ประสิทธิผลของการเพิ่มความเข้มแสงของเครื่องส่องไฟด้วยหลอดแอลอีดี(T8) Deepblue ในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
คำสำคัญ:
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด, การส่องไฟแบบความเข้มแสงสูงด้วยหลอดแอลอีดี(T8), การส่องไฟด้วยหลอดแอลอีดี(T8)ขนาด 9 วัตต์บทคัดย่อ
ความเป็นมา: วิธีรักษาที่เป็นมาตรฐานของภาวะตัวเหลืองในเด็กทารกแรกเกิดคือการส่องไฟ มีการศึกษาก่อนหน้านี้ว่า หลอดแอลอีดี (T8) Daylight ขนาด 9 วัตด์ จำนวน 8 หลอด สามารถให้แสงที่มีความเข้มแสงเพียงพอในการรักษาภาวะตัวเหลือง และเมื่อเปลี่ยนชนิดของหลอดแอลอีดี (T8) เป็นชนิดสีฟ้าเข้ม (Deepblue) ความเข้มแสงจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนหลอด
วัดถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของเครื่องส่องไฟชนิดความเข้มแสงสูงแบบแอลอีดี (T8) ในโรงพยาบาลเลิดสิน กับเครื่องที่ส่องด้วยหลอดแอลอีดี (T8) dayight ขนาด 9 วัตต์ จำนวน 8 หลอด ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ในการรักษาภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด
วิธีการศึกษา: เป็นโครงการนำร่อง เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงวิเคราะห์ ในทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลเลิดสินที่อยู่ในเกณฑ์ที่นำเข้าศึกษา ในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน พ.ศ.2564 จำนวน 60 ราย โดยแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ ละ 30 ราย ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการตรวจร่างกายตามมาตรฐานการรักษาผู้ป่วยตรวจเลือดเพื่อตรวจระดับบิลลิรูบิน มีการตรวจวัดพลังงานแสงในครั้งแรกที่เริ่มการรักษาตรวจวัดระดับสารบิลลิรูบิน ทุก 24 ชั่วโมง จนจบการรักษาในผู้ป่วยแต่ละราย มีการบันทึกข้อมูลอื่นๆตามมาตรฐานการพยาบาล
ผลการศึกษา: พบว่า จากจำนวนทารกที่มีปัญหาตัวเหลืองที่รับการรักษาด้วยการส่องไฟจำนวน 60 ราย โดยจำนวน 30 ราย ได้รับการส่องไฟด้วยหลอดแอลอีดี (T8) Daylight ขนาด 9 วัตต์ จำนวน 8 หลอด กับจำนวน 30 คน ที่ได้รับการส่องไฟด้วยชุดส่องไฟชนิดความเข้มแสงสูงอันประกอบด้วยหลอดแอลอีดี (T8) ชนิดสีฟ้าเข้ม (Deepblue) จำนวน 4 หลอด และหลอดแอลอีดี (T8) Daylight จำนวน 4 หลอด โดยข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันในทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า อัตราการลดลงของค่าบิลิรูบินใน 24 ชั่วโมงในกลุ่มที่ได้รับการส่องไฟด้วยหลอดแอลอีดี (T8) ชนิดความเข้มแสงสูงนี้ มากกว่ากลุ่มที่ใช้หลอดแอลอีดี (T8) ขนาด 9 วัตต์ จำนวน 8 หลอด มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญ โดยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในทั้งสองกลุ่ม
ก็ไม่แตกต่างกัน และจำนวนอุจจาระไม่มีความแตกต่างกัน
สรุป: การรักษากาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดโfยวิธีการส่องไฟด้วยเครื่องส่องไฟชนิดความเข้มแสงสูงแบบหลอดแอลอีดี (T8) ที่ประดิษฐ์ขึ้นนี้ให้ผลการรักษาทารกแรกเกิดครบกำหนดที่มีภาวะตัวเหลืองโดยมีการลดต่ำลงของค่าบิลลิรูบินได้เร็วกว่า เมื่อเทียบกับการรักษาด้วยหลอดแอลอีดี (T8) ขนาด 9 วัตต์ จำนวน 8 หลอดที่ใช้ในปัจจุบัน
Downloads
References
สาธิต โหตระกิตย์,ประพุทธ ศิริบุณย์,อนันต์ เตชะเวช,บรรณาธิการ. ปัญหาที่พบบ่อยในทารกแรกเกิด :การดูแลรักษา.กรุงเทพฯ : ภาควิชากุมารเวชศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล; 2533
Brown AK, Kim MH, Wu PY, Bryla DA. Efficacy of phototherapy in prevention andmanagement of neonatal hyperbilirubinemia. Pediatrics 1985;75:393-400.
