การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง

ผู้แต่ง

  • ภัทรวดี ศรีวราสาสน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มนัสนันท์ มะลิทอง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ณัฐริกา นามเรือง คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • มานิตา เงินงอกงาม คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ภาณุวัฒน์ วงษ์วัฒนะ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยาคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

การสูญเสียการได้ยิน, ประสาทหูเสื่อม, ทารกแรกเกิด, กลุ่มเสี่ยง, การตัดครอง, การตรวจการได้ยิน, ตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง

บทคัดย่อ

ความเป็นมา: การคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดมีความสำคัญ โดยเฉพาะในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยง เนื่องจากพบอุบัติการณ์การสูญเสียการได้ยินสูง
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงและศึกษาอุบัติการณ์การสูญเสียการได้ยิน
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบย้อนหลังเชิงพรรณนาในทารกแรกเกิดที่คลอดระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ถึง วันที่ 30 เมษายน 2564 ในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่มีความเสี่ยงในการเกิดการสูญเสียการได้ยิน เก็บข้อมูลของผู้ป่วยและมารดา ปัจจัยเสี่ยงในการได้ยิน ผลการตรวจคัดกรอง และการวินิจฉัยการสูญเสียการได้ยิน
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงจำนวน 30 ราย เป็นเพศชาย 20 ราย (ร้อยละ 66.67) การตรวจคัดกรองการได้ยินด้วยเครื่องวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นในกัดกรองไม่ผ่าน 14 ราย (ร้อยละ 46.67) การตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยินระดับก้านสมองเพื่อวินิจฉัยพบการสูญเสียการได้ยิน 3 ราย (ร้อยละ
10) การศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยเสี่ยงกับการสูญเสียการได้ยินไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางสถิติ
สรุป: พบอุบัติการณ์การสูญเสียการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงร้อยละ 10 และในการศึกษานี้ไม่พบปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการสูญเสียการได้ยิน

Downloads

Download data is not yet available.

References

Kennedy CR, McCann DC, Campbell MJ, et al. Language ability after early detection of permanent childhood hearing impairment. N Engl J Med. 2006; 354: 2131-41.

Moeller MP. Early intervention and language development in children who are deaf and hard of hearing. Pediatrics. 2000; 106: 43.

Ralli M, Rolesi R, Anzivino R, Turchetta R, Fetoni A. Acquired sensorineural hearing loss in children: Current research and therapeutic

perspectives. Acta Otorhinolaryngol Ital. 2017; 37 : 500.

Davis A, Davis K, Mencher G. Epidemiology of permanent childhood hearing impairment. Pediatr Audiol Med. 2009: 1-26.

Olusanya BO, Newton VE. Global burden of childhood hearing impairment and disease control priorities for developing countries. Lancet. 2007; 369: 1314-7.

จันทร์ชัย เจรียงประเสริฐ, กฤษณา เลิศสุขประเสริฐ, ลลิดา เกษมสุวรรณ,ประชา นันท์นฤมติ.การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นใน(otoacousticemission):ผู้ป่วยใหม่ใน 1 ปีโรงพยาบาลรามาธิบดี. วารสารหูคอจมูกและใบหน้า.2546; 4:27-41.

ศิริวัฒน์ ธัญสิริพงศ์. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดด้วยเครื่องตรวจวัดเสียงสะท้อนจากหูชั้นในของโรงพยาบาลระนอง. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11.2560;31: 211-221.

อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ, ธนะรัตน์ อิ่มสุวรรณศรี, ตุลกานต์ มักคุ้น,และคณะ.การพัฒนารูปแบบการให้บริการตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดทุกคนระดับจังหวัด: การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. วารสารกรมการแพทย์. 2564;46 :160-9.

Nagapoornima P, Ramesh A, Rao S, Patricia P, Gore M, Dominic M. Universal hearing screening. Indian J Pediatr. 2007; 74 :545-9.

Paul AK. Early identification of hearing loss and centralized newborn hearing screening facility-the cochin experience. Indian pediatr.

; 48: 355-9.

Joint Committee on Infant Hearing, American Academy of Audiology; American Academy of Pediatrics; American Speech-LanguageHearing Association; Directors of Speech and Hearing Programs in State Health and Welfare Agencies. Year 2007 position statement: Principles and guidelines for early hearing detection and intervention programs. Pediatrics. 2007; 120: 898-921.

Khairy MA, Abuelhamed WA, Ahmed RS, El Fouly HES, Elhawary IM. Hearing loss among high-risk newborns admitted to a tertiary neonatal intensive care unit. J Matern Fetal Neonatal Med. 2018; 31 :1756-61.

Sininger YS. Audiologic assessment in infants. Curr Opin Otolaryngol Head Neck Surg. 2003; 11: 378-82.

Levit Y, Himmelfarb M, Dollberg S. Sensitivity of the automated auditory brainstem response in neonatal hearing screening. Pediatrics. 2015; 136: 641-7.

White KR. The current status of ehdi programs in the united states. Ment Retard Dev Disabil Res Rev. 2003; 9: 79-88.

The evolution of early hearing detection and intervention programs in the united states. Seminars in perinatology; 2010: Elsevier.

Prasansuk S. Incidence/prevalence of sensorineural hearing impairment in thailand and southeast asia. Audiology. 2000; 39: 207-11.

Jariengprasert C, Sriwanyong S, Kasemsuwan L, Supapannachart S. Early identification of hearing loss in high-risk newborns and young children in thailand by using transient otoacoustic emissions (teoaes). Asia Pac J Speech Lang Hear. 2002; 7: 1-9.

Srisuparp P, Gleebbur R, Ngerncham S, Chonpracha J, Singkampong J. High-risk neonatal hearing screening program using automated screening device performed by trained nursing personnel at siriraj hospital: Yield and feasibility. J Med Assoc Thai. 2005; 88: 176-82.

Kiatchoosakun P, Suphadun W, Jirapradittha J, Yimtae K, Thanawirattananit P. Incidence and risk factors associated with hearing loss in high-risk neonates in srinagarind hospital. J Med Assoc Thai. 2012; 95 :52-7.

ชัยรัตน์ เสรีรัตน์, วิภาดา เสรีรัตน์. การตรวจคัดกรองการได้ยินในทารกแรกเกิดกลุ่มเสี่ยงในหอผู้ป่วยวิกฤต ทารกแรกเกิดโรงพยาบาลร้อยเอ็ด.ศรีนครินทร์เวชสาร.2564; 36:39-47.

Vos B, Senterre C, Lagasse R, Levêque A. Newborn hearing screening programme in belgium: A consensus recommendation on risk factors. BMC Pediatr. 2015; 15: 1-14.

Choi KY, Lee BS, Choi HG, Park S-K. Analysis of the risk factors associated with hearing loss of infants admitted to a neonatal intensive care unit: A 13-year experience in a university hospital in korea. Int J Environ Res Public Health. 2020; 17: 8082.

Hille ET, Van Straaten H, Verkerk PH, Group DNNHSW. Prevalence and independent risk factors for hearing loss in NICU infants. Acta

Pediatr. 2007; 96: 1155-8

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30