อัตราเสียชีวิตของผู้ป่วยเด็กจมน้ำ

ผู้แต่ง

  • พิมลพรรณ วิริยะกุลนันท์ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • ปวีณา วิจักษณ์ประเสริฐ กลุ่มงานกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา

คำสำคัญ:

จมน้ำ, Drowning

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การจมน้ำเป็นปัญหาสำคัญที่เป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเด็กทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกซึ่งในแต่ละพื้นที่มีปัจขัยที่ทำให้เกิดการจมน้ำและอัตราเสียชีวิตที่แตกต่างกัน ดังนั้นการศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการจมน้ำของผู้ป่วยเด็กจมน้ำที่ได้เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราเสียชีวิตของการจมน้ำในผู้ป่วยที่ เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
วิธีการศึกษา: ศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าได้รับบาดเจ็บจากการจมน้ำ และเข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยเด็ก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา เป็นระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ถึง 31ธันวาคม 2561 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนเพื่อนำมาวิเคราะห์ผลและสรุปข้อมูล
ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยเด็กจำนวน 53, 198 ครั้ง พบผู้ป่วยเด็กที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะจมน้ำ 180 ครั้ง (ร้อยละ 0.3) โดยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอา 2-2.9 ปี (ร้อยละ 18.3) เพศชาย (ร้อยละ 69.4) เกิดเหตุการณ์จมน้ำมากที่สุดในเดือนเมษายน (ร้อยละ 17.2) อำเภอที่มีอัตราการ
จมน้ำมากที่สุดคืออำเภอโชคชัย (10.3 คนต่อประชากร 100,000 คนต่อปี) ระยะเวลาจมน้ำมัธยฐาน 10 นาที มักจมน้ำที่บ่อขุดใกล้บ้าน (ร้อยละ 41.1) ก่อนเกิดเหตุการณ์มักอยู่บนบก (ร้อยละ 50) มีผู้อื่นอยู่ด้วยขณะจมน้ำ (ร้อยละ ร1.7) มีผู้ป่วยเสียชีวิต 2 ราย (ร้อยละ 45.6) ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิต ได้แก่ ระยะเวลา
ที่จมน้ำ และการกดหน้าอกช่วยหายใจก่อนมาถึงโรงพยาบาล ภาวะแทรกซ้อนหลังการจมน้ำที่มีผลต่อการเสียชีวิต ได้แก่ การล้มเหลวของระบบอวัยวะต่างๆ ทั้งระบบหายใจ ประสาท หัวใจและการไหลเวียนโลหิต ไต ตับ และเลือด
สรูป: อัตราเสียชีวิตของการจมน้ำในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมาร้อยละ 45.6 ปัจจัยที่มีผลต่อการเสียชีวิต ได้แก่ ระยะเวลาที่จมน้ำ แถะการช่วยชีวิตด้วยการกดหน้าอกช่วยหายใจ

Downloads

Download data is not yet available.

References

van Beeck EF, Branche CM, Szpilman D, Modell JH, Bierens JJ. A new definition of drowning: towards documentation and prevention of a global public health problem. Bull World Health Organ 2005;83:853-6.

Szpilman D, Bierens JJ, Handley AJ, Orlowski JP. N Engl J Med 2012;366:2102-10.

World Health Organization. Global report on drowning: preventing a leading killer. WHO 2014: 9.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. ประเด็นสำคัญสำ หรับการรณรงค์ป้องกันเด็กจมน้ำ ปี2561.กรุงเทพมหานคร: สำ นักโรคไม่ติดต่อ(กลุ่มป้องกัน

การบาดเจ็บจากสาเหตุอื่นๆ) กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข2561:1-4.

สำ นักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค. จำ นวนและอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคนจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีจำแนกรายเขตและรายจังหวัด ปีพ.ศ.2560.กรุงเทพมหานคร: สำนักโรคไม่ติดต่อ (กลุ่มป้องกันการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น ๆ) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 2560:1-3.

Al-Fifi SH, Shabana MA, Zayed M, AlBinali AM, Al-Shehri MA. Drowning in children: Aseer Central Hospital experience, Southwestern Saudi Arabia. J Family Community Med 2011;18:13-6.

Mosayebi Z, Movahedian AH, Mousavi GA. Drowning in Children in Iran: Outcomes and Prognostic Factors. Med J Malaysia 2011;66:187-90.

Son KL, Hwang SK, Choi HJ. Clinical features and prognostic factors in drowning children: a regional experience. Korean J Pediatr

;59:212-7.

Shenoi RP, Koerner CE, Cruz AT, et al. Factors Associated with Poor Outcome in Childhood Swimming Pool Submersions. Pediatr Emer Care 2016;32:669-74.

Reynolds JC, Michiels EA, Nasiri M, Reeves MJ, Quan L. Observed long-term mortality after 18,000 person-years among survivors in a large regional drowning registry. Resuscitation 2017;110:18-25.

Susiva C, Boonrong T. Near-Drowning in Pediatric Respiratory Intensive Care Unit, Siriraj Hospital. J Med Assoc Thai 2005;88: S44-7.

Bowman SM, Aitken ME, Robbins JM, Baker SP. Trends in US Pediatric Drowning Hospitalizations, 1993–2008. Pediatrics 2012;129:275-81.

HSS AS, Tan PS, Hashim L. Childhood drowning in Malaysia. Int J Inj Control Saf Promot 2014;21:75-80.

Szpilman D. Near-Drowning and Drowning Classification: A Proposal to Stratify Mortality Based on the Analysis of 1,831 cases. Chest 1997;112:660-5.

Al-Qurashi FO, Yousef AA, Aljoudi A, et al. A Review of Nonfatal Drowning in the Pediatric-Age Group: A 10-Year Experience at a University Hospital in Saudi Arabia [Internet]. Pediatr Emer Care 2017 Jul 17. Doi: 10.1097/ PEC00000000000001232.

Wang Z, Yu C, Xiang H, Li G, Hu S, Tang J. Age–Period–Cohort Analysis of Trends in Mortality from Drowning in China: Data from the Global Burden of Disease Study 2015. Scientific reports 2018;8:5829-35.

Turner DA, Cheifetz IM. Shock. In: Kliegman RM, St Geme JW, Blum NJ, Shah SS, Tasker RC, Wilson KM, Behrman RE, eds. Nelson

textbook of pediatrics. 21st ed. Philadelphia: Elsevier, 2020:2706-46

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-31