Cockington RA. A guide to the use of phototherapy in the management of neonatal hyperbilirubinemia. J Pediatr 1979;95:281-5.
Brown AK, McDonagh AF. Phototherapy for neonatal hyperbilirubinemia: efficacy,mechanism and toxicity. Adv Pediatr 1980;27:341-89.
Maisels MJ. Neonatal jaundice. In: Avery GB, ed. Neonatology : pathophysiology and management of the newborn. 3rd ed. Philadelphia : Lippincott; 1987. p. 534-608.
McDonagh AF. Phototherapy: a new twist to bilirubin. J Pediatr 1981;99:909-11.
Raethel HA. Wavelengths of light producing photodecomposition of bilirubin in serum from a neonate with hyperbilirubinemia. J Pediatr 1975;87:110-14.
Dennery PA, Seidman DS, Stevenson DK. Neonatal hyperbilirubinemia. N Engl J Med 2001;344:581-90.
American Academy of Pediatrics Subcommittee on Hyperbilirubinemia. Management of hyperbilirubinemia in the newborn infant 35 or more weeks of gestation. Pediatrics 2004; 114:297- 316.
Practice parameter: management of hyperbilirubinemia in the healthyterm newborn. American Academy of Pediatrics. Provisional Committee for Quality Improvement and Subcommittee on Hyperbilirubinemia. Pediatrics 1994;94:558-65.
Tan KL. Efficacy of fluorescent daylight,blue, and green lamps in the management of nonhemolytic hyperbilirubinemia. J Pediatr
;114:132-7.
De Carvalho M, De Carvalho D, Trzmielina S, Lopes JM, Hansen TW. Intensified phototherapy using daylight fluorescent lamps. Acta Paediatr 1999;88:768-71.
Chareonsiriwat V, Watanaprakornkul P. Light intensity of 8T8 (9 watts) LED bulbs phototherapy in the treatment of neonatal non-hemolytic jaundice. Thai Journal of Pediatrics 2019;58:11-7.
Chareonsiriwat V, Kajchamaporn W.The study of cost effectiveness between LED (T8)(9 watt) phototherapy and fluorescent(T8)(18 watt) phototherapy in the treatment of neonatal jaundice. Thai Journal of Pediatrics 2019;58:278-4.
Chareonsiriwat V, Nakornchai K. Treatment of 60 neonatal jaundice term infants in Lerdsin Hospital: comparing the use of 8 bulds 9 watts (T8) LED Phototherapy and 8 bulds 18 watts (T8) fluorescent lightphototherapy. Thai Journal of Pediatrics 2019;58:80-7.
Chareonsiriwat V, Thairitti W. Invention of LED phototherapy in Lerdsin Hospital. Thai Journal of Pediatrics 2016; 55:171-8.
Chareonsiriwat V. Treatment of 30 Neonatal Jaundice Term Infants in Lerdsin Hospital: Comparing the use of LED Phototherapy and 8 bulbs 18 Watts (T8) Fluorescent light Phototherapy. Thai Journal of Pediatrics 2016; 55:262-8.
Chareonsiriwat V, Kamonsree A. Light intensity of T8 LED deepblue bulbs phototherapy in the treatment of neonatal jaundice. Thai Journal of Pediatric 2020;59:232-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.