ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตในทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิด

ผู้แต่ง

  • สิริภา อุสาหะ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ปัจจัยเสี่ยง, ทารกรกเกิดเสียชีวิต, ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิด

บทคัดย่อ

ความสำคัญและที่มา: ทารกที่มีภาวะพร่องออกซิจนแต่กำเนิด (birth asphyxia) เป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตและความพิการทางสมองที่สูง การศึกษาเพื่อหาปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของทารกเพื่อส่งเสริมให้ทีมแพทย์พยาบาลตระหนักถึงปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ เพื่อป้องกันหรือแก้ไขได้ต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์: ศึกษาปัจจัยเสี่ยงทั้งของทารก มารคา การคลอดและภาวะร่วมของทารกที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตของทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิด

วิธีการศึกษา: ศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนทารกแรกเกิดที่วินิจฉัยมีภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิด และรับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิด หอทารกแรกเกิดวิกฤติตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2558 ถึง 31 กรกฎาคม 2564

ผลการศึกษา: ทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิดและเข้าเกณฑ์การศึกษามีจำนวน 388 รายพบทารกที่เสียชีวิต 42 ราย และอัตราการเสียชีวิตของทารกที่อายุ 28 วันพบที่ร้อยละ 12.5 ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อการเสียชีวิตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) ได้แก่ ภาวะเลือดออกในโพรงสมองระดับ 3 และ 4 (OR 38.87, 95%CI 4.75-3 17.92) ระยะเวลาที่ใช้กดนวดหัวใจเพื่อกู้ชีพมากกว่า 10 นาที(OR 14.49, 95%CI 3.67-57.24) ภาวะความดันเลือดในปอดสูง (OR 13.74, 95%CI 4.33-43.59) ภาวะเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ของมารดา (OR 10.56, 95% 1.68-66.38) คะแนนแปการ์ที่ 5 นาที ที่ช่วง 0-3และช่วง 4-7 คะแนน (OR 6.28 , 95% CI 1.41-27.96 และ OR 4.2.95% CI 1.13-15.63 ตามลำดับ) และภาวะ air leak syndrome (OR 4.77, 95% CI 1.51-15.1)

สรุป: ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ทารกมีภาวะพร่องออกซิเจนแต่กำเนิดเสียชีวิตมีหลายปัจจัย การทราบปัจจัยเสี่ยงและการดูแลรักษาที่เหมาะสมช่วยลดการเสียชีวิตของทารกได้

Downloads

Download data is not yet available.

References

Rainaldi MA, Perlman JM. Pathophysiology of birth asphyxia.Clin Perinatol 2016;43:409-22.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.จำนวนผู้ป่วยใน (หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ

และครอบครัว) รวมทุกการวินิจฉัยโรคจำแนกตามเพศและโรค/กลุ่มโรค 298 โรค ตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ ฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 ทั่วราชอาณาจักร พ.ศ.2556-2559 พ.ศ.2561.

อัญชลีลิ้มรังสีกุล. Perinatal Asphyxia. Pediatric Critical care เวชบำ บัดวิกฤติในเด็กสำหรับกุมารแพทย์และแพทย์ทั่วไป ฉบับเรียบเรียงครั้งที่4.กรุงเทพฯ: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล;2556 หน้า369.

The International Classification of Disease 10 Revision Thai Modification Volume 2. Ministry of public health Bureau of policy and strategy office of the permanent secretary, 2nd ed. 2006:265.

Papile LA, Burstein J, Burstein R, Koffler H. Incidence and evolution of subependymal and intraventricular hemorrhage: a study of

infants with birth weights less than 1500 gm. J Pediatr 1978;92:529-34.

Ogunkunle TO, Odiachi H, Chuma JR, Bello SO, Imam A. Postnatal outcomes and risk factors for in-hospital mortality among asphyxiated newborns in a low-resource hospital setting: Experience from NorthCentral Nigeria. Annals of Global Health 2020;89(1):63, 1-9. doi: 10.5334/aogh.2884.

Meshram RM, Bokade CM. Risk factors for mortality in birth asphyxia of outborn neonates: A prospective observational study. Sri Lanka J. Child Health 2019;48:26-32.

Phoya F, Langton J, Dube Q, Tam PI. Association of neonatal hypothermia with morbidity and mortality in a tertiary hospital in Malawi. J. Trop. Pediatr 2020;66:470-8.

Li F, Wu T, Lei X, Zhang H, Mao M, Zhang J. The apgar score and infant mortality. PLoS One 2013;8(7): e69072. doi:10.1371/journal.

pone.0069072.

Rahman A, Khan N, Rahman M. Maternal anaemia and risk of adverse obstetric and neonatal outcomes in south Asian countries:

A systematic review and meta-analysis. Public Health in Practice (internet)2020. (cited 2020 Jun 18). Available from: https//

doi.org/10.1016/J.puhip.2020.100021.

สวรรค์ขวัญใจพานิช, ฐานัดดา ศิริพร, นิรุชา ธรรมวิริยะกุล, ทรงภูมิอธิภูกนก. ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเสียชีวิตในทารกที่มีภาวะพร่องออกซิเจนปริกำเนิดระดับปานกลางและรุนแรงโดยวิธีลดอุณหภูมิกาย. วารสารกุมารเวชศาสตร์ 2563;59:122-30.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31