2021 Feb 22;4: e25991.

Nadeau N, Monuteaux MC, TripathiJ, Stack AM, Perron C, Neuman MI. Pediatric ICU TransfersWithin 24 Hours ofAdmission from

the Emergency Department:Rate ofTransfer, Outcomes, and Clinical Characteristics, Hosp Pediatr. 2019; 9:393–397.

TeshagerNW,AmareAT,TamiratKS.Incidence and predictors of mortality among children admitted to the pediatric intensive care unit at the University of Gondar comprehensive specialized hospital, northwest Ethiopia: a prospective observational cohortstudy. BMJ Open. 2020;10: e036746.

กัญญรัตน์อินพรหม, เพณณินาท์โอเบอร์ดอร์เฟอร์.ผลการรักษาและปัจจัยที่มีผลต่ออัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กวิกฤต

โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่, วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2559;55:149-160

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31