กลุ่มอาการไข้กลับเป็นซ้ำ ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ และแผลในปาก ในผู้ป่วยเด็กอายุ 2 ปี

ผู้แต่ง

  • ชญาน์นิสร์ ปรัชญสิทธิไชย สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ณัฐชนัญ กลางกัลยา สาขาวิชาโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ภาควิชากุมารเวชศาสตร์คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

ภาวะไข้เป็นปัญหาที่พบบ่อยในเด็ก ในภาวะไข้เฉียบพลันผู้ป่วยมักมีอาการตามระบบต่างๆ ทำให้สามารถทราบสาเหตุและวินิจฉัยโรคได้ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มักเป็นการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม มีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่มาพบแพทย์ด้วยอาการไข้กลับเป็นซ้ำ (recurrent fever) หากตรวจพบหลักฐานของการติดเชื้อชัดเจน
โดยมีการติดเชื้อในหลากหลายอวัยวะหรือระบบ หรือการติดเชื้อที่พบนั้นรุนแรง ไม่ค่อยตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ แพทย์ควรคำนึงถึงภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง (immunodeiciency) แต่หากตรวจไม่พบหลักฐานของการติดเชื้อ อาการไข้กลับเป็นช้ำนั้นมีระยะห่างของไข้สม่ำเสมอ ร่วมกับมีอาการ อาการแสดงของ
การเจ็บป่วยคล้ายๆ กันทุกครั้ง (periodic fever) แพทย์ควรคิดถึงสาเหตุจากภาวะไข้ที่เกิดจากการอักเสบซึ่งไม่ได้มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ (autoinflammatory disease) กลุ่มอาการ PFAPA (Periodtic fevetr, aphthous stomatidis, pharyngitis, and adenitis syndrome) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของไข้กลับเป็นซ้ำในเด็กเล็ก บทความนี้ได้นำเสนอผู้ป่วยเด็กชายที่มาด้วยอาการไข้กลับเป็นซ้ำ โดยมีไข้สูงเป็นๆ หายๆ 9 ครั้งใน 1 ปี เจ็บคอ มีคออักเสบ แผลในปาก จากลักษณะอาการ อาการแสดงของโรคนั้น ร่วมการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่แยกโรคอื่นแล้วทำให้สามารถให้การวินิจฉัยผู้ป่วยว่าเป็นโรคกลุ่มอาการ PFAPA ได้ ผู้ป่วยตอบสนองดีต่อการรักษา หลังให้การรักษาผู้ป่วยไม่มี periodic fever อีก

Downloads

Download data is not yet available.

References

Soon GS, Laxer RM, et al. Approach to recurrent fever in childhood. Can Fam Physician 2017; 63:756-762.

Manthiram K, Lapidus S, Edwards K. Unraveling the pathogenesis of periodic fever, aphthous stomatitis, pharyngitis, and cervical adenitis through genetic, immunologic, and microbiologic discoveries: an update. Curr Opin Rheumatol 2017; 29:493-499.

Feder HM, Salazar JC. A clinical review of 105 patients with PFAPA (a periodic fever syndrome). Acta Paediatr 2010; 99:178-84.

Wang A, Manthiram K, et al. Periodic fever, aphthous stomatitis, pharyngitis, and adenitis (PFAPA) syndrome: A review. World Journal of Otorhinolaryngology - Head & Neck Surgery 2021; 166-173.

Vanoni F, Theodoropoulou K, et al. PFAPA syndrome: a review on treatment and outcome. Pediatr Rheumatol 2016; 14:38.

Padeh S, Stoffman N, Berkun Y. Periodic fever accompanied by aphthous stomatitis, pharyngitis and cervical adenitis syndrome (PFAPA syndrome) in adults. Isr Med Assoc J 2008; 10:358-60.

Wurster VM, Carlucci JG, et al. Long-term follow-up of children with periodic fever, aphthous stomatitis, pharyngitis, and cervical adenitis syndrome. J Pediatr 2011; 159:958-64.

Sicignano LL, Rigante D, Moccaldi B, et al. Children and Adults with PFAPA Syndrome: Similarities and Divergences in a Real-Life Clinical Setting. Adv Ther 2021; 38:1078-1093.

Thomas KT, Feder HM, Lawton AR, et al. Periodic fever syndrome in children. J Pediatr 1999; 135:15-21.

Batu ED, Eroglu FK, et al. Periodic fever, aphtosis, pharyngitis, and adenitis syndrome: Analysis of patients from two geographic areas. Arthritis Care Res 2016; 68:1859-1865.

Mitchell RB, Archer SM, Ishman SL, et al. Clinical Practice Guideline: Tonsillectomy in children (Update)-Executive summary. Otolaryngol Head Neck Surg 2019; 160:187-205.

Burton MJ, Pollard AJ, Ramsden JD, Chong LY, Venekamp RP. Tonsillectomy for periodic fever, aphthous stomatitis, pharyngitis and cervical adenitis syndrome (PFAPA). Cochrane Database of Syst Rev 2019; 12:CD008669.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30