การศึกษาผลการดูแลรักษาทารกแรกเกิด จากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ที่คลอด ในโรงพยาบาลสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • จริยา ยงค์ประดิษฐ์ กลุ่มงานการแพทย์ สาขากุมารเวชกรรม โรงพยาบาลสามพราน

คำสำคัญ:

ซิฟิลิส, การตั้งครรภ์, ซิฟิลิสแต่กำเนิด

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: สถานการณ์ 5 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบความชุกของการติดเชื้อซิฟิลิสในมารดาระหว่างตั้งครรภ์มากขึ้นส่งผลให้เกิดภาวะแทรกช้อนในมารดาและทารก ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาเพื่อให้ทราบความชุกของโรคและผลการรักษาเพื่งวางแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการการดูแลผู้ป่วย
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการติดตามการรักษาของทารกแรกเกิดที่เกิดจากมารดาติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ ความชุกของการติดเชื้อซิฟิลิสในมารดา          ระหว่างตั้งครรก็และทารกที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสแต่กำเนิด การรักษามารดาที่ติดเชื้อซิฟิลิสในขณะตั้งครรภ์ที่มาคลอดที่ รพ.สามพราน
วิธีการศึกษา: เก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของหญิงตั้งครรภ์ที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์และทารกแรกเกิดที่คลอดจากมารดาที่ติดเชื้อฟิลิสที่มาคลอดที่โรงพยาบาลสามพรานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2563 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
ผลการศึกษา: ความชุกของซิฟิลิสในหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 1.8 และพบมารดาเป็นวัยรุ่นมากกว่าร้อยละ 48หญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อได้รับการรักษาเหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 79.2 กลุ่มทารกที่มารดาที่ได้รับ Adequate Penicilin O rogimen มีอายุครรภ์เฉลี่ย 38.9 สัปดาห์และน้ำหนักแรกเกิดเฉถี่ย 3,036 กรัม ซึ่งแตกต่างจากกลุ่มทารกที่มารดาไม่ได้รับการรักษาด้วยยาใดๆ หรือได้ Inadequate Penicilin G regimen มีอายุครรภ์เฉลี่ย 36.5 สัปดาห์และน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 2,485 กรัม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value <0.05) พบทารกที่มีอาการเข้าได้กับซิฟิลิสแต่กำเนิดทั้งหมด 10 ราย ซึ่งทุกรายตรวจพบความผิดปกติทางระบบประสาทจากการตรวจ serology ของน้ำไขสันหลังพบว่ามีผล CSF VDRL เป็นบวก ความชุกของทารกแรกเกิดเป็นซิฟิลิสแต่กำเนิด 2.4 คนต่อ 1,000 เกิดมีชีพ เมื่อติดตามการรักษาพบว่าทารก 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 10มีการกำเริบของโรคซีฟิลิส
สรุป: ความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อซีฟิลิสและทารกที่เป็นซิฟิลิสแต่กำเนิดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่เกิดในมารดาวัยรุ่น จึงจำเป็นต้องให้ความรู้สุขศึกษาเกี่ยวการคุมกำเนิดและป้องกันโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ร่วมกับความจำเป็นในการรักษาชิฟิลิสขณะตั้งกรรภ์

Downloads

Download data is not yet available.

References

ชนเมธ เตชะแสนสิริ, สุรภัทร อัศววิรุฬหการ. Bug Among Us: Congenital syphilis. PIDST Gazette. 2016;22:4-5.

McGough LJ, Erbelding, E. . Historical evidence of syphilis and other treponemes. Norwick, UK: Caister Academic Press 2006.

วราภรณ์ แสงทวีสิน, วิบูลย์ กาญจนพัฒนกุล, สุนทร ฮ้อเผ่าพันธ์ และคณะ. TORCH infection. ปัญหาทารกแรกเกิด. กรุงเทพ :ธนาเพลส, 2550; 97-109

Qin JB, Feng TJ, Yang TB, et al. Risk factors for congenital syphilis and adverse pregnancy outcomes in offspring of women with syphilis in Shenzhen, China: a prospective nested case-control study. Sex Transm Dis 2014;41:13-23.

Su JR, Brooks LC, Davis DW, Torrone EA, Weinstock HS, Kamb ML. Congenital syphilis: trends in mortality and morbidity in the United States, 1999 through 2013. Am J Obstet Gynecol 2016;214:381 el-

สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. แนวทาง ระดับชาติเรื่องการกำจัดซิฟิลิสแต่กำเนิดในประเทศไทย พ.ศ. 2558.

Center for Disease Control and Prevention. Sexually transmitted diseases treatment guidelines, 2015. MMWR Recomm Rep. 2015; 64:34-49.

. K u n p a l i n Y, S i r i s a b y a A , Chaithongwongwatthana. The Surge of Maternal and Congenital Syphilis in a Tertiary Care Center in Bangkok, Thailand. Thai Journal of Obstetrics and Gynecology. 2019;27:100-108.

ศนิษา ตันประเสริฐ, ภาวินี ด้วงเงิน, สมบัติ แทนประเสริฐสุข . ความชุกของโรคซิฟิลิสแต่ กำเนิดในประเทศไทยในปี พ.ศ.2552. วารสารกรมควบคุมโรค. 2556;39:58-66.

ข้อมูลจากรายงาน PHIMS กรมอนามัย ตุลาคม 2555 - กันยายน 2556 จากหญิงคลอดไทยทั้งหมด 532,086 ราย จาก 800 โรงพยาบาลใน 78 จังหวัด และ ต่างด้าวทั้งหมด 34,576 รายจาก 335 โรงพยาบาลใน 73 จังหวัด (accessed 4 เมษายน 2557)

ประไพพร จงก้องเกียรติ. การศึกษาผลการดูแลรักษาทารกแรกเกิดจากมารดาที่มีการติดเชื้อซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ที่คลอดในโรงพยาบาลตากสิน. ผลงานประกอบการพิจารณาประเมินบุคคลเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการ.2562

Cassell JA, Mercer CH, Sutcliffe L, et al. Trends in sexually transmitted infections in general practice 1990-2000: population based

study using data from the UK general practice research database. BMJ 2006;332:332-4.

Cliffe SJ, Tabrizi S, Sullivan EA, Pacific Islands Second Generation HIVSG. Chlamydia in the Pacific region, the silent epidemic. Sex Transm Dis 2008;35:801-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-